อัตราเงินเฟ้อญี่ปุ่นกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมายของ BoJ อีกครั้ง
ค่าเงินเยนของญี่ปุ่นแข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง หลังจากอ่อนค่าลงในช่วงก่อนหน้า โดยได้รับแรงหนุนจากที่ชิเงรุ อิชิบะ อดีตรัฐมนตรีกลาโหมที่ได้รับเลือกให้เป็นหัวหน้าพรรครัฐบาลของญี่ปุ่น ส่งผลให้เขากลายเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไป โดย ชิเงรุ อิชิบะ มีแนวโน้มที่จะใช้การสนับสนุนการกระตุ้นเศรษฐกิจและนโยบายการคลังแบบขยายตัว เช่น การเพิ่มปริมาณเงินเข้าไปในระบบเศรษฐกิจหรือการลดอัตราดอกเบี้ย ซึ่งจะทำให้ GDP เพิ่มมากขึ้น
ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของโตเกียวในญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นเป็น 2% เมื่อเทียบเป็นรายปีในเดือนกันยายน ถือว่าเป็นการกลับมาชะลอตัวลงอย่างรวดเร็วจากการเติบโต 2.4% ในเดือนสิงหาคม โดยตัวเลขล่าสุดยังคงสอดคล้องกับเป้าหมายของธนาคารกลางญี่ปุ่นที่ 2% โดยรายงานการประชุมครั้งล่าสุดเผยให้เห็นว่าผู้กำหนดนโยบายบางคนยังคงต้องการให้เฝ้าระวังความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อและได้ส่งสัญญาณเตือนไม่ให้สร้างความคาดหวังของตลาดมากเกินไปเกี่ยวกับการปรับอัตราดอกเบี้ยในอนาคต
ทั้งนี้ ผู้ว่าการธนาคารกลางคาซูโอะ อูเอดะ กล่าวเพิ่มเติมเกี่ยวกับตลาดแรงงานในตอนนี้ว่าพฤติกรรมการกำหนดค่าจ้างของบริษัทต่างๆ รวมถึงการปรับขึ้นค่าจ้างอาจจะยังคงเกิดขึ้นในปีต่อๆ ไป ในขณะเดียวกัน เศรษฐกิจมหภาคยังคงเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ช่วยให้ค่าจ้างเพิ่มขึ้น เช่น การขาดแคลนแรงงานและผลกำไรของบริษัทที่เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากญี่ปุ่นยังคงอยู่ในอัตราดอกเบี้ยต่ำเป็นเวลานาน
ดัชนี PMI ภาคการผลิตของญี่ปุ่นลดลงเหลือ 49.6 แสดงให้เห็นถึงการหดตัวของกิจกรรมภาคการผลิต โดยผลผลิตที่สามารถหดตัวลงเล็กน้อย ในขณะที่คำสั่งซื้อใหม่ยังคงลดลงต่อเนื่อง ส่งผลให้บริษัทต่างๆ จำเป็นต้องเพิ่มสต็อกสินค้าเป็นครั้งแรกในรอบ 3 เดือน ในด้านอัตราเงินเฟ้อของราคาวัตถุดิบลดลง ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตไม่เพิ่มขึ้นมากนัก
ด้าน PMI ภาคบริการของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นแตะระดับ 53.9 นับเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกันที่ภาคบริการยังคงขยายตัวต่อเนื่อง โดยได้รับแรงหนุนจากอุปสงค์จากภายนอกที่แข็งแกร่ง ซึ่งดูได้จากคำสั่งซื้อใหม่ที่ยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ในขณะเดียวกัน ต้นทุนการผลิตที่เพิ่มมากขึ้นทำให้บริษัทต่างๆ เริ่มหาวิธีที่จะส่งต่อภาระต้นทุนที่สูงขึ้นให้กับลูกค้า
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่นอายุ 10 ปีเพิ่มขึ้นมาอยุ่ที่ 0.85% ซึ่งสอดคล้องกับการคาดการณ์ของตลาด โดยธนาคารกลางญี่ปุ่นอาจใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดขึ้นเพื่อจำกัดความเสี่ยงด้านอัตราเงินเฟ้อ ในขณะที่ข้อมูลเศรษฐกิจ่างเอื้อให้ธนาคารกลางญี่ปุ่นมีโอกาศที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น
ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (5H)
แนวต้านสำคัญ: 143.36, 144.2, 144.63
แนวรับสำคัญ: 142.09, 141.66, 140.82
ที่มา: Investing.com
Buy/Long 1: หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 141.66 - 142.09 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 142.09 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 144.2 และ SL ที่ประมาณ 140.82 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Buy/Long 2: หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 143.36 - 144.2 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 144.63 และ SL ที่ประมาณ 141.66 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 1: หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 143.36 - 144.2 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 143.36 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 141.66 และ SL ที่ประมาณ 144.63 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 2: หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 141.66 - 142.09 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 140.82 และ SL ที่ประมาณ 144.2 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
จุดกลับตัว 28 กันยายน 2567 00:58 น. GMT+7
ชื่อ
|
S3
|
S2
|
S1
|
จุดกลับตัว
|
R1
|
R2
|
R3
|
Classic | 140.82 | 141.66 | 142.09 | 142.93 | 143.36 | 144.2 | 144.63 |
Fibonacci | 141.66 | 142.15 | 142.44 | 142.93 | 143.42 | 143.71 | 144.2 |
Camarilla | 142.18 | 142.3 | 142.41 | 142.93 | 142.65 | 142.76 | 142.88 |
Woodie's | 140.62 | 141.56 | 141.89 | 142.83 | 143.16 | 144.1 | 144.43 |
DeMark's | - | - | 141.88 | 142.82 | 143.15 | - | - |