เศรษฐกิจออสเตรเลียชะลอตัวจากการใช้จ่ายของผู้บริโภคหยุดชะงัก
เศรษฐกิจของออสเตรเลียยังคงซบเซาในไตรมาสที่ 2 เนื่องจากต้นทุนการกู้ยืมและภาวะเงินเฟ้อที่สูงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจำกัดการใช้จ่ายของผู้บริโภคและส่งผลให้การใช้จ่ายของรัฐบาลเป็นปัจจัยขับเคลื่อนการเติบโตหลัก โดยข้อมูลจากสำนักงานสถิติออสเตรเลียแสดงให้เห็นว่าแรงกดดันด้านราคาในประเทศยังคงสูง และธนาคารกลางออสเตรเลีย (RBA) ไม่น่าจะลดอัตราดอกเบี้ยในเร็วๆ นี้ แม้ว่าตลาดจะคาดการณ์ว่าอาจมีการผ่อนคลายนโยบายการเงินในเดือนธันวาคม
ทางด้าน GDP ที่แท้จริงเติบโต 0.2% ในไตรมาสที่ 2 ติดต่อกัน 3 ไตรมาส และต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ที่ 0.3% ขณะที่การเติบโตต่อปีชะลอตัวลงเหลือ 1.0% จาก 1.3% ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยในทศวรรษ 1990 ท่ามกลางการใช้จ่ายครัวเรือนซึ่งคิดเป็นครึ่งหนึ่งของ GDP ลดลง 0.2% เนื่องจากประชาชนลดการเดินทางไปต่างประเทศ ทำให้อัตราการออมอยู่ที่ 0.6%
จิม ชาลเมอร์ส รัฐมนตรีคลังกล่าวว่าตัวเลข GDP อยู่ในระดับ "อ่อนตัวและซบเซา" ซึ่งสอดคล้องกับที่คาดไว้ เนื่องจากการใช้จ่ายของรัฐบาล โดยเฉพาะด้านสุขภาพ ที่ช่วยพยุงเศรษฐกิจ โดยธนาคารกลางออสเตรเลียคาดการณ์ว่าการเติบโตจะเพิ่มขึ้นเป็น 1.7% ในไตรมาสที่ 4 และคาดว่าจะมีผลการดำเนินงานที่แข็งแกร่งในช่วงครึ่งหลังของปี อย่างไรก็ตาม การใช้จ่ายของผู้บริโภคยังไม่ฟื้นตัวตามที่คาดไว้ โดยประชาชนที่ได้รับเงินคืนภาษีส่วนใหญ่เลือกที่จะเก็บออมแทนที่จะนำออกมาใช้จ่าย
โดยตลาดเงินยังคงคาดการณ์ว่ามีโอกาส 90% ที่อัตราดอกเบี้ยจะถูกปรับลดในเดือนธันวาคม แม้ว่าผู้กำหนดนโยบายจะระบุเป็นอย่างอื่น ท่ามกลางมาตรวัดเงินเฟ้อในรายงาน GDP ที่ยังคงสูง โดยเงินเฟ้ออุปสงค์ในประเทศอยู่ที่ 4.2% ต่อปี ในขณะที่เงินเฟ้อที่เกี่ยวข้องกับการค้าลดลง 3% เนื่องจากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ลดลง
ทั้งนี้ เงินเฟ้อดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของออสเตรเลียเพิ่มขึ้นมากกว่าที่คาดไว้ในเดือนกรกฎาคม ซึ่งขับเคลื่อนโดยต้นทุนอาหารสดที่สูงขึ้น แม้ว่าต้นทุนที่อยู่อาศัยและพลังงานที่อ่อนตัวลงจะทำให้เงินเฟ้อพื้นฐานลดลงเล็กน้อย โดยเงินเฟ้อ CPI เพิ่มขึ้น 3.5% เมื่อเทียบเป็นรายปีในเดือนกรกฎาคม ซึ่งสูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ที่ 3.4% แต่ลดลงจาก 3.8% ในเดือนมิถุนายน ขณะที่เงินเฟ้อ CPI พื้นฐาน ไม่รวมสินค้าผันผวน ลดลงเหลือ 3.7% จาก 4% โดยอัตราเงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้นอย่างไม่คาดคิดทำให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับการขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติมของ RBA ซึ่งอาจทำให้การปรับลดอัตราดอกเบี้ยล่าช้าไปจนถึงปลายปี 2025
ทางด้านผลผลิตในภาคอุตสหกรรมลดลง 0.8% ในไตรมาสนี้ ซึ่งถือเป็นความท้าทายต่อการคาดการณ์ของ RBA ที่คาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะลดลงไปอยู่ที่กรอบเป้าหมาย 2-3% ภายในปี 2026 โดยอิงจากผลกำไรจากผลผลิตที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น ขณะที่โฆษณาหรือประกาศหางานลดลงเป็นเดือนที่ 7 ติดต่อกันในเดือนสิงหาคม ซึ่งสะท้อนถึงความต้องการแรงงานที่ลดลงท่ามกลางอัตราดอกเบี้ยที่สูงและเศรษฐกิจที่ชะลอตัว
สำหรับยอดขายปลีกยังคงทรงตัวในเดือนกรกฎาคม ซึ่งบ่งชี้ว่าการลดหย่อนภาษียังไม่สามารถกระตุ้นการใช้จ่ายได้อย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากผู้บริโภคยังคงต่อสู้กับเงินเฟ้อและอัตราจำนองที่สูง โดยข้อมูลจากบัตรเครดิต Westpac ในเดือนสิงหาคมชี้ให้เห็นเพียงการเพิ่มขึ้นของการใช้จ่ายอย่างค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งเน้นย้ำถึงผลกระทบที่จำกัดของการสนับสนุนทางการคลัง ในขณะเดียวกัน ราคาบ้านเพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่ 19 ติดต่อกันในเดือนสิงหาคม แม้ว่าอัตราการเติบโตจะชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับปีก่อน
อีกด้าน ดอลลาร์สหรัฐฯ อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักส่วนใหญ่ในวันพุธ หลังจากที่มีข้อมูลว่าจำนวนตำแหน่งงานว่างในสหรัฐฯ ในเดือนก.ค. ลดลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 3 ปีครึ่ง ซึ่งบ่งชี้ว่าตลาดแรงงานกำลังอ่อนตัวลง ส่งผลให้มีแนวโน้มที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยในระดับสูงมากขึ้น โดยนักลงทุนคาดการณ์ว่าจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.5 เปอร์เซ็นต์ในการประชุมครั้งหน้า ขณะที่ตลาดกำลังมุ่งความสนใจไปที่รายงานการจ้างงานในวันศุกร์ ซึ่งอาจให้ข้อมูลเชิงลึกเพิ่มเติมเกี่ยวกับแผนการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ
โดยนักวิเคราะห์ด้านอัตราแลกเปลี่ยนต่างประเทศเชื่อว่าค่าเงินดอลลาร์ที่อ่อนค่าลงเมื่อเร็วๆ นี้จะสามารถทรงตัวได้ในอีกสามเดือนข้างหน้า แม้ว่านักลงทุนจะเพิ่มความคาดหวังว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ จะปรับลดอัตราดอกเบี้ย โดยหลังจากผลงานที่แข็งแกร่งในช่วงต้นปี ดอลลาร์ได้อ่อนค่าลงเนื่องจากสัญญาล่วงหน้าอัตราดอกเบี้ยเริ่มกำหนดทิศทางของการผ่อนคลายอัตราดอกเบี้ยของเฟดยิ่งขึ้น เนื่องจากมีสัญญาณของภาวะตลาดแรงงานที่ชะลอตัวลง ขณะที่ผู้กำหนดนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯ ให้ความสำคัญกับข้อมูลตลาดแรงงานมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลอย่างมากต่อขนาดของการปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่กำลังจะเกิดขึ้น จึงคาดว่าจะยังคงส่งผลให้คู่สกุล AUD/USD มีแนวโน้มซื้อขายขึ้นลงในกรอบกว้างๆ อย่างต่อเนื่องได้ในช่วงนี้ โดยการแข็งค่าของ AUD คาดว่าจะยังคงถูกจำกัดในระยะกลางจากผลตอบแทนของทั้งสองประเทศเศรษฐกิจที่ต่างกันค่อนข้างมาก
ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (1D) CFD AUD/USD
แนวต้านสำคัญ : 0.6745, 0.676 0, 0.6785
แนวรับสำคัญ : 0.6695, 0.6680, 0.6655
1D Outlook
ที่มา: TradingView
Buy/Long 1 หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 0.6665 - 0.6695 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 0.6695 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.6754 และ SL ที่ประมาณ 0.6650 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Buy/Long 2 หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 0.6745 - 0.6775 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.6820 และ SL ที่ประมาณ 0.6680 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 1 หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 0.6745 - 0.6775 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 0.6745 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.6689 และ SL ที่ประมาณ 0.6790 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 2 หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 0.6665 - 0.6695 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.6625 และ SL ที่ประมาณ 0.6760 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Pivot Points Sep 5, 2024 11:11AM GMT+7
Name
|
S3
|
S2
|
S1
|
Pivot Points
|
R1
|
R2
|
R3
|
---|---|---|---|---|---|---|---|
Classic | 0.6624 | 0.6655 | 0.6689 | 0.672 | 0.6754 | 0.6785 | 0.6819 |
Fibonacci | 0.6655 | 0.668 | 0.6695 | 0.672 | 0.6745 | 0.676 | 0.6785 |
Camarilla | 0.6706 | 0.6712 | 0.6718 | 0.672 | 0.673 | 0.6736 | 0.6742 |
Woodie's | 0.6626 | 0.6656 | 0.6691 | 0.6721 | 0.6756 | 0.6786 | 0.6821 |
DeMark's | - | - | 0.6705 | 0.6728 | 0.677 | - | - |
ที่มา: Investing 1, Investing 2
อัพเกรดความรู้เพิ่มเติม: คลิ