อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานโตเกียวพุ่งสูงเป็นเดือนที่ 4 คาด BOJ อาจขึ้นอัตราดอกเบี้ย
อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานในโตเกียวเดือนส.ค.พุ่งขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 เกินเป้าหมาย 2% ของธนาคารกลางญี่ปุ่น โดยดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน (CPI) โตเกียว ที่ไม่รวมราคาอาหารสดที่ผันผวน เพิ่มขึ้น 2.4% เมื่อเทียบกับปีก่อน เกินการคาดการณ์ที่ 2.2% และการเพิ่มขึ้น 2.2% ในเดือนก.ค. โดยอัตราเงินเฟ้อโตเกียวพุ่งสูงขึ้นเนื่องจากรัฐบาลยกเลิกมาตรการช่วยเหลือค่าสาธารณูปโภค และจากราคาข้าวที่สูงขึ้นเนื่องจากสภาพอากาศเลวร้าย
ทั้งนี้ ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) คาดว่าจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกหากอัตราเงินเฟ้อยังคงเพิ่มขึ้น ซึ่งขับเคลื่อนโดยการเติบโตของค่าจ้างและการบริโภคภาคเอกชนที่เพิ่มขึ้น หลังจากเมื่อไม่นานนี้ BOJ ได้ยุติอัตราดอกเบี้ยติดลบและปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นเป็น 0.25% ซึ่งถือเป็นการละทิ้งมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่รุนแรงในรอบ 10 ปี
ทางด้านอัตราการว่างงานของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นเป็น 2.7% ในเดือนก.ค. จาก 2.5% ในเดือนมิ.ย. ขณะที่อัตราส่วนการจ้างงานต่อผู้สมัครงานดีขึ้นเล็กน้อย ท่ามกลางค่าจ้างที่ปรับตามอัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น 0.4% ในเดือนกรกฎาคม ช้ากว่าอัตรา 1.1% ในเดือนมิถุนายน โดยส่วนใหญ่เป็นผลมาจากโบนัสฤดูร้อนที่น้อยลง ขณะที่ค่าจ้างที่เป็นตัวเงินเพิ่มขึ้น 3.6% ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นสูงสุดนับตั้งแต่ปี 1997
สำหรับการใช้จ่ายของผู้บริโภคในญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นเพียง 0.1% เมื่อเทียบเป็นรายปีในเดือนกรกฎาคม ซึ่งต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ที่ 1.2% และลดลง 1.7% เมื่อเทียบเป็นรายเดือน การใช้จ่ายอย่างระมัดระวัง ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากดัชนีราคาที่สูงขึ้น อาจทำให้แผนการของ BOJ ที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยมีความซับซ้อนมากขึ้น ขณะที่การใช้จ่ายของผู้บริโภคที่อ่อนแอนี้ขัดแย้งกับการประเมินเศรษฐกิจที่ถูกปรับปรุงดีขึ้นเล็กน้อย และบ่งชี้ถึงปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ
อย่างไรก็ดี การเติบโตทางเศรษฐกิจในไตรมาสเดือนเมษายนถึงมิถุนายนคาดว่าจะสอดคล้องกับการคาดการณ์เบื้องต้น โดย GDP คาดว่าจะขยายตัว 3.2% ต่อปี ในขณะเดียวกัน การใช้จ่ายของบริษัทในด้านโรงงานและอุปกรณ์เติบโตขึ้น 7.4% เมื่อเทียบเป็นรายปีในไตรมาสเดือนเมษายนถึงมิถุนายน ซึ่งบ่งชี้ถึงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในประเทศที่แข็งแกร่งและอาจสนับสนุนการขึ้นอัตราดอกเบี้ยที่อาจเกิดขึ้น โดยข้อมูลดังกล่าวประกอบกับการสำรวจโรงงานที่แสดงให้เห็นว่าการหดตัวของกิจกรรมการผลิตในอัตราที่ช้าลง แสดงให้เห็นถึงแนวโน้มเศรษฐกิจที่ดีขึ้นแม้ว่าการส่งออกจะยังคงอ่อนแอ
ทางด้านกิจกรรมโรงงานของญี่ปุ่นแสดงสัญญาณการฟื้นตัวในเดือนสิงหาคม โดยดัชนี PMI การผลิตเพิ่มขึ้นเป็น 49.8 จาก 49.1 ในเดือนกรกฎาคม แม้ว่าจะยังต่ำกว่าเกณฑ์การเติบโต โดยผลผลิตและคำสั่งซื้อใหม่ปรับตัวดีขึ้น แต่ความต้องการในตลาดส่งออกหลักยังคงอ่อนแอ ซึ่งส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพโดยรวม ขณะที่บริษัทต่างๆ ปรับขึ้นราคาเนื่องจากต้นทุนปัจจัยการผลิตที่สูงขึ้น แม้ว่าจะในอัตราที่ช้าลง ท่าทกลางมุมมองเชิงบวกเกี่ยวกับยอดขายและความต้องการในอนาคต
ทางด้านคำขอใช้งบประมาณของญี่ปุ่นสำหรับปีงบประมาณหน้าแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 117.6 ล้านล้านเยน (811.93 พันล้านดอลลาร์) ซึ่งขับเคลื่อนโดยต้นทุนการชำระหนี้ที่เพิ่มขึ้นและความท้าทายในการควบคุมการใช้จ่าย โดยการเพิ่มขึ้นดังกล่าวเกิดขึ้นในขณะที่ธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นอยู่ในช่วงละทิ้งมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่มีมาอย่างยาวนาน ซึ่งหมายความว่ารัฐบาลไม่สามารถพึ่งพาต้นทุนการกู้ยืมที่ต่ำจากธนาคารกลางได้อีกต่อไป
ทั้งนี้ การแข่งขันชิงตำแหน่งผู้นำภายในพรรครัฐบาลของญี่ปุ่นอาจทำให้ความพยายามในการฟื้นฟูวินัยทางการคลังมีความซับซ้อนมากขึ้น โดยการลงคะแนนเสียงในเร็วๆ นี้เพื่อชิงตำแหน่งหัวหน้าพรรคคนใหม่ ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไป อาจนำไปสู่การเลือกตั้งกะทันหัน และอาจส่งผลกระทบต่อความต่อเนื่องของนโยบายการคลัง
ในเดือนสิงหาคม การเติบโตของงานในสหรัฐฯ คาดว่าจะฟื้นตัวขึ้น โดยคาดว่าอัตราการว่างงานจะลดลงเหลือ 4.2% บ่งชี้ถึงการชะลอตัวที่สามารถควบคุมได้ในตลาดแรงงาน และเพิ่มความคาดหวังว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ จะปรับลดอัตราดอกเบี้ย 0.25% ในเดือนนี้ โดยรายงานที่คาดการณ์ไว้จากกระทรวงแรงงานคาดว่าจะช่วยบรรเทาความกลัวต่อภาวะเศรษฐกิจถดถอย ซึ่งทวีความรุนแรงขึ้นจากอัตราการว่างงานที่เพิ่มขึ้นในเดือนกรกฎาคมที่ 4.3% ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบเกือบ 3 ปี
ทางด้านเจเน็ต เยลเลน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเน้นย้ำว่า แม้จะพบการชะลอตัวในช่วงไม่นานนี้ แต่ตลาดแรงงานของสหรัฐฯ ยังคงแข็งแรง โดยเธอตั้งข้อสังเกตว่าอัตราการว่างงานในเดือนกรกฎาคมที่ 4.3% ยังคงต่ำเมื่อเทียบกับมาตรฐานในอดีต ขณะที่เยลเลนเน้นย้ำว่าแม้การสร้างงานจะชะลอตัวลง แต่ก็เพียงพอที่จะดูดซับแรงงานรายใหม่เข้าสู่ตลาด ท่ามกลางการเติบโตทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง และการใช้จ่ายของผู้บริโภคและการลงทุนที่มั่นคง จึงคาดว่าจะผลให้คู่สกุล USD/JPY มีแนวโน้มซื้อขายในกรอบกว้างๆ ปัจจุบันไปจนถึงกรอบล่างได้อีกเล็กน้อยในช่วงนี้
ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (15Min) CFD USD/JPY
แนวต้านสำคัญ : 142.33, 142.40, 142.52
แนวรับสำคัญ : 142.09, 142.02, 141.90
15Min Outlook
ที่มา: TradingView
Buy/Long 1 หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 141.89 – 142.09 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 142.09 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 142.33 และ SL ที่ประมาณ 141.79 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Buy/Long 2 หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 142.33 – 142.53 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 142.75 และ SL ที่ประมาณ 141.99 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 1 หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 142.33 – 142.53 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 142.33 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 142.01 และ SL ที่ประมาณ 142.63 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 2 หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 141.89 – 142.09 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 141.67 และ SL ที่ประมาณ 142.43 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Pivot Points Sep 6, 2024 02:24PM GMT+7
Name
|
S3
|
S2
|
S1
|
Pivot Points
|
R1
|
R2
|
R3
|
---|---|---|---|---|---|---|---|
Classic | 141.7 | 141.9 | 142.01 | 142.21 | 142.32 | 142.52 | 142.62 |
Fibonacci | 141.9 | 142.02 | 142.09 | 142.21 | 142.33 | 142.4 | 142.52 |
Camarilla | 142.04 | 142.06 | 142.09 | 142.21 | 142.15 | 142.18 | 142.2 |
Woodie's | 141.66 | 141.88 | 141.97 | 142.19 | 142.28 | 142.5 | 142.58 |
DeMark's | - | - | 141.96 | 142.19 | 142.27 | - | - |
ที่มา: Investing 1, Investing 2
อัพเกรดความรู้เพิ่มเติม: คลิ