อุปสงค์ภายในประเทศของจีนยังคงเปราะบาง
ค่าเงินหยวนอ่อนค่าลงหลังแข็งค่าขึ้นแตะ 7.11 หยวนต่อดอลลาร์ โดยการแข่งค่าขึ้นของเงินหยวนนี้มาจากการที่นักลงทุนเริ่มลดความคาดหวังว่าโดนัลด์ ทรัมป์จะชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ ซึ่งจะมีกำหนดให้มีการเลือกตั้งในเดือนพฤศจิกายนนี้ ซึ่งส่งผลให้โอกาสในการขึ้นภาษีเพิ่มเติมลดลง รวมถึงภาษีนำเข้า 10% ที่ทรัมป์เสนอและภาษีสินค้าจีนที่สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญก็จะถูกปัดตกลงไปด้วย
ดุลการค้าของจีนเพิ่มขึ้นแตะระดับ 91,020 ล้านดอลลาร์สหรัฐในเดือนสิงหาคม สูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ที่ 83,900 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เนื่องจากการส่งออกเพิ่มขึ้นเร็วกว่าการนำเข้า โดยที่การส่งออกจากจีนเพิ่มขึ้น 8.7% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า โดยแสดงให้เห็นถึงความสามารถในการส่งออกของประเทศจีนที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยได้รับแรงสนับสนุนหลักจากยอดขายต่างประเทศที่แข็งแกร่งแม้ว่าจะมีความตึงเครียดทางการค้าที่เพิ่มขึ้นกับฝ่ายตะวันตกก็ตาม โดยการส่งออกส่วนใหญ่ยังคงเพิ่มขึ้นในเกาหลีใต้, ไต้หวันและกลุ่มประเทศอาเซียนที่เพิ่มขึ้นมากกว่า 8.8% โดยส่วนใหญ่เป็นการส่งออกสินค้าในภาคการเกษตรและผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ยังคงมีความต้องการอย่างต่อเนื่อง
ด้านการนำเข้าสินค้าไปยังจีนพบว่าเพิ่มขึ้นเพียง 0.5% คิดเป็นมูลค่า 217,630 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ที่ 2.0% การชะลอตัวลงของการนำเข้านี้แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการฟื้นตัวที่เปราะบางของประสงค์ในประเทศ โดยการนำเข้าอุปกรณ์ประมวลผลข้อมูลอัตโนมัติเพิ่มขึ้น 58.8% รองลงมาคือผลิตภัณฑ์ล้ำสมัยที่เพิ่มขึ้นมากกว่า 12.2% ในทางกลับกัน การนำเข้าแร่หายากและน้ำมันพืชได้ลดลงมากกว่า 30% และยังคงมีแนวโน้มชะลอตัวลงต่อเนื่อง
อัตราเงินเฟ้อของจีนเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเป็น 0.6% เมื่อเทียบเป็นรายปีในเดือนสิงหาคม ซึ่งต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ที่ 0.7% อย่างไรก็ตาม ถือเป็นการเพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้อเดือนที่ 7 ติดต่อกัน โดยปัญหาส่วนใหญ่ยังคงเกิดจากอุปทานที่มีมากเกินไปส่วนทางการกลับอุปสงค์ที่ไม่ได้เติบโตเพิ่มขึ้นมากนัก ทำให้ราคาสินค้าอื่นๆ มีแนวโน้มที่จะถ้ารอตัวลงได้อีก ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นได้รับแรงหน่อยจากราคาอาหารที่เพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2023 และถือเป็นอัตราการเพิ่มขึ้นเร็วที่สุดในรอบ 19 เดือน
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลจีนอายุ 10 ปี ลดลงต่อเนื่องเป็นวันที่ 4 ติดต่อกัน โดยลดลงมาอยู่ที่ประมาณ 2.12% หลังจากมีการเปิดเผยข้อมูลดุลการค้า ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการเติบโตของการส่งออกลดลงมาอยู่ที่ระดับต่ำสุดในรอบ 4 เดือน นอกจากนี้ อัตราเงินเฟ้อได้เพิ่มขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 6 เดือน แต่ยังคงต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ ซึ่งบ่งชี้ถึงอุปสงค์ในประเทศที่อ่อนแอ ด้านนักลงทุนกำลังจับตามองการประกาศข้อมูลที่สำคัญในสหรัฐ เช่น การผลิตภาคอุตสาหกรรม, ยอดค้าปลีกและอัตราการว่างงาน
ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (5H)
แนวต้านสำคัญ: 7.1225, 7.1259, 7.1276
แนวรับสำคัญ: 7.1174, 7.1157, 7.1123
ที่มา: Investing.com
Buy/Long 1: หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 7.1157 - 7.1174 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 7.1174 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 7.1259 และ SL ที่ประมาณ 7.1123 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Buy/Long 2: หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 7.1225 - 7.1259 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 7.1276 และ SL ที่ประมาณ 7.1157 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 1: หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 7.1225 - 7.1259 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 7.1225 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 7.1157 และ SL ที่ประมาณ 7.1276 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 2: หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 7.1157 - 7.1174 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 7.1123 และ SL ที่ประมาณ 7.1259 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
จุดกลับตัว 12 กันยายน 2567 20:38 น. GMT+7
ชื่อ
|
S3
|
S2
|
S1
|
จุดกลับตัว
|
R1
|
R2
|
R3
|
Classic | 7.1123 | 7.1157 | 7.1174 | 7.1208 | 7.1225 | 7.1259 | 7.1276 |
Fibonacci | 7.1157 | 7.1176 | 7.1189 | 7.1208 | 7.1227 | 7.124 | 7.1259 |
Camarilla | 7.1178 | 7.1183 | 7.1188 | 7.1208 | 7.1197 | 7.1202 | 7.1207 |
Woodie's | 7.1115 | 7.1153 | 7.1166 | 7.1204 | 7.1217 | 7.1255 | 7.1268 |
DeMark's | - | - | 7.1166 | 7.1204 | 7.1217 | - | - |