บทวิเคราะห์ EUR/USD วันที่ 23 กันยายน 2567

Create at 3 months ago (Sep 23, 2024 11:21)

ยูโรโซนเผชิญแรงกดดันเงินเฟ้อ ท่ามกลางมุมมองเศรษฐกิจที่หลากหลาย

ประธาน Bundesbank โจอาคิม นาเกล กล่าวถึงอัตราเงินเฟ้อของเขตยูโรที่ยังคงสูงกว่าเป้าหมาย ซึ่งจำต้องใช้อัตราดอกเบี้ยที่สูงอย่างต่อเนื่องในการปรับแรงกดดันด้านราคา โดยแม้ว่าอัตราเงินเฟ้อจะลดลงเหลือ 2.2% แต่นาเกลเตือนว่าการเติบโตของค่าจ้างและการขาดแคลนแรงงาน โดยเฉพาะในเยอรมนี อาจทำให้เงินเฟ้อสูงขึ้นอีกครั้ง

ทั้งนี้ การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในเศรษฐกิจโลกคาดว่าจะทำให้เงินเฟ้อผันผวนมากขึ้นในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ส่งผลให้การควบคุมราคามีความซับซ้อนมากขึ้น อย่างไรก็ตาม คริสติน ลาการ์ด ประธานธนาคารกลางยุโรป (ECB) เน้นย้ำว่าการรักษากรอบการกำหนดเป้าหมายเงินเฟ้อยังคงมีความสำคัญ โดยปัจจัยทางเศรษฐกิจ เช่น การทวนกระแสโลกาภิวัตน์ การคุ้มครองทางการค้า และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ได้ทำให้บรรดานักเศรษฐศาสตร์เผชิญกับความสับสน โดยหลายคนไม่สามารถคาดการณ์การพุ่งสูงขึ้นของเงินเฟ้อในช่วงที่ผ่านมาได้ ส่งผลให้ธนาคารกลางต้องพยายามปรับตัวตามให้ทัน

ลาการ์ดเน้นย้ำถึงผลกระทบของบริษัท "ซูเปอร์สตาร์" ในเศรษฐกิจดิจิทัล เช่น บริการคลาวด์และอีคอมเมิร์ซ ซึ่งได้รับผลกระทบจากอัตราดอกเบี้ยน้อยกว่า และอาจทำให้อิทธิพลของธนาคารกลางอ่อนแอลง ในทางกลับกัน การพลิกกลับของภาวะโลกาภิวัตน์ผ่านแนวทางปฏิบัติ เช่น "การทำธุรกิจแบบเนียร์ชอร์ริ่ง" อาจเพิ่มประสิทธิภาพของนโยบายการเงินได้ด้วยการเพิ่มความอ่อนไหวของบริษัทต่ออัตราดอกเบี้ย

ทางด้าน Moody's ได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับความพร้อมของธนาคารในยุโรปสำหรับการผิดนัดชำระสินเชื่อที่อยู่อาศัยอันเนื่องมาจากมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ที่ลดลงและต้นทุนการกู้ยืมที่สูงขึ้น แม้จะมีความเสี่ยงที่สินเชื่อที่มีปัญหาจะเพิ่มขึ้น แต่ Moody's เชื่อว่าโดยทั่วไปแล้วธนาคารจะมีบัฟเฟอร์ทุนที่แข็งแกร่งเพียงพอที่จะจัดการกับสถานการณ์ดังกล่าวได้ ท่ามกลางผู้ให้กู้บางรายที่อาจมีความพร้อมที่ไม่เพียงพอ

สำหรับแนวโน้มเศรษฐกิจของเยอรมนีแย่ลงอย่างมีนัยสำคัญ โดยความเชื่อมั่นของนักลงทุนในเดือนกันยายนลดลงมากกว่าที่คาดไว้ ตามรายงานของสถาบัน ZEW ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญคาดการณ์ว่าการเติบโตที่อ่อนแอจะยังคงดำเนินต่อไป โดยสถานการณ์เศรษฐกิจในเยอรมนีอาจย่ำแย่ลงอย่างต่อเนื่อง จากดัชนีการประเมินที่ลดลงสู่ระดับต่ำสุดตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2020 โดยเศรษฐกิจเยอรมนีซึ่งหดตัวในไตรมาสที่ 2 เสี่ยงที่จะเข้าสู่ภาวะถดถอย ท่ามกลางความกังวลถึงภาวะซบเซาหรือการหดตัวเล็กน้อยในอีกไม่กี่ไตรมาสข้างหน้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเดือนฤดูหนาวใกล้เข้ามา

นอกจากนี้ ตามข้อมูลของ Bundesbank เยอรมนียังเผชิญกับความท้าทายจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยทางอุตสาหกรรม การลงทุนที่อ่อนแอ และการใช้จ่ายของผู้บริโภคที่มีความระมัดระวัง โดยแม้จะมีการจ้างงานสูงและค่าจ้างที่เพิ่มขึ้น แต่การบริโภคส่วนบุคคลยังคงซบเซา ท่ามกลางการผลิตภาคอุตสาหกรรมที่คาดว่าจะอ่อนแออย่างต่อเนื่อง

ในทางกลับกัน ฝรั่งเศสกำลังประสบกับภาวะเงินเฟ้อที่ค่อย ๆ ลดลง โดยราคาผู้บริโภคเพิ่มขึ้น 2.2% ในเดือนสิงหาคม ลดลงจาก 2.7% ในเดือนกรกฎาคม ส่วนใหญ่เป็นผลจากราคาพลังงานที่ลดลงอย่างรวดเร็ว โดยธนาคารกลางคาดการณ์ว่าอัตราเงินเฟ้อจะยังคงต่ำกว่าเป้าหมายของธนาคารกลางยุโรปในอีกสองปีข้างหน้า ซึ่งถึงแม้ว่าอัตราเงินเฟ้อจะลดลง แต่ฝรั่งเศสยังคงเผชิญกับความท้าทายทางการคลังที่เพิ่มมากขึ้น โดยนายกรัฐมนตรีมิเชล บาร์เนียร์อยู่ภายใต้แรงกดดันที่จะต้องแก้ไขปัญหาการขาดดุลงบประมาณที่ขยายตัว ซึ่งเกิดจากรายได้จากภาษีที่ลดลงและการใช้จ่ายที่สูงขึ้น ส่งผลให้ธนาคารกลางคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจของฝรั่งเศสจะเติบโต 1.1% ในปีนี้และจะดีขึ้นเล็กน้อยในปี 2025 และ 2026 โดยได้รับแรงหนุนจากค่าจ้างที่สูงขึ้นซึ่งจะช่วยกระตุ้นการใช้จ่ายของผู้บริโภค อย่างไรก็ตาม รัฐบาลยังคงต้องตัดสินใจอย่างยากลำบากเกี่ยวกับการขึ้นภาษีและการลดการใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้นเพื่อให้เป็นไปตามกฎการขาดดุลของสหภาพยุโรป

ทางด้านอิตาลียังคงต้องเผชิญกับแรงกดดันทางการคลัง แม้ว่าเศรษฐกิจจะปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อย โดยรัฐมนตรีกระทรวงเศรษฐกิจ จานคาร์โล จิออร์เกตติ แสดงความหวังว่าอิตาลีจะสามารถจัดทำงบประมาณหลัก (ไม่รวมดอกเบี้ยหนี้) ให้สมดุลได้ในปี 2024 โดยอิตาลีซึ่งมีอัตราส่วนหนี้ต่อจีดีพีสูงที่สุดแห่งหนึ่งในยูโรโซน มุ่งมั่นที่จะลดการขาดดุลภายในปี 2026 ตามกฎการคลังของสหภาพยุโรป ขณะที่รัฐบาลมีเป้าหมายที่จะลดภาษีอย่างถาวรสำหรับผู้มีรายได้น้อยและปานกลาง แม้ว่าจะต้องเผชิญกับความตึงเครียดด้านการคลังของภาครัฐ

ในทางกลับกัน ดอลลาร์เผชิญความผันผวนตั้งแต่ธนาคารกลางสหรัฐฯ เริ่มผ่อนปรนนโยบายการเงิน ขณะที่เงินยูโรอ่อนค่าลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับดอลลาร์ และดัชนีดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งวัดค่าเงินดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ขยับขึ้นแตะระดับ 100.75 ซึ่งสูงกว่าระดับต่ำสุดในรอบ 1 ปีเล็กน้อย

ทั้งนี้ พบโอกาสเกือบ 49% ที่เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยอีก 50 จุดในเดือนพฤศจิกายน โดยคาดว่าจะมีการปรับลดทั้งหมด 74.8 จุดภายในสิ้นปีนี้ และคาดว่าอัตราดอกเบี้ยของเฟดจะแตะระดับ 2.85% ภายในสิ้นปี 2025 ซึ่งสอดคล้องกับอัตราดอกเบี้ยกลางที่เฟดคาดการณ์ไว้

โดยนักลงทุนจะติดตามเงินเฟ้ออย่างใกล้ชิด รวมถึงคำกล่าวของเจ้าหน้าที่เฟดหลายคนหลังจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยครั้งใหญ่เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ขณะที่ข้อมูลดัชนี PMI และตัวเลขเงินเฟ้อคาดว่าจะให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจโลก ท่ามกลางเขตยูโรและสหราชอาณาจักรที่ยังคงแสดงให้เห็นถึงความยืดหยุ่น แต่ยังคงมีข้อกังวลเกี่ยวกับกิจกรรมทางธุรกิจที่อ่อนแอของเยอรมนีและการต่อสู้ดิ้นรนของจีนเพื่อบรรลุเป้าหมายการเติบโต โดยนักเศรษฐศาสตร์คาดว่าดัชนีราคา PCE สำหรับเดือนสิงหาคมจะเพิ่มขึ้น 2.5% ต่อปี ซึ่งเฟดคาดการณ์ว่าจะลดลงเหลือ 2.3% ภายในสิ้นปี

ทั้งนี้ ปฏิทินเศรษฐกิจประจำสัปดาห์ประกอบด้วยตัวเลขสุดท้ายของ GDP ไตรมาสที่ 2 รายงานความเชื่อมั่นผู้บริโภค คำสั่งซื้อสินค้าคงทน ข้อมูลการขายที่อยู่อาศัย และการยื่นขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรก โดยเจ้าหน้าที่เฟด รวมถึง ราฟาเอล บอสติกออสแทน กูลส์บีมิเชล โบว์แมน และเจอโรม พาวเวลล์ มีกำหนดปราศรัยในสัปดาห์นี้ ซึ่งนักลงทุนจะจับตาดูอย่างใกล้ชิดเพื่อหาเบาะแสเกี่ยวกับแนวทางของเฟดในการลดขนาดงบดุล จึงคาดว่าจะส่งผลให้เงินยูโรอาจยังคงแนวโน้มปรับตัวขึ้นลงในกรอบกว้างๆ และยังคงอ่อนค่ากว่าเงินดอลลาร์ได้อย่างต่อเนื่องในระยะกลางจากความแตกต่างของผลตอบแทนและความร้อนแรงระหว่างทั้งสองเขตเศรษฐกิจ

ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (1H) CFD EUR/USD

แนวต้านสำคัญ : 1.1164, 1.1166, 1.1168

แนวรับสำคัญ : 1.1158, 1.1156, 1.1154                  

1H Outlook           

วิเคราะห์ EUR/USD ที่มา: TradingView

Buy/Long 1 หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 1.1150 - 1.1158 แต่ไม่สามารถทะลุแนวรับที่ 1.1158 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.1165 และ SL ที่ประมาณ 1.1146 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Buy/Long 2 หากสามารถทะลุแนวต้านที่ช่วงราคา 1.1164 - 1.1172 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.1178 และ SL ที่ประมาณ 1.1154 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้                 

Sell/Short 1 หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 1.1164 - 1.1172 แต่ไม่สามารถทะลุแนวต้านที่ 1.1164 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.1158 และ SL ที่ประมาณ 1.1176 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Sell/Short 2 หากสามารถทะลุแนวรับที่ช่วงราคา 1.1150 - 1.1158 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.1146 และ SL ที่ประมาณ 1.1168 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Pivot Points Sep 23, 2024 10:35AM GMT+7

Name
S3
S2
S1
Pivot Points
R1
R2
R3
Classic 1.1151 1.1154 1.1158 1.1161 1.1165 1.1168 1.1173
Fibonacci 1.1154 1.1156 1.1158 1.1161 1.1164 1.1166 1.1168
Camarilla 1.116 1.1161 1.1162 1.1161 1.1163 1.1164 1.1165
Woodie's 1.1151 1.1154 1.1158 1.1161 1.1165 1.1168 1.1173
DeMark's - - 1.1159 1.1162 1.1167 - -

ที่มา: Investing 1Investing 2

______________________________
อัพเกรดความรู้เพิ่มเติม: คลิกที่นี่
รู้เท่าทันสถานการณ์โลกและบทวิเคราะห์เทคนิคขั้นสูงคลิกที่นี่
Tags:

TECHNICAL ANALYSIS

ARTICLES