เศราฐกิจของอินเดียเติบโตน้อยกว่าที่คาด
เงินรูปีอินเดียอ่อนค่าลงเล็กน้อย ท่ามกลางนโยบายการเงินที่แตกต่างกันของธนาคารกลางอินเดียและธนาคารกลางสหรัฐ โดย RBI ยังคงแสดงจุดยืนที่จะไม่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเร็วๆนี้ เนื่องจาก ผู้กำหนดนโยบายยังคงให้ความสำคัญกับความเสี่ยงด้านอัตราเงินเฟ้อ และยังไม่ปักใจเชื่อว่าข้อมูลอัตราเงินเฟ้อล่าสุดจะมีการเติบโตที่ชะลอตัวลง ได้ข้อมูลเศรษฐกิจของสหรัฐ ตลาดแรงงานที่เริ่มโชว์ตัวลงและอัตราเงินเฟ้อที่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ทำให้นักลงทุนคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยหลายครั้งในปีนี้ ซึ่งจะส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงต่อเนื่อง
เศรษฐกิจอินเดียขยายตัว 6.7% เมื่อเทียบจากปีก่อนในไตรมาสที่ 2 ชะลอตัวลงจากการเติบโต 7.8% ในช่วงไตรมาสก่อนหน้า ถือเป็นการขยายตัวที่ช้าที่สุดในรอบ 5 ไตรมาส เนื่องจากการใช้จ่ายของรัฐบาลชะลอตัวลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นผลมาจากการเลือกตั้งทำให้กิจกรรมหลายอย่างของรัฐบาลต้องชะลอออกไปก่อน อย่างไรก็ตาม การใช้จ่ายของผู้บริโภคในอินเดียที่ชะลอตัวลงอาจแสดงให้เห็นถึงการเติบโตของเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงได้อีกในอนาคต
Composite PMI ของอินเดียอยู่ที่ 60.7 ในเดือนสิงหาคม โดยอัตราการเติบโตนี้ยังคงอยู่เหนือค่าเฉลี่ยในระยะยาวที่ 54.6 และนับเป็นเดือนที่ 37 ที่กิจกรรมทั้งภาคการผลิตและภาคบริการของเอกชนเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขยายตัวของภาคบริการที่ส่งสัญญาณถึงการเพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่ง อย่างไรก็ตาม การเติบโตของภาคการผลิตไม่ได้สูงขึ้นมากนัก เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อด้านต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง รวมถึงการแข่งขันที่ดุเดือดมากขึ้นทำให้บริษัทต่างๆ เผชิญกับแรงกดดันด้านราคาสินค้ามากขึ้น
อัตราเงินเฟ้อในอินเดียเพิ่มขึ้นเป็น 3.65% ในเดือนสิงหาคม สูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ที่ 3.55% แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อจะปรับตัวเพิ่มขึ้น แต่ก็ถือว่าอัตราเงินเฟ้อในตอนนี้ยังคงอยู่ต่ำกว่าเป้าหมายของ RBI ที่ 4% โดยเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นได้รับผลกระทบจากราคาอาหารที่กินส่วนแบ่งเกือบครึ่งหนึ่งของสินค้าอุปโภคบริโภคได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะการขึ้นราคาของพืชตระกูลถั่วและผักต่างๆ เนื่องจากสภาพอากาศที่แปรปรวนมากขึ้นและอุปสงค์ทั้งภายในและต่างประเทศที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอินเดียอายุ 10 ปีอยู่ต่ำกว่า 6.8% อัตราเงินเฟ้อของอินเดียที่อยู่ต่ำกว่าเป้าหมายและการเติบโตของ GDP ที่ชะลอตัวลงมากกว่าที่คาด ทำให้นักลงทุนคาดการณ์ว่า RBI จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยในไตรมาสที่ 4 ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายที่แสดงให้เห็นถึงการผ่อนคลายทางการเงินมากขึ้น
ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (5H)
แนวต้านสำคัญ: 83.531, 83.578, 83.602
แนวรับสำคัญ: 83.46, 83.436, 83.39
ที่มา: Investing.com
Buy/Long 1: หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 83.436 - 83.46 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 83.46 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 83.578 และ SL ที่ประมาณ 83.39 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Buy/Long 2: หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 83.531 - 83.578 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 83.602 และ SL ที่ประมาณ 83.436 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 1: หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 83.531 - 83.578 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 83.531 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 83.436 และ SL ที่ประมาณ 83.602 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 2: หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 83.436 - 83.46 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 83.39 และ SL ที่ประมาณ 83.578 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
จุดกลับตัว 20 กันยายน 2567 23:21 น. GMT+7
ชื่อ
|
S3
|
S2
|
S1
|
จุดกลับตัว
|
R1
|
R2
|
R3
|
Classic | 83.39 | 83.436 | 83.46 | 83.507 | 83.531 | 83.578 | 83.602 |
Fibonacci | 83.436 | 83.463 | 83.48 | 83.507 | 83.534 | 83.551 | 83.578 |
Camarilla | 83.466 | 83.473 | 83.479 | 83.507 | 83.492 | 83.499 | 83.505 |
Woodie's | 83.38 | 83.431 | 83.45 | 83.502 | 83.521 | 83.573 | 83.592 |
DeMark's | - | - | 83.449 | 83.501 | 83.52 | - | - |