บทวิเคราะห์ USD/EUR 13 กันยายน 2567

Create at 1 month ago (Sep 13, 2024 20:59)

ธนาคารกลางยุโรปตัดสินใจลดอัตราดอกเบี้ยลงอีก 25 bps 

ยูโรแข่งค่าขึ้นอีกครั้ง ในขณะที่นักลงทุนกำลังพิจารณาการตัดสินใจนโยบายการเงินครั้งล่าสุดของธนาคารกลางยุโรป (ECB) โดยธนาคารกลางได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงตามที่คาดการณ์ไว้ รวมถึงข้อมูลอัตราเงินเฟ้อล่าสุดออกมาเป็นไปตามที่คาด อย่างไรก็ตาม อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่ไม่รวมราคาอาหารและพลังงานที่ผันผวนคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในปี 2024 และ 2025 


ธนาคารกลางยุโรปตัดสินใจปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีก 25 bps เหลือเพียง 3.5% เพื่อผ่อนคลายนโยบายการเงินในปัจจุบัน ซึ่งสะท้อนถึงแนวโน้มของอัตราเงินเฟ้อที่ชะลอตัวลงต่อเนื่อง ซึ่งการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนี้ผลถึงการรีไฟแนนซ์และการขอสินเชื่อก็ลดลงเหลือ 3.65% และ 3.9% ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม ธนาคารกลางยุโรปก็ยังจำเป็นที่จะต้องกดดันอัตราเงินเฟ้อให้กลับมาสู่เป้าหมายที่ 2% ได้อย่างยั่งยืน โดยแสดงให้เห็นว่าการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในครั้งต่อๆ ไปจะอิงตามข้อมูลและสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน โดยจะไม่ยึดติดกับแนวทางใดๆ ที่มีความเฉพาะเจาะจง


ด้านนักลงทุนและนักวิเคราะห์เชื่อว่าธนาคารกลางยุโรปจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยอย่างน้อยอีก 2 ครั้งภายในสิ้นปีนี้ เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มชะลอตัวลงต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังมีการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อจากธนาคารกลางยุโรปว่าจะอยู่ที่ประมาณ 2.5% ภายในปี 2024, 2.2% ในปี 2025 และ 1.9% ในปี 2026  แม้ว่าตัวเลขดังกล่าวจะปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเนื่องจากราคาพลังงานที่ผันผวน ทั้งนี้แม้ว่าการเงินเฟ้อในภาคการบริการจะสูงขึ้นเล็กน้อย แต่แรงกดดันเงินเฟ้อภายในกลุ่มประเทศยังคงเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง เนื่องจากบริษัทต่างๆ จำเป็นต้องควบคุมต้นทุนทางด้านการผลิตและแรงงานให้สอดคล้องกับความสามารถในการเติบโต จึงทำให้การประกาศรับสมัครงานไม่ได้เพิ่มขึ้นมากนัก


จำนวนผู้มีงานทำในยูโรโซนเพิ่มขึ้น 0.2% ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2024 โดยมีการชะลอตัวลงเล็กน้อยหลังจากที่เพิ่มขึ้น 0.3% ในไตรมาสแรก โดยสัญญาณดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงการจ้างงานที่เพิ่มมากขึ้นในบางอุตสาหกรรมโดยเฉพาะในภาคการบริการ อย่างไรก็ตาม อัตราการจ้างงานยังคงมีแนวโน้มชะลอตัวลงต่อเนื่องในช่วง 4 ไตรมาสที่ผ่านมา อัตราการเติบโตของการจ้างงานสูงสุดพบในเนเธอร์แลนด์และโปแลนด์ ในขณะที่ประเทศกลุ่มเศรษฐกิจหลักมีการจ้างงานที่เพิ่มขึ้น  0.2% ในขณะที่เยอรมนีหดตัวลง 0.1% 


การผลิตภาคอุตสาหกรรมในยูโรโซนลดลง 0.3% เมื่อเทียบเป็นรายเดือนในเดือนกรกฎาคม ซึ่งสอดคล้องกับการคาดการณ์ของตลาด โดยตัวเลขดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าผลผลิตที่สามารถทำได้ยังคงชะลอตัวลงในหลายภาคส่วนเช่น การผลิตสินค้าขั้นกลาง (ซึ่งเป็นสินค้าที่ใช้ผลิตสินค้าอื่นๆต่อไป) กลับมาชะลอตัวลงอีกครั้งที่ 1.3% โดยเยอรมนียังคงประสบปัญหาในอุตสาหกรรมการผลิตที่ผลผลิตลดลงอย่างรวดเร็วกว่า 3%  แสดงให้เห็นถึงอุปสงค์ที่ชะลอตัวลงทั้งในกลุ่มประเทศและต่างประเทศ

ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (5H)

แนวต้านสำคัญ: 0.9025, 0.9037, 0.9044

แนวรับสำคัญ: 0.9007, 0.9001, 0.8989

บทวิเคราะห์ USD/EUR วันนี้ที่มา: Investing.com

Buy/Long 1: หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 0.9001 - 0.9007 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 0.9007 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.9037 และ SL ที่ประมาณ 0.8989 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Buy/Long 2: หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 0.9025 - 0.9037 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.9044 และ SL ที่ประมาณ 0.9001 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Sell/Short 1: หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 0.9025 - 0.9037 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 0.9025 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.9001 และ SL ที่ประมาณ 0.9044 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Sell/Short 2: หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 0.9001 - 0.9007 ได้อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.8989 และ SL ที่ประมาณ 0.9037 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

จุดกลับตัว 13 กันยายน 2567 20:45 น. GMT+7

ชื่อ
S3
S2
S1
จุดกลับตัว
R1
R2
R3
Classic 0.8989 0.9001 0.9007 0.9019 0.9025 0.9037 0.9044
Fibonacci 0.9001 0.9008 0.9012 0.9019 0.9026 0.903 0.9037
Camarilla 0.9008 0.901 0.9012 0.9019 0.9015 0.9017 0.9019
Woodie's 0.8987 0.9 0.9005 0.9018 0.9023 0.9036 0.9042
DeMark's - - 0.9004 0.9017 0.9022 - -
______________________________
อัพเกรดความรู้เพิ่มเติม: คลิกที่นี่
รู้เท่าทันสถานการณ์โลกและบทวิเคราะห์เทคนิคขั้นสูงคลิกที่นี่
Tags:

TECHNICAL ANALYSIS

ARTICLES