บทวิเคราะห์ USD/JPY วันที่ 21 ตุลาคม 2567

Create at 1 month ago (Oct 21, 2024 11:18)

อัตราเงินเฟ้อของญี่ปุ่นชะลอตัว BOJ ติดตามการเติบโตของค่าจ้างและความเสี่ยงทางเศรษฐกิจ

อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานของญี่ปุ่นชะลอตัวลงในเดือนกันยายน เนื่องมาจากมาตรการอุดหนุนพลังงาน แต่หากไม่รวมเชื้อเพลิง อัตราเงินเฟ้อยังคงทรงตัว ซึ่งบ่งชี้ว่าแรงกดดันด้านราคาอาจส่งผลให้ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก โดยผลสำรวจของรอยเตอร์ระบุว่า อัตราเงินเฟ้อของโตเกียว ซึ่งเป็นตัวชี้วัดสำคัญในแนวโน้มระดับประเทศ คาดว่าน่าจะลดลงต่ำกว่าเป้าหมาย 2% ของ BOJ ในเดือนตุลาคม ขณะที่อัตราเงินเฟ้อภาคบริการที่อ่อนแอสร้างข้อสงสัยเกี่ยวกับมุมมองของ BOJ ที่คาดการณ์ว่าการเติบโตของค่าจ้างจะช่วยพยุงการบริโภคและรักษาอัตราเงินเฟ้อให้อยู่ที่ 2%

ทางด้านสหภาพแรงงานที่ใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่น Rengo ประกาศแผนที่จะผลักดันให้เกิดการขึ้นค่าจ้างอย่างน้อย 5% ในปี 2025 ท่ามกลางข้อกังขาถึงความเป็นไปได้ของเป้าหมายดังกล่าวจากนักเศรษฐศาสตร์ โดย BOJ จะติดตามการเจรจาค่าจ้างอย่างใกล้ชิด เนื่องจากการเติบโตของค่าจ้างที่ยั่งยืนมีความสำคัญต่อความพยายามในการปรับนโยบายการเงินให้เป็นปกติ โดยแม้จะยังคงมีความไม่แน่นอน แต่การเติบโตของค่าจ้างคาดว่าจะช่วยสนับสนุนเงินเฟ้อให้อยู่ที่ประมาณเป้าหมาย 2% แม้ว่าบริษัทขนาดเล็กอาจต้องเผชิญกับความลำบากในการตอบสนองความต้องการด้านค่าจ้าง

สำหรับการส่งออกของญี่ปุ่นลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 10 เดือนในเดือนกันยายน เนื่องจากอุปสงค์ที่อ่อนแอลงจากจีนและสหรัฐฯ เงินเยนที่แข็งค่าขึ้นหลังจากที่ BOJ ขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนกรกฎาคม ทำให้มูลค่าการส่งออกลดลงมากขึ้น โดย BOJ เผชิญกับความท้าทายเนื่องจากอุปสงค์ทั่วโลกอ่อนแอลง ซึ่งอาจส่งผลและสร้างความซับซ้อนมากขึ้นต่อแผนการเลิกใช้นโยบายการเงินที่ผ่อนปรนพิเศษในช่วงหลายปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม BOJ คาดว่าจะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ในการประชุมเดือนตุลาคมที่จะถึงนี้ ขณะที่คาดการณ์ว่าอัตราเงินเฟ้อจะอยู่ที่ประมาณ 2% จนถึงปี 2027

นอกจากนี้ คำสั่งซื้อเครื่องจักรพื้นฐาน ซึ่งเป็นตัวชี้วัดหลักในการใช้จ่ายด้านทุนในอนาคต ลดลงติดต่อกัน 2 เดือน โดยลดลง 1.9% ในเดือนสิงหาคม ซึ่งบ่งชี้ว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจญี่ปุ่นอาจหยุดชะงัก

ทางด้านรัฐบาลของนายกรัฐมนตรีชิเงรุ อิชิบะของญี่ปุ่นเตรียมเปิดตัวแพ็คเกจการใช้จ่ายสาธารณะชุดใหม่ ซึ่งสูงกว่า 13 ล้านล้านเยนของปีที่แล้ว (87,000 ล้านดอลลาร์) เป็นสัญญาณบ่งชี้ถึงการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับนโยบายทางการคลังก่อนหน้านี้ โดยการตัดสินใจครั้งนี้ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ เกิดขึ้นท่ามกลางค่าครองชีพที่สูงขึ้น ซึ่งอาจมีความจำเป็นต้องกู้ยืมเงินจำนวนมาก และอาจส่งผลให้หนี้สาธารณะของญี่ปุ่นซึ่งสูงอยู่แล้วสูงขึ้นไปอีก โดยคาดว่าจะมีขนาดมากกว่าเศรษฐกิจของประเทศถึงสองเท่า

ทั้งนี้ การเคลื่อนไหวดังกล่าวทำให้ญี่ปุ่นกลายเป็นประเทศส่วนน้อยในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว ซึ่งส่วนใหญ่ได้ลดการใช้จ่ายจากระดับวิกฤตก่อนหน้านี้ ในทางตรงกันข้าม ธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่น (BOJ) ได้เริ่มขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อรับมือกับภาวะเงินเฟ้อ ทำให้เกิดความกังวลว่าการกู้ยืมที่เพิ่มขึ้นอาจผลักดันให้ต้นทุนการจัดหาเงินทุนสูงขึ้น แม้ว่าผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่นอายุ 10 ปี (JGBs) จะยังคงต่ำกว่า 1% เนื่องจากคาดว่าจะมีการขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างค่อยเป็นค่อยไป แต่การออกพันธบัตรเพิ่มเติมอาจทำให้ความเชื่อมั่นในตลาดพันธบัตรลดลง โดยนักวิเคราะห์เตือนว่าการออกพันธบัตรใหม่มูลค่ากว่า 10 ล้านล้านเยนตามที่คาดไว้ อาจทำให้ตลาดพันธบัตรตึงเครียดมากขึ้น

ในขณะเดียวกัน BOJ กำลังเผชิญกับความท้าทายด้านนโยบายการเงิน ผู้ว่าการคาซูโอะ อูเอดะ ได้เน้นย้ำถึงความจำเป็นในการติดตามความเสี่ยงทางเศรษฐกิจทั่วโลก โดยเฉพาะความไม่แน่นอนในเศรษฐกิจของสหรัฐฯ และจีน ตลอดจนความผันผวนของตลาด โดยเซอิจิ อาดาจิ ผู้กำหนดนโยบายของ BOJ ได้ออกคำเตือนเมื่อไม่นานนี้ว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติมจะต้องอยู่ "ในระดับปานกลาง" เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบต่อเงินเฟ้อและการเติบโตของค่าจ้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากที่เงินเยนฟื้นตัวจากระดับต่ำสุดในรอบหลายทศวรรษและอาจลดต้นทุนการนำเข้าและบรรเทาแรงกดดันด้านเงินเฟ้อได้

อีกด้าน ตามรายงานของ UBS การปรับตัวขึ้นของค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเร็วๆ นี้ ซึ่งเกิดจากโอกาสที่โดนัลด์ ทรัมป์อาจชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีในปี 2024 นั้น อาจไม่ยั่งยืนในระยะกลาง แม้ว่าการที่ทรัมป์ได้รับชัยชนะจะส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์พุ่งขึ้นในระยะสั้น แต่ UBS แนะนำให้ขายสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นมากเกินออกไป เนื่องจากไม่เห็นว่าทรัมป์จะเป็นปัจจัยบวกที่ยั่งยืนสำหรับค่าเงิน ท่ามกลางการแข่งขันระหว่างทรัมป์และรองประธานาธิบดีกมลา แฮร์ริสที่ยังคงสูสี โดยผลสำรวจบางส่วนแสดงให้เห็นว่าทรัมป์นำหน้าเล็กน้อย

ในภาคส่วนที่อยู่อาศัย การก่อสร้างบ้านเดี่ยวของสหรัฐฯ พุ่งสูงสุดในรอบ เดือนในเดือนกันยายน แม้ว่าใบอนุญาตการก่อสร้างในอนาคตจะแสดงให้เห็นการเติบโตเพียงเล็กน้อย ท่ามกลางอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่อยู่อาศัยที่สูงที่ยังคงส่งผลกระทบต่อกิจกรรมตลาดที่อยู่อาศัย โดยนักเศรษฐศาสตร์คาดว่าภาคส่วนนี้จะยังคงฉุดการเติบโตทางเศรษฐกิจในไตรมาสที่สาม

ในขณะเดียวกัน งบประมาณขาดดุลของสหรัฐฯ สำหรับปีงบประมาณ 2024 อยู่ที่ 1.833 ล้านล้านดอลลาร์ ซึ่งสูงที่สุดนับตั้งแต่การระบาดใหญ่ โดยได้รับแรงหนุนจากการใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นสำหรับประกันสังคม การดูแลสุขภาพ และโครงการทางทหาร โดยการขาดดุลที่เพิ่มขึ้นดังกล่าวควบคู่ไปกับดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นของหนี้ของรัฐบาลกลาง อาจกลายเป็นจุดสำคัญในการเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งต่อไป ซึ่งข้อเสนอของทรัมป์คาดว่าจะเพิ่มหนี้สาธารณะมากกว่าแผนการดำเนินงานของแฮร์ริสอย่างมาก

ในข่าวการเงินอื่นๆ Barclays รายงานว่าผู้บริโภคในสหรัฐฯ ยังคงมีความยืดหยุ่น แม้ว่าจะพบสัญญาณบางอย่างที่บ่งชี้ถึงการใช้จ่ายที่อาจเติบโตช้าลง โดยเฉพาะในกลุ่มครัวเรือนที่มีรายได้น้อย ท่ามกลางการใช้จ่ายช่วงวันหยุดที่อาจเผยให้เห็นรูปแบบการใช้จ่ายที่แตกต่างกันมากขึ้นระหว่างกลุ่มรายได้ แต่ Barclays ยังคงมองในแง่ดีว่าการอ่อนตัวที่อาจเกิดขึ้น จะไม่นำไปสู่ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ นอกจากนี้ ข้อมูลเศรษฐกิจล่าสุดยังบ่งชี้ว่าการบริโภคในสหรัฐฯ ยังคงเป็นจุดแข็งที่สำคัญ และช่วยรักษามูลค่าดอลลาร์ที่สูงแม้ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยเมื่อไม่นานนี้ก็ตาม

ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (1HCFD USD/JPY

แนวต้านสำคัญ : 149.26, 149.31, 149.38

แนวรับสำคัญ : 149.12, 149.07, 149.00           

1H Outlook

วิเคราะห์ USD/JPY ที่มา: TradingView                                                           

Buy/Long 1 หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 149.00 – 149.12 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 149.12 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 149.29 และ SL ที่ประมาณ 148.94 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Buy/Long 2 หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 149.26 – 149.38 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 149.63 และ SL ที่ประมาณ 149.06 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้                 

Sell/Short 1 หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 149.26 – 149.38 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 149.26 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 149.10 และ SL ที่ประมาณ 149.44 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Sell/Short 2 หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 149.00 – 149.12 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 148.84 และ SL ที่ประมาณ 149.32 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Pivot Points Oct 21, 2024 10:30AM GMT+7

Name
S3
S2
S1
Pivot Points
R1
R2
R3
Classic 148.91 149 149.1 149.19 149.29 149.38 149.48
Fibonacci 149 149.07 149.12 149.19 149.26 149.31 149.38
Camarilla 149.16 149.18 149.19 149.19 149.23 149.24 149.26
Woodie's 148.93 149.01 149.12 149.2 149.31 149.39 149.5
DeMark's - - 149.06 149.17 149.25 - -

ที่มา: Investing 1Investing 2

______________________________
อัพเกรดความรู้เพิ่มเติม: คลิกที่นี่
รู้เท่าทันสถานการณ์โลกและบทวิเคราะห์เทคนิคขั้นสูงคลิกที่นี่
Tags:

TECHNICAL ANALYSIS

ARTICLES