บทวิเคราะห์ AUD/USD วันที่ 16 ตุลาคม 2567

Create at 2 months ago (Oct 16, 2024 11:52)

ธนาคารกลางออสเตรเลียจับตาเงินเฟ้อ ความเชื่อมั่นผู้บริโภคพุ่ง ดอลลาร์สหรัฐฯ แข็งค่าจากแนวโน้มลดดอกเบี้ย

ธนาคารกลางออสเตรเลีย (RBA) ยังคงไม่กังวลเกี่ยวกับอัตราเงินเฟ้อคาดการณ์ที่คาดว่าจะลดลงในระยะสั้น ผู้ช่วยผู้ว่าการธนาคารซาราห์ ฮันเตอร์เน้นย้ำว่าอัตราเงินเฟ้อคาดการณ์ของครัวเรือนส่วนใหญ่ได้มองข้ามการพุ่งสูงขึ้นของอัตราเงินเฟ้อเมื่อเร็วๆ นี้ ซึ่งขัดแย้งกับการคาดการณ์ก่อนหน้านี้ ขณะที่ RBA สังเกตเห็นความเชื่อมโยงที่อ่อนแอระหว่างค่าจ้างและอัตราเงินเฟ้อคาดการณ์ พร้อมกันกับการติดตามการเคลื่อนไหวดังกล่าวอย่างใกล้ชิด ท่ามกลางอัตราดอกเบี้ยที่คงที่ที่ 4.35% ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน RBA ยังคงมีเป้าหมายที่จะควบคุมอัตราเงินเฟ้อให้อยู่ในช่วงเป้าหมาย 2%-3% ขณะเดียวกันกับการสนับสนุนการจ้างงาน แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานจะยังคงสูงที่ 3.9% โดยตัวบ่งชี้ตลาดชี้ให้เห็นว่ามีโอกาสเพียง 40% ที่จะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนธันวาคม

ขณะเดียวกัน รายงานของ Foodbank Australia เน้นย้ำถึงความไม่มั่นคงด้านอาหารที่เพิ่มมากขึ้น โดยครัวเรือนในออสเตรเลียเกือบหนึ่งล้านครัวเรือนต้องเผชิญกับความยากลำบาก รวมถึงครอบครัวของผู้ปกครองเลี้ยงเดี่ยวมากกว่าสองในสาม ท่ามกลางวิกฤตค่าครองชีพทำให้หลายครัวเรือนต้องลดอาหารจำเป็นพื้นฐานลง เนื่องจากค่าใช้จ่ายด้านที่อยู่อาศัย พลังงาน และร้านขายของชำยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ในมุมมองเชิงบวก ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคชาวออสเตรเลียแตะระดับสูงสุดในรอบกว่า 2 ปีในเดือนตุลาคม ซึ่งได้รับแรงหนุนจากความเชื่อมั่นที่ว่าอัตราดอกเบี้ยจะไม่เพิ่มขึ้นและการปรับลดอัตราดอกเบี้ยระหว่างประเทศ โดยดัชนี Westpac-Melbourne Institute เพิ่มขึ้น 6.2% โดยได้รับแรงหนุนจากอัตราดอกเบี้ยในประเทศที่คงที่และตลาดแรงงานที่แข็งแกร่ง แม้ว่าความกังวลเกี่ยวกับที่อยู่อาศัยและเงินเฟ้อยังคงมีนัยสำคัญ โดย Westpac คาดการณ์ว่า RBA จะคงอัตราดอกเบี้ยไว้จนถึงสิ้นปีและผ่อนปรนจุดยืนในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า

ทางด้านดอลลาร์สหรัฐฯ แข็งค่าขึ้นในวันอังคาร โดยแตะระดับสูงสุดในรอบ 2 เดือน เนื่องจากนักลงทุนคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยอย่างค่อยเป็นค่อยไปในช่วง 18 เดือนข้างหน้า แม้ว่าดอลลาร์จะอ่อนค่าลงในช่วงเช้าของวัน เนื่องจากมีรายงานว่าอิสราเอลจะไม่มุ่งเป้าไปที่น้ำมันของอิหร่าน ทำให้ความกังวลเกี่ยวกับอุปทานและราคาน้ำมันลดลง แต่แนวโน้มขาขึ้นของดอลลาร์ยังคงได้รับการสนับสนุนจากความไม่แน่นอนทางภูมิรัฐศาสตร์และเศรษฐกิจที่ยังคงดำเนินอยู่ โดยเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ฟื้นตัวและอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นเล็กน้อยในเดือนกันยายนทำให้ความคาดหวังต่อการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของเฟดที่เข้มงวดลดลง โดยตลาดมีมุมมองสนับสนุนการปรับลดอัตราดอกเบี้ย 25 จุดในเดือนพฤศจิกายน และกำหนดราคาสำหรับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติมเล็กน้อยจนถึงปี 2025

อีกด้าน ธนาคารกลางสหรัฐฯ ในนิวยอร์กรายงานว่าชาวอเมริกันคาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะคงที่ที่ 3% ในปีหน้า แต่อาจจะสูงขึ้นเล็กน้อยในระยะยาวที่ 2.7% ใน ปี และ 2.9% ใน ปี รายงานยังระบุถึงความกังวลที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับการเข้าถึงสินเชื่อ โดยความน่าจะเป็นของการผิดนัดชำระหนี้เพิ่มขึ้นเป็น 14.2% ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2020 โดยครัวเรือนที่มีรายได้น้อยมีอัตราการผิดนัดชำระหนี้ที่คาดว่าจะสูงที่สุด แม้ในกลุ่มครัวเรือนที่มีรายได้สูงมีแนวโน้มที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเช่นกัน ท่ามกลางเจ้าหน้าที่เฟดที่กำลังพิจารณาอัตราการปรับลดอัตราดอกเบี้ย โดยผู้ว่าการเฟด คริสโตเฟอร์ วอลเลอร์ สนับสนุนให้ใช้ความระมัดระวังเนื่องจากข้อมูลการจ้างงานที่แข็งแกร่งในเดือนกันยายน และจอห์น วิลเลียมส์ ประธานเฟดนิวยอร์กยังคงมั่นใจว่าอัตราเงินเฟ้อกำลังอยู่บนเส้นทางที่จะสามารถบรรลุเป้าหมาย 2% ได้ โดยตั้งข้อสังเกตถึงอัตราเงินเฟ้อที่ยังคงทรงตัว ท่ามกลางรายงานที่ระบุถึงการลดลงของราคาคาดการณ์ที่อยู่อาศัย รวมถึงค่าเช่า ค่าน้ำมัน และค่ารักษาพยาบาลที่คาดว่าจะลดลงเล็กน้อย จึงคาดว่าจะส่งผลให้คู่สกุล AUD/USD มีแนวโน้มซื้อขายขึ้นลงในกรอบปัจจุบันไปจนถึงกรอบล่างได้ในช่วงนี้ ขณะที่การแข็งค่าของ AUD คาดว่าจะยังคงถูกจำกัดในระยะกลาง

ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (1H) CFD AUD/USD

แนวต้านสำคัญ : 0.6699, 0.6702, 0.6706

แนวรับสำคัญ : 0.6691, 0.6688 0.6684                           

1H Outlook           

วิเคราะห์ AUD/USD ที่มา: TradingView                                          

Buy/Long 1 หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 0.6683 - 0.6691 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 0.6691 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.6699 และ SL ที่ประมาณ 0.6679 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Buy/Long 2 หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 0.6699 - 0.6707 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.6725 และ SL ที่ประมาณ 0.6687 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้                 

Sell/Short 1 หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 0.6699 - 0.6707 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 0.6699 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.6688 และ SL ที่ประมาณ 0.6711 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Sell/Short 2 หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 0.6683 - 0.6691 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.6668 และ SL ที่ประมาณ 0.6703 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Pivot Points Oct 16, 2024 11:22AM GMT+7

Name
S3
S2
S1
Pivot Points
R1
R2
R3
Classic 0.6677 0.6684 0.6688 0.6695 0.6699 0.6706 0.671
Fibonacci 0.6684 0.6688 0.6691 0.6695 0.6699 0.6702 0.6706
Camarilla 0.6689 0.669 0.6691 0.6695 0.6694 0.6695 0.6696
Woodie's 0.6675 0.6683 0.6686 0.6694 0.6697 0.6705 0.6708
DeMark's - - 0.6692 0.6697 0.6703 - -

ที่มา: Investing 1Investing 2

______________________________
อัพเกรดความรู้เพิ่มเติม: คลิกที่นี่
รู้เท่าทันสถานการณ์โลกและบทวิเคราะห์เทคนิคขั้นสูงคลิกที่นี่
Tags:

TECHNICAL ANALYSIS

ARTICLES