บทวิเคราะห์ USD/EUR 6 กันยายน 2567

Create at 4 months ago (Sep 06, 2024 21:54)

ยูโรโซนเติบโตเพียงเล็กน้อยในไตรมาสที่ 2 

ค่าเงินยูโรยังคงมีแนวโน้มทรงตัวต่อเนื่อง เนื่องจากนักลงทุนคาดการณ์ว่า ECB จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยเป็นครั้งที่ 2 ในการประชุมที่จะถึงวันที่ 12 นี้ โดยความคาดหวังในการลดอัตราดอกเบี้ยนี้เกิดขึ้นจากข้อมูลอัตราเงินเฟ้อในยูโรโซนลดลงเหลือ 2.2% ในเดือนสิงหาคม ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดตั้งแต่ปี 2021 ในขณะเดียวกันอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานก็ลดลงเหลือ 2.8% ทั้งนี้ นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า ECB จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยอีก2-3 ครั้งภายในปีนี้


PMI ภาคบริการของยูโรโซนเพิ่มขึ้นเป็น 52.9 ในเดือนสิงหาคม จาก 51.9 ในเดือนก่อนหน้า สูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ที่ 51.9 นับเป็นการขยายตัวติดต่อกันเป็นครั้งที่ 7 ของกิจกรรมภาคบริการและเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในรอบ 3 เดือน โดยได้รับแรงหนุนจากธุรกิจเกิดใหม่ที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยมีสาเหตุมาจากอุปสงค์ที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วในหลายประเทศของกลุ่มยูโรโซน ในขณะเดียวกันธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการส่งออกลดลงเพียงเล็กน้อยเท่านั้น โดยการขยายตัวนี้ส่งผลให้การจ้างงานในบริการเพิ่มขึ้นด้วย ในด้านราคาต้นทุนปัจจัยการผลิตพบว่าบริษัทต่างๆ ยังคงต้องเผชิญกับราคาต้นทุนวัตถุดิบและค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่เพิ่มมากขึ้น แต่เริ่มมีสัญญาณที่จะชะลอตัวลงในไม่ช้า


ด้าน PMI ภาคการผลิตยังคงทรงตัวอยู่ที่ 45.8 ในเดือนสิงหาคม โดยตัวเลขดังกล่าวยังคงแสดงให้เห็นถึงการหดตัวของภาคการผลิตอย่างต่อเนื่องและสะท้อนให้เห็นถึงผลกระทบของนโยบายการเงินที่เข้มงวดของ ECB ในช่วงปีที่ผ่านมา นอกจากนี้ ราคาพลังงานที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงต้นปีที่ผ่านมา ทำให้ต้นทุนวัตถุดิบเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่องเช่นเดียวกันกับค่าจ้างที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งสวนทางกับอุปสงค์ที่ลดลงจากต่างประเทศ


อัตราเงินเฟ้อในยูโรโซนลดลงเหลือ 2.2% ในเดือนสิงหาคม จาก 2.6% ในเดือนก่อนหน้า ซึ่งสอดคล้องกับการคาดการณ์ของตลาด แสดงให้เห็นถึงความคืบหน้าในการบรรลุกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อของ ECB ที่ 2% มากยิ่งขึ้น โดยตัวเลขอัตราเงินเฟ้อที่ลดลงในครั้งนี้เป็นผลมาจากต้นทุนพลังงานที่ลดลงอย่างรวดเร็วซึ่งส่งผลดีไปหลายอุตสาหกรรม ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อกลับเพิ่มขึ้นสำหรับภาคบริการ แสดงให้เห็นถึงความร้อนแรงของกิจกรรมในภาคบริการ ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อในภาคการผลิตมีแนวโน้มกลับมาชะลอตัวลงอีกครั้ง


GDP ในยูโรโซนขยายตัว 0.2% ในไตรมาสที่ 2 โดยการใช้จ่ายของรัฐบาลเพิ่มขึ้นเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ในขณะที่การบริโภคครัวเรือนยังคงมีแนวโน้มหดตัวลงต่อเนื่อง เนื่องจากค่าใช้จ่ายต่างๆในชีวิตประจำวันที่เพิ่มสูงและต้นทุนการกู้ยืมที่อยู่ในระดับสูงจากการคงอัตราดอกเบี้ยไว้เป็นเวลานาน ทำให้การใช้จ่ายของภาพครัวเรือนมีความระมัดระวังมากขึ้น ในขณะเดียวกัน  GDP ที่หดตัวของเยอรมนียังคงสร้างแรงกดดันอย่างต่อเนื่อง

ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (5H)

แนวต้านสำคัญ: 0.9045, 0.9065, 0.9093

แนวรับสำคัญ: 0.8997, 0.8969, 0.8949

บทวิเคราะห์ USD/EUR วันนี้ที่มา: Investing.com

Buy/Long 1: หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 0.8969 - 0.8997 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 0.8997 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.9065 และ SL ที่ประมาณ 0.8949 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Buy/Long 2: หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 0.9045 - 0.9065 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.9093 และ SL ที่ประมาณ 0.8969 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Sell/Short 1: หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 0.9045 - 0.9065 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 0.9045 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.8969 และ SL ที่ประมาณ 0.9093 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Sell/Short 2: หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 0.8969 - 0.8997 ได้อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.8949 และ SL ที่ประมาณ 0.9065 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

จุดกลับตัว 6 กันยายน 2567 21:45 น. GMT+7

ชื่อ
S3
S2
S1
จุดกลับตัว
R1
R2
R3
Classic 0.8949 0.8969 0.8997 0.9017 0.9045 0.9065 0.9093
Fibonacci 0.8969 0.8987 0.8999 0.9017 0.9035 0.9047 0.9065
Camarilla 0.9011 0.9015 0.9019 0.9017 0.9028 0.9033 0.9037
Woodie's 0.8951 0.897 0.8999 0.9018 0.9047 0.9066 0.9095
DeMark's - - 0.9006 0.9022 0.9054 - -
______________________________
อัพเกรดความรู้เพิ่มเติม: คลิกที่นี่
รู้เท่าทันสถานการณ์โลกและบทวิเคราะห์เทคนิคขั้นสูงคลิกที่นี่
Tags:

TECHNICAL ANALYSIS

ARTICLES