บริษัทในญี่ปุ่นยังคงเผชิญกับแรงกดดันด้านต้นทุนที่เพิ่มมากขึ้น
ค่าเงินเยนของญี่ปุ่นอ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากได้รับแรงกดดันจากค่าเงินดอลลาร์ที่แข็งค่าขึ้นท่ามกลางความคาดหวังที่เพิ่มขึ้นว่าธนาคารกลางสหรัฐจะมีการดำเนินการที่ระมัดระวังมากขึ้นในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในอนาคต โดยความคาดหวังนี้ได้รับแรงหนุนจากข้อมูลการจ้างงานที่แข็งแกร่งและอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐที่กลับมาเพิ่มขึ้นอีกครั้ง ในขณะที่ ผุ้กำหนดนโยบายบางคนของธนาคารกลางสหรัฐได้ส่งสัญญาณว่าจะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ในเดือนพฤศจิกายน
รายได้เฉลี่ยในญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น 3% เมื่อเทียบเป็นรายปีในเดือนสิงหาคม ต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ที่ 3.1% โดยรายได้เฉลี่ยที่เพิ่มขึ้นนี้ก็สะท้อนถึงการปรับขึ้นค่าจ้างที่ยังคงอยู่ในระดับปกติ นอกจากนี้ ยังสนับสนุนมุมมองว่าธนาคารกลางญี่ปุ่นยังไม่จำเป็นต้องปรับอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งในเร็วๆ นี้
อย่างไรก็ตาม การปรับขึ้นค่าจ้างที่เกิดขึ้น ก็อาจส่งผลให้บริษัทขนาดกลางและขนาดเล็กได้รับแรงกดดันด้านต้นทุนแรงงานที่เพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยที่เร็วเกินไปอาจส่งผลให้ต้นทุนจากการกู้ยืมเพิ่มมากขึ้นด้วย โดย นายกรัฐมนตรีชิเงรุ อิชิบะ ได้กล่าวเพิ่มเติมเมื่อต้นเดือนนี้ว่าสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันอาจไม่คุ้มกับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย เนื่องจากจะส่งผลกระทบเชิงลบโดยตรงต่อกำไรของบริษัทภายในประเทศ
ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจของญี่ปุ่น ซึ่งใช้ในการวัดแนวโน้มเศรษฐกิจในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้าโดยอาศัยข้อมูลต่างๆ เช่น ข้อมูล การประกาศรับสมัครงานและความเชื่อมั่นของผู้บริโภค ลดลงเหลือ 106.7 ในเดือนสิงหาคม เนื่องจากกิจกรรมในภาคการผลิตยังคงซบเซาในขณะที่การเติบโตของภาคบริการยังคงทรงตัวต่อเนื่อง เนื่องจากได้รับแรงกดดันด้านราคาวัตถุดิบ นอกจากนี้การอ่อนค่าของเงินเยนทำให้การนำเข้าสินค้าต่างๆมีค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น ในขณะเดียวกัน ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคปรับตัวดีขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบ 4 เดือน เนื่องจากอัตราการว่างงานลดลงเหลือเพียง 2.5% เท่านั้น
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่นอายุ 10 ปีลดลงต่ำกว่า 0.95% เนื่องจากนักลงทุนกำลังประเมินแนวโน้มของนโยบายทางการเงินของธนาคารกลางญี่ปุ่นใหม่ หลังจากมีการกล่าวเป็นนัยว่าจะยังไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเร็วๆนี้ นอกจากนี้ยังได้รับแรงสนับสนุนจากเจ้าหน้าที่ระดับสูงคนอื่นๆ นอกจากนี้เศรษฐกิจที่แข็งแกร่งของสหรัฐอาจทำให้นักลงทุนมองว่าผลตอบแทนของสหรัฐคุ้มค่ามากกว่า
ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (5H)
แนวต้านสำคัญ: 149.22, 149.43, 149.7
แนวรับสำคัญ: 148.73, 148.45, 148.25
ที่มา: Investing.com
Buy/Long 1: หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 148.45 - 148.73 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 148.73 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 149.43 และ SL ที่ประมาณ 148.25 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Buy/Long 2: หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 149.22 - 149.43 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 149.7 และ SL ที่ประมาณ 148.45 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 1: หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 149.22 - 149.43 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 149.22 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 148.45 และ SL ที่ประมาณ 149.7 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 2: หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 148.45 - 148.73 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 148.25 และ SL ที่ประมาณ 149.43 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
จุดกลับตัว 11 ตุลาคม 2567 19:58 น. GMT+7
ชื่อ
|
S3
|
S2
|
S1
|
จุดกลับตัว
|
R1
|
R2
|
R3
|
Classic | 148.25 | 148.45 | 148.73 | 148.94 | 149.22 | 149.43 | 149.7 |
Fibonacci | 148.45 | 148.64 | 148.75 | 148.94 | 149.13 | 149.24 | 149.43 |
Camarilla | 148.87 | 148.92 | 148.96 | 148.94 | 149.05 | 149.09 | 149.14 |
Woodie's | 148.27 | 148.46 | 148.75 | 148.95 | 149.24 | 149.44 | 149.72 |
DeMark's | - | - | 148.83 | 148.99 | 149.32 | - | - |