การจ้างงานในแคนาดาแสดงสัญญาณการเติบโตที่ดีขึ้น
ดอลลาร์แคนาดาอ่อนค่าลงมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนสิงหาคม โดยได้รับแรงกดดันจากดอลลาร์ที่แข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยนักลงทุนและนักวิเคราะห์ยังคงคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยช้ากว่าที่คาดไว้ เนื่องจากเศรษฐกิจของสหรัฐยังคงมีการเติบโตที่แข็งแกร่ง นอกจากนี้ยังได้รับแรงกดดันจากอัตราเงินเฟ้อที่สูงกว่าคาด ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความร้อนแรงของตลาดทั้งในภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจแม้ว่าอัตราดอกเบี้ยจะยังคงอยู่ในระดับสูงก็ตาม
สำหรับข้อมูลเศรษฐกิจในแคนาดาที่ยังคงแสดงให้เห็นถึงความสามารถในการปรับตัวของตลาดแรงงาน ก็ทำให้นักลงทุนได้ลดการคาดการณ์ว่าธนาคารกลางแคนาดาจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 50 bps ในเดือนนี้ หลังจากที่มีรายงานการจ้างงานที่แข็งแกร่งกว่าที่คาดไว้ อย่างไรก็ตาม ก็มีการคาดการณ์ว่ธนาคารกลางแคนาดาจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 25bps ในวันที่ 23 ตุลาคม ซึ่งสอดคล้องกับการประชุม 3 ครั้งที่ผ่าน
อัตราการว่างงานในแคนาดาลดลงเหลือ 6.5% ในเดือนกันยายน จาก 6.6% ในเดือนก่อนหน้า ซึ่ง ถือเป็นการลดลงครั้งแรกของอัตราการว่างงานนับตั้งแต่เดือนมกราคม นอกจากนี้ ยังช่วยบรรเทาความกังวลเกี่ยวกับตลาดแรงงานที่กำลังอ่อนตัวลง ซึ่งผู้กำหนดนโยบายของธนาคารกลางแคนาดาได้แสดงความกังวลอย่างมาก โดยจำนวนประชากรว่างงานลดลง 30,800 คนจากเดือนก่อนหน้าเหลือ 1,428,100 คน โดยเฉพาะอัตราการว่างงานในกลุ่มเยาวชนที่ลดลงมาเหลือเพียง 13.5%
ในขณะเดียวกัน เมื่อมาดูตัวเลขการจ้างงานพบว่าการจ้างงานในแคนาดาเพิ่มขึ้น 46,700 ตำแหน่ง ซึ่งถือเป็นระดับสูงสุดในรอบ 5 เดือน ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการจ้างงานให้เป็นพนักงานประจำ ในขณะที่การจ้างงานพาร์ทไทม์ลดลงกว่า 65,300 ตำแหน่ง อย่างไรก็ตาม การเติบโตของค่าจ้างยังคงไม่สูงมากนัก เนื่องจากบริษัทต่างๆ จำเป็นต้องลดค่าใช้จ่ายเพื่อเสริมสภาพคล่องทางการเงินภายในบริษัทและถือว่าเป็นการลดต้นทุนการผลิตในอีกทางหนึ่ง
แคนาดาขาดดุลการค้า 1.10 พันล้านดอลลาร์แคนาดาในเดือนสิงหาคม ถือเป็นการขาดดุล ครั้งที่ 6 ติดต่อกัน โดยได้รับแรงกดดันจากจากการส่งออกที่ลดลง 1.0% เหลือ 64.3 พันล้านดอลลาร์แคนาดา โดยการขนส่งผลิตภัณฑ์พลังงานลดลง 3.0% ซึ่งนำมาด้วยการส่งออกน้ำมันดิบที่ลดลง 4.1% ในขณะเดียวกัน การนำเข้าเพิ่มขึ้นเล็กน้อยที่ 0.3% เป็น 65.4 พันล้านดอลลาร์แคนาดา เนื่องจากการซื้อส่วนประกอบยานยนต์และการซื้อเครื่องจักรอื่นๆ ในอุตสาหกรรมการผลิตที่เพิ่มมากขึ้น
ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (5H)
แนวต้านสำคัญ: 1.3787, 1.3816, 1.3847
แนวรับสำคัญ: 1.3727, 1.3696, 1.3668
ที่มา: Investing.com
Buy/Long 1: หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 1.3696 - 1.3727 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 1.3727 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.3816 และ SL ที่ประมาณ 1.3668 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Buy/Long 2: หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 1.3787 - 1.3816 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.3847 และ SL ที่ประมาณ 1.3696 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 1: หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 1.3787 - 1.3816 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 1.3787 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.3696 และ SL ที่ประมาณ 1.3847 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 2: หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 1.3696 - 1.3727 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.3668 และ SL ที่ประมาณ 1.3816 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
จุดกลับตัว 12 ตุลาคม 2567 20:02 น. GMT+7
ชื่อ
|
S3
|
S2
|
S1
|
จุดกลับตัว
|
R1
|
R2
|
R3
|
Classic | 1.3668 | 1.3696 | 1.3727 | 1.3756 | 1.3787 | 1.3816 | 1.3847 |
Fibonacci | 1.3696 | 1.3719 | 1.3733 | 1.3756 | 1.3779 | 1.3793 | 1.3816 |
Camarilla | 1.3742 | 1.3748 | 1.3753 | 1.3756 | 1.3764 | 1.3769 | 1.3775 |
Woodie's | 1.367 | 1.3697 | 1.3729 | 1.3757 | 1.3789 | 1.3817 | 1.3849 |
DeMark's | - | - | 1.3712 | 1.3748 | 1.3772 | - | - |