ดอลลาร์ออสเตรเลียผันผวนหลังยอดขายปลีกพุ่งและเงินเฟ้อลดต่ำสุดในรอบ 3 ปี
ก่อนหน้านี้ ดอลลาร์ออสเตรเลียอ่อนค่าลงมาอยู่ที่ 0.6883 ดอลลาร์ แต่ถูกจำกัดด้วยข้อมูลยอดขายปลีกที่เป็นบวก โดยยอดขายปลีกในเดือนสิงหาคมฟื้นตัวมากกว่าที่คาดไว้หลังจากที่อ่อนแอในเดือนกรกฎาคม เนื่องมาจากอากาศอบอุ่นผิดปกติซึ่งกระตุ้นให้เกิดการใช้จ่ายในฤดูใบไม้ผลิ และอาจส่งสัญญาณว่าผู้บริโภคกำลังใช้รายได้ที่จับจ่ายได้เพิ่มขึ้นจากมาตรการลดหย่อนภาษีเมื่อเร็วๆ นี้ ซึ่งได้ส่งผลให้ผู้มีรายได้โดยเฉลี่ยได้รับเงินเพิ่มขึ้นอีก 1,500 ดอลลาร์ออสเตรเลียต่อปี อย่างไรก็ตาม ธนาคารกลางออสเตรเลีย (RBA) ยังคงความระมัดระวัง เนื่องจากกังวลว่าการบริโภคอาจเพิ่มขึ้นมากกว่าที่คาดไว้เนื่องจากการลดหย่อนภาษีและรายได้จริงที่เพิ่มขึ้น
ทางด้านตลาดอสังหาริมทรัพย์ของออสเตรเลียที่เคยร้อนแรงกำลังชะลอตัวลง โดยในเดือนกันยายน ราคาบ้านเพิ่มขึ้นเพียง 0.4% ท่ามกลางรายการขายอสังหาริมทรัพย์พุ่งแตะระดับสูงสุดในรอบ 3 ปี และอัตราการปิดการประมูลที่ลดลงที่บ่งชี้ว่าตลาดอาจสูญเสียโมเมนตัมบางส่วนในช่วงเริ่มต้นฤดูใบไม้ผลิที่ปกติจะคึกคัก โดยการชะลอตัวโดยรวมได้บรรเทาความกังวลเกี่ยวกับสภาพทางการเงินที่ผ่อนคลายมากเกินไป หลังจากที่ก่อนหน้านี้ราคาอสังหาริมทรัพย์เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
ทางด้านอัตราเงินเฟ้อลดลง โดยแตะระดับต่ำสุดในรอบ 3 ปีในเดือนสิงหาคม ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เพิ่มขึ้น 2.7% เมื่อเทียบเป็นรายปี ลดลงจาก 3.5% ในเดือนกรกฎาคม สอดคล้องกับที่คาดการณ์ไว้ ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากมาตรการช่วยเหลือค่าไฟฟ้าของรัฐบาล ซึ่งทำให้ราคาลดลงเกือบ 15% รวมถึงราคาเบนซินที่ลดลง 3.1% อย่างไรก็ตาม อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน ซึ่งไม่รวมราคาสินค้าที่มีความผันผวน เช่น เชื้อเพลิงและอาหารสด ยังคงสูงที่ 3.4% แม้ว่าจะลดลงจาก 3.8% ในเดือนกรกฎาคม
ทั้งนี้ เป้าหมายเงินเฟ้อของ RBA ยังคงอยู่ที่ 2-3% และแม้ว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะลดลงในช่วงสั้นๆ นี้ แต่ธนาคารกลางคาดว่าแนวโน้มดังกล่าวจะเป็นเพียงชั่วคราว โดยธนาคารกลางคาดการณ์ว่าอัตราเงินเฟ้อจะฟื้นตัวอีกครั้งในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า และคาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะทรงตัวภายในช่วงกรอบเป้าหมายได้ภายในปี 2026 เท่านั้น
ทางด้านตลาดแรงงานของออสเตรเลียแสดงสัญญาณชะลอตัวลง โดยตำแหน่งงานว่างลดลงเป็นไตรมาสที่เก้าติดต่อกัน โดยลดลง 5.2% ในช่วงสามเดือนจนถึงเดือนสิงหาคม ซึ่งส่งผลกระทบอย่างกว้างขวาง และมีผลกระทบถึง 11 ใน 18 อุตสาหกรรม โดยอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดคืออุตสาหกรรมที่พัก บริการอาหาร และการผลิต และแม้ว่าจำนวนตำแหน่งงานว่างจะลดลง 17.1% เมื่อเทียบกับปีก่อน แต่ยังคงสูงกว่าระดับก่อนเกิดโรคระบาดถึง 45%
ทางด้านการคลัง ออสเตรเลียมีงบประมาณเกินดุล 15.8 พันล้านดอลลาร์ออสเตรเลียสำหรับปีที่สิ้นสุดในเดือนมิถุนายน 2024 ซึ่งถือเป็นการเกินดุลครั้งที่สองติดต่อกัน โดยสาเหตุมาจากการใช้จ่ายของรัฐบาลที่ลดลง โดยชาวออสเตรเลียให้ความสำคัญกับการเลือกใช้บริการที่จำเป็นท่ามกลางภาวะเงินเฟ้อและอัตราจำนองที่สูงขึ้น ขณะที่งบประมาณเกินดุลซึ่งคิดเป็น 0.6% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ของประเทศนั้นเกินกว่าที่รัฐบาลคาดการณ์ในเดือนพฤษภาคมที่ 9.3 พันล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย หลังจากที่เกินดุล 22.1 พันล้านดอลลาร์ออสเตรเลียในปี 2022/23 และนับเป็นครั้งแรกในรอบ 15 ปี เน้นย้ำถึงกลยุทธ์ของรัฐบาลในการควบคุมเงินเฟ้อในขณะที่ให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ภาคครัวเรือน
ขณะเดียวกัน ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ แข็งค่าขึ้นในวันพุธ ซึ่งถือเป็นการเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบสัปดาห์ หลังจากอิหร่านโจมตีอิสราเอลด้วยขีปนาวุธ และกระตุ้นความต้องการสินทรัพย์ปลอดภัย อีกทั้งยังได้รับแรงหนุนจากรายงานตำแหน่งงานว่างในสหรัฐฯ ที่แข็งค่าเกินคาด โดยราคาน้ำมันคาดว่าน่าจะได้รับผลกระทบจากการตอบโต้ของอิสราเอล ซึ่งนักวิเคราะห์ระบุถึงสถานการณ์ดังกล่าวที่ไม่สามารถคาดเดาได้ อย่างไรก็ตาม หากไม่มีการยกระดับสถานการณ์เพิ่มเติม ตลาดอาจหันกลับมาให้ความสำคัญกับปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจอีกครั้ง
ด้านแรงงานของสหรัฐฯ ตำแหน่งงานว่างเพิ่มขึ้นอย่างไม่คาดคิดในเดือนสิงหาคม หลังจากที่ลดลงติดต่อกันมาสองเดือน ส่งสัญญาณถึงความยืดหยุ่นของอุปสงค์แรงงาน แม้จะมีสัญญาณว่าตลาดได้ชะลอตัว โดยจากการสำรวจตำแหน่งงานว่างและอัตราการลาออกของแรงงาน (JOLTS) ของกระทรวงแรงงาน พบว่ามีตำแหน่งงานว่าง 1.13 ตำแหน่งต่อผู้ว่างงานในเดือนสิงหาคม เพิ่มขึ้นจาก 1.08 ตำแหน่งในเดือนกรกฎาคม ขณะที่การลาออกจากงานยังคงอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 4 ปี ซึ่งบ่งชี้ถึงความระมัดระวังที่เพิ่มมากขึ้นของแรงงาน
ทางด้านกิจกรรมการผลิตของสหรัฐฯ ยังคงอ่อนแอในเดือนกันยายน แม้ว่าคำสั่งซื้อใหม่จะดีขึ้น และราคาปัจจัยการผลิตจะลดลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบเก้าเดือน ส่งสัญญาณบ่งชี้ถึงศักยภาพในการฟื้นตัวในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า ในขณะเดียวกัน การใช้จ่ายด้านการก่อสร้างลดลงอย่างไม่คาดคิดในเดือนสิงหาคม จากการลดลงของโครงการก่อสร้างบ้านเดี่ยวในเดือนกรกฎาคม โดยในขณะที่ต้นทุนการกู้ยืมลดลง บริษัทก่อสร้างหลายแห่งยังคงลังเลที่จะเริ่มโครงการใหม่ ท่ามกลางอุปทานบ้านใหม่ที่เพิ่มขึ้น และผู้ซื้อที่รออัตราจำนองที่ลดลง
อีกด้าน อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ข้ามคืนของสหรัฐฯ พุ่งสูงขึ้นในวันจันทร์ ซึ่งสะท้อนถึงสภาพคล่องที่ตึงตัวในตลาดเงินเมื่อไตรมาสสิ้นสุดลง โดยอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ข้ามคืนที่มีหลักประกัน (SOFR) เพิ่มขึ้นเป็น 4.96% ซึ่งถือเป็นการเพิ่มขึ้นในวันเดียวที่มากที่สุดนับตั้งแต่เดือนมีนาคม 2020 จากแรงกดดันด้านเงินทุนและความปั่นป่วนของตลาด ท่ามกลางอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ระยะสั้น (Repo rates) ที่พุ่งสูงขึ้น เป็นสัญญาณบ่งชี้ถึงภาวะขาดแคลนเงินสดในตลาดหลักของวอลล์สตรีท จึงคาดว่าจะส่งผลให้คู่สกุล AUD/USD มีแนวโน้มซื้อขายขึ้นลงในกรอบกว้างๆ ได้ในช่วงนี้ ขณะที่การแข็งค่าของ AUD คาดว่าจะยังคงถูกจำกัดในระยะกลาง
ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (1D) CFD AUD/USD
แนวต้านสำคัญ : 0.6922, 0.6941, 0.6972
แนวรับสำคัญ : 0.6860, 0.6841, 0.6810
1D Outlook
ที่มา: TradingView
Buy/Long 1 หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 0.6810 - 0.6860 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 0.6860 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.6927 และ SL ที่ประมาณ 0.6785 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Buy/Long 2 หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 0.6922 - 0.6972 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.7010 และ SL ที่ประมาณ 0.6835 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 1 หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 0.6922 - 0.6972 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 0.6922 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.6846 และ SL ที่ประมาณ 0.6997 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 2 หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 0.6810 - 0.6860 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.6755 และ SL ที่ประมาณ 0.6947 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Pivot Points Oct 2, 2024 09:56AM GMT+7
Name
|
S3
|
S2
|
S1
|
Pivot Points
|
R1
|
R2
|
R3
|
---|---|---|---|---|---|---|---|
Classic | 0.6765 | 0.681 | 0.6846 | 0.6891 | 0.6927 | 0.6972 | 0.7007 |
Fibonacci | 0.681 | 0.6841 | 0.686 | 0.6891 | 0.6922 | 0.6941 | 0.6972 |
Camarilla | 0.686 | 0.6867 | 0.6875 | 0.6891 | 0.6889 | 0.6897 | 0.6904 |
Woodie's | 0.6761 | 0.6808 | 0.6842 | 0.6889 | 0.6923 | 0.697 | 0.7003 |
DeMark's | - | - | 0.6829 | 0.6882 | 0.6909 | - | - |
ที่มา: Investing 1, Investing 2
อัพเกรดความรู้เพิ่มเติม: คลิ