ECB คาดลดอัตราดอกเบี้ย ดอลลาร์สหรัฐฯ แตะระดับสูงสุดในรอบ 2 สัปดาห์
ในเดือนสิงหาคม เงินยูโรแข็งค่าขึ้น 2.1% ถือเป็นผลงานที่ดีที่สุดนับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2023 ขณะที่ธนาคารกลางยุโรป (ECB) เตรียมพร้อมที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยอีกครั้ง
ทางด้าน UBS เน้นย้ำว่าการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ที่กำลังจะมีขึ้นอาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของยุโรป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการค้าและการป้องกันประเทศ โดยไม่ว่าผลการเลือกตั้งจะเป็นไปในทิศทางใด ข้อตกลงการค้าสำคัญระหว่างสหรัฐฯ และสหภาพยุโรปก็คาดว่าไม่น่าจะเกิดขึ้น ขณะที่รัฐบาลของทรัมป์อาจมุ่งเน้นไปที่มาตรการคุ้มครองการค้า ท่ามกลางการลงเลือกตั้งของแฮร์ริสที่คาดว่าจะรักษาความต่อเนื่องของนโยบายการค้าและการป้องกันประเทศ ซึ่งอาจมอบเสถียรภาพให้กับนักลงทุนในยุโรปได้
โดยประเทศต่างๆ ในยุโรปกำลังเตรียมพร้อมสำหรับการพึ่งพาตนเองมากขึ้นในด้านการป้องกันประเทศ ซึ่งขับเคลื่อนโดยวิกฤตพลังงานและความขัดแย้งในยูเครน ท่ามกลางการใช้จ่ายด้านการป้องกันประเทศที่เพิ่มขึ้นอาจทำให้งบประมาณของยุโรปตึงตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากการสนับสนุนจากสหรัฐฯ ลดลง
ทั้งนี้ ECB คาดว่าจะยังคงลดอัตราดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่อง จากอัตราเงินเฟ้อของโซนยูโรที่ลดลงเหลือ 2.2% ในเดือนสิงหาคม ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 3 ปี ขณะที่ผู้กำหนดนโยบายของฝรั่งเศสและเนเธอร์แลนด์แนะนำถึงการลดอัตราดอกเบี้ยอย่างค่อยเป็นค่อยไป และเตือนว่าจำเป็นต้องมีข้อมูลเพิ่มเติมก่อนที่จะมีการตัดสินใจเพิ่มเติม โดยการลดลงของอัตราเงินเฟ้อส่วนใหญ่เป็นผลมาจากราคาพลังงานที่ลดลง ท่ามกลางข้อกังวลเกี่ยวกับความยั่งยืนของแนวโน้มดังกล่าว
โดยแม้ว่าอัตราเงินเฟ้อจะผ่อนคลายลง แต่เขตยูโรก็ยังเผชิญกับความท้าทายทางเศรษฐกิจ เช่น การเติบโตของค่าจ้างที่ช้าลง อัตราการว่างงานที่เพิ่มขึ้น และการให้สินเชื่อและการลงทุนที่อ่อนแอลง ขณะที่จุดเน้นหลักของ ECB ยังคงเป็นการบรรลุเป้าหมายเงินเฟ้อ 2% แต่ความอ่อนแอทางเศรษฐกิจในวงกว้างอาจส่งผลต่อการตัดสินใจทางนโยบายได้ในอนาคต
โดยจากการสำรวจของ ECB พบว่า การคาดการณ์เงินเฟ้อของผู้บริโภคในเขตยูโรยังคงทรงตัวในเดือนกรกฎาคม โดยมีการคาดการณ์ค่ามัธยฐานที่ 2.8% ในช่วง 12 เดือนข้างหน้า ขณะที่เสถียรภาพดังกล่าวควบคู่ไปกับกิจกรรมทางธุรกิจที่ยังคงความยืดหยุ่นในเดือนสิงหาคม อาจทำให้ ECB ลังเลที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติมในปีนี้
ทางด้านอัตราเงินเฟ้อของเยอรมนีลดลงมากกว่าที่คาดไว้ในเดือนสิงหาคม โดยแตะระดับต่ำสุดในรอบกว่า 3 ปี ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อลดลงเหลือ 2.0% จาก 2.6% ในเดือนกรกฎาคม จากราคาพลังงานที่ลดลง ท่ามกลางอัตราเงินเฟ้อที่ลดลงในรัฐสำคัญหลายแห่งของเยอรมนี รวมถึงนอร์ทไรน์-เวสต์ฟาเลีย บ่งชี้ว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วประเทศที่ลดลงอย่างเห็นได้ชัด
สำหรับตลาดแรงงานของเยอรมนีพบอัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นน้อยกว่าที่คาดในเดือนสิงหาคม โดยอัตราการว่างงานอยู่ที่ 6.0% ท่ามกลางเศรษฐกิจที่หดตัวเล็กน้อย 0.1% ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2024 เน้นย้ำถึงภาวะเศรษฐกิจซบเซา
ทางด้านความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเยอรมนีคาดว่าจะลดลงในเดือนกันยายนเนื่องจากอัตราการว่างงานที่เพิ่มขึ้นและความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ ในขณะที่ความเชื่อมั่นของธุรกิจยังคงลดลงเป็นเดือนที่สามติดต่อกันในเดือนสิงหาคม บ่งชี้ถึงวิกฤตเศรษฐกิจที่รุนแรงขึ้น
ทั้งนี้ ราคาบ้านในเยอรมนี คาดว่าจะทรงตัวในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้าและเพิ่มขึ้น 2% ในปี 2025 จากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่คาดว่าจะเกิดขึ้น โดยตลาดอสังหาริมทรัพย์ซึ่งลดลงอย่างมากในช่วงการระบาดได้ส่งสัญญาณการฟื้นตัว จากต้นทุนการกู้ยืมที่ลดลง
อีกด้าน อิตาลีกำลังดำเนินการจัดทำแผนงบประมาณระยะกลางซึ่งมีเป้าหมายที่จะลดอัตราส่วนการขาดดุลต่อ GDP ให้ต่ำกว่าเพดาน 3% ของสหภาพยุโรปภายในปี 2026 โดยแผนการคลังของอิตาลีได้ระบุแนวทางในการลดการขาดดุลจากที่คาดไว้ว่าจะอยู่ที่ 4.3% ของ GDP ในปี 2024 เหลือ 3.6% ในปี 2025 และลดลงอีกเหลือ 2.9% ในปี 2026 ขณะที่ปัจจุบัน การขาดดุลของอิตาลีอยู่ที่ 7.4% ของ GDP ซึ่งสูงที่สุดในยูโรโซน โดยได้รับแรงหนุนจากมาตรการช่วยเหลือในการปรับปรุงบ้านเพื่อช่วยประหยัดพลังงาน
ทางด้านดอลลาร์สหรัฐฯ แข็งค่าขึ้นอย่างมากในวันจันทร์ โดยแตะระดับสูงสุดในรอบ 2 สัปดาห์เมื่อเทียบกับยูโร เนื่องจากนักลงทุนเริ่มประเมินความคาดหวังต่อการตัดสินใจด้านนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือเฟดที่จะเกิดขึ้นในเร็วๆ นี้ โดยการเปลี่ยนแปลงของอารมณ์ดังกล่าวเกิดจากการปรับเปลี่ยนการคาดการณ์เกี่ยวกับขอบเขตของการปรับลดอัตราดอกเบี้ย โดยปัจจุบันนักลงทุนคาดการณ์ว่าเฟดจะผ่อนปรนนโยบายน้อยลง ขณะที่ความสนใจได้เปลี่ยนไปที่รายงานการจ้างงานของสหรัฐฯ ที่จะมีขึ้นในเร็วๆ นี้ ซึ่งคาดว่าจะให้ข้อมูลเชิงลึกที่สำคัญเกี่ยวกับสภาพเศรษฐกิจและการเคลื่อนไหวครั้งต่อไปของเฟด
ขณะเดียวกัน อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวของสหรัฐฯ ซึ่งได้แตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่ช่วงกลางเดือนสิงหาคม หลังจากการรายงานอัตราเงินเฟ้อที่สำคัญของสหรัฐฯ ที่ทรงตัว ได้ทำให้โอกาสที่เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 50 จุด (bps) ในการประชุมวันที่ 18 กันยายนลดลง ท่ามกลางตลาดที่เอนเอียงไปที่การปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงเล็กน้อยที่ 25 จุด
ทั้งนี้ แรงส่งของดอลลาร์ที่พุ่งสูงขึ้นได้รับการสนับสนุนเพิ่มเติมจากข้อมูลที่เผยแพร่เมื่อวันศุกร์ ซึ่งระบุว่าการใช้จ่ายส่วนบุคคลและรายได้เพิ่มขึ้น โดยดัชนีราคารายจ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อที่สำคัญ เพิ่มขึ้น 0.2% ในเดือนกรกฎาคม สอดคล้องกับที่คาดการณ์ไว้ โดยข้อมูลเงินเฟ้อที่ทรงตัว ประกอบกับการใช้จ่ายของผู้บริโภคที่แข็งแกร่ง แสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังคงความแข็งแกร่ง และอาจส่งผลให้ความจำเป็นในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลดลง
ทางด้านความเชื่อมั่นของผู้บริโภคยังแสดงสัญญาณที่ดีขึ้น โดยดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภครายเดือนของมหาวิทยาลัยมิชิแกนขยับขึ้นแตะระดับ 67.9 ในเดือนสิงหาคม จากระดับต่ำสุดในรอบ 8 เดือนที่ 66.4 ในเดือนกรกฎาคม ทำลายสถิติการลดลงในรอบ 4 เดือน โดยผลสำรวจระบุว่าผู้บริโภคในสหรัฐฯ คาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะยังคงลดลงในปีหน้า โดยคาดการณ์ว่าอัตราเงินเฟ้อในอีก 1 ปีข้างหน้าจะลดลงเหลือ 2.8% จาก 2.9% ในเดือนกรกฎาคม ซึ่งถือเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนธันวาคม 2020
ขณะเดียวกัน ตลาดที่อยู่อาศัยในสหรัฐฯ คาดว่าจะเห็นการปรับขึ้นของราคาเล็กน้อยในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ท่ามกลางอุปทานที่ตึงตัวและการคาดการณ์เกี่ยวกับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยจากเฟด โดยตามการสำรวจของรอยเตอร์ คาดว่าราคาบ้านในสหรัฐฯ จะเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 5.4% ในปี 2024 และปรับขึ้นเล็กน้อยที่ 3.3% ในปี 2025 ขณะที่ความสามารถในการซื้อที่อยู่อาศัยยังคงตึงตัว แต่การคาดหวังเกี่ยวกับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยและอุปทานที่อยู่อาศัยที่มีจำกัดคาดว่าจะยังคงหนุนตลาด
ทั้งนี้ ตลาดให้ความสนใจกับรายงานการจ้างงานของสหรัฐฯ ที่มีกำหนดรายงานเร็วๆ นี้ ซึ่งอาจส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจของเฟด โดยรายงานดังกล่าวถือเป็นปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจว่าเฟดจะเลือกปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่ 25 หรือ 50 จุดในการประชุมเดือนกันยายน ขณะที่สัญญาณของความอ่อนแอในตลาดแรงงานอาจจุดความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่อาจเกิดขึ้นอีกครั้ง หลังจากที่ก่อนหน้านี้ได้สร้างความกังวลให้กับตลาดในช่วงปลายเดือนกรกฎาคมและต้นเดือนสิงหาคม นอกจากนี้ โดยตัวบ่งชี้สำคัญอื่นๆ ของตลาดแรงงานก่อนการรายงานการจ้างงาน เช่น รายงานการเปิดรับสมัครงานของ Jolts ข้อมูลการจ้างงานภาคเอกชนของ ADP และการยื่นขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ จะได้รับการติดตามอย่างใกล้ชิดเช่นกัน จึงคาดว่าจะส่งผลให้เงินยูโรอาจยังคงแนวโน้มปรับตัวขึ้นลงในกรอบกว้างๆ และยังคงอ่อนค่ากว่าเงินดอลลาร์ได้อย่างต่อเนื่องในระยะกลางจากความแตกต่างของผลตอบแทนและความร้อนแรงระหว่างทั้งสองเศรษฐกิจ
ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (1H) CFD EUR/USD
แนวต้านสำคัญ : 1.1054, 1.1056, 1.1059
แนวรับสำคัญ : 1.1048, 1.1046, 1.1043
1H Outlook
ที่มา: TradingView
Buy/Long 1 หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 1.1043 - 1.1048 แต่ไม่สามารถทะลุแนวรับที่ 1.1048 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.1056 และ SL ที่ประมาณ 1.1041 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Buy/Long 2 หากสามารถทะลุแนวต้านที่ช่วงราคา 1.1054 - 1.1059 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.1066 และ SL ที่ประมาณ 1.1046 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 1 หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 1.1054 - 1.1059 แต่ไม่สามารถทะลุแนวต้านที่ 1.1054 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.1048 และ SL ที่ประมาณ 1.1061 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 2 หากสามารถทะลุแนวรับที่ช่วงราคา 1.1043 - 1.1048 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.1035 และ SL ที่ประมาณ 1.1056 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Pivot Points Sep 2, 2024 10:01AM GMT+7
Name
|
S3
|
S2
|
S1
|
Pivot Points
|
R1
|
R2
|
R3
|
---|---|---|---|---|---|---|---|
Classic | 1.104 | 1.1043 | 1.1048 | 1.1051 | 1.1056 | 1.1059 | 1.1064 |
Fibonacci | 1.1043 | 1.1046 | 1.1048 | 1.1051 | 1.1054 | 1.1056 | 1.1059 |
Camarilla | 1.1051 | 1.1052 | 1.1053 | 1.1051 | 1.1054 | 1.1055 | 1.1056 |
Woodie's | 1.1042 | 1.1044 | 1.105 | 1.1052 | 1.1058 | 1.106 | 1.1066 |
DeMark's | - | - | 1.105 | 1.1052 | 1.1058 | - | - |
ที่มา: Investing 1, Investing 2
อัพเกรดความรู้เพิ่มเติม: คลิ