บทวิเคราะห์ USD/EUR 24 ตุลาคม 2567

Create at 1 month ago (Oct 24, 2024 22:31)

ธนาคารกลางยุโรปตัดสินใจลดอัตราดอกเบี้ยลงในการประชุมครั้งล่าสุด 

ค่าเงินยูโรแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากมีข้อมูลบ่งชี้ว่าธนาคารกลางยุโรป (ECB) อาจปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงเพียง 25 bps ในเดือนธันวาคม แทนที่จะเป็น 50 bps นอกจากนี้ ข้อมูล PMI ในเดือนตุลาคมแสดงให้เห็นว่ากิจกรรมทางธุรกิจของภาคเอกชนยังคงอหดตัว แม้ว่าจะมีสัญญาณเชิงบวกจากเยอรมนีบ้างแล้วก็ตาม ในขณะเดียวกัน ข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่แข็งแกร่งได้ลดความคาดหวังต่อการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐของ ซึ่งส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้น


ธนาคารกลางยุโรปปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอีก 25 bps ในการประชุมครั้งล่าสุด ซึ่งเป็นไปตามที่นักลงทุนค่าการไว้และสอดคล้องกับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนกันยายนและมิถุนายน โดยการตัดสินใจปรับลดอัตราดอกเบี้ยในครั้งนี้มีสาเหตุมาจากการประเมินอัตราเงินเฟ้อว่าอาจชะลอตัวลงได้ตามที่คาด โดยในเดือนกันยายน อัตราเงินเฟ้อลดลงต่ำกว่าเป้าหมายของธนาคารกลางยุโรปที่ 2% เป็นครั้งแรกในรอบกว่า 3 ปี แม้ว่าจะมีการคาดการณ์ว่าอัตราเงินเฟ้อจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในระยะสั้น แต่ก็จะกลับลงมาสู่เป้าหมายที่ 2% ภายในปี 2025 ได้อย่างแน่นอน แม้ว่าการเติบโตของค่าจ้างแต่ยังคงอยู่ในระดับสูง แต่ก็แสดงให้เห็นถึงแนวโน้มที่ชะลอตัวลง


นอกจากนี้ ธนาคารกลางยุโรปยังให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่าการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนั้นจำเป็นต้องใช้ข้อมูลที่เหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบัน หากมีสัญญาณของการชะลอตัวของภาวะเงินเฟ้ออย่างรวดเร็วหรือสัญญาณการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่ยังคงหดตัวลงต่อเนื่อง อาจจำเป็นต้องมีการปรับอัตราดอกเบี้ยอย่างรวดเร็ว ในทางกลับกัน หากภาวะเงินเฟ้อยังคงชะลอตัวลงในอัตราที่คงที่หรือเศรษฐกิจมีแนวโน้มทรงตัวมากขึ้น ก็อาจทำให้การปรับลดอัตราดอกเบี้ยนั้นล่าช้าออกไปอีก


ดัชนี Composite PMI ของยูโรโซนแบบแฟลชของ HCOB เพิ่มขึ้นเป็น 49.7 ในเดือนตุลาคม ต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ที่ 49.8 เพียงเล็กน้อย อย่างไรก็ตามตัวเลขดังกล่าวยังคงชี้ให้เห็นถึงการหดตัวเล็กน้อยของกิจกรรมทางธุรกิจ โดยการเติบโตของภาคบริการลดลงเล็กน้อยที่ 51.2 จาก 51.4 ในขณะที่ การหดตัวของภาคการผลิตก็มีแนวโน้มที่ดีขึ้นที่ 45.9 จาก 45 โดยปัญหาส่วนใหญ่ในภาคการผลิตยังคงเกิดจากอุปสงค์ที่อ่อนแอลง ในขณะที่คำสั่งซื้อใหม่ลดลงเป็นเดือนที่ 5 ติดต่อกัน ซึ่งส่งผลให้บริษัทต่างๆ จำเป็นต้องลดการจ้างงานลงอีกครั้ง


ดุลการค้าของยูโรโซนพบว่าเกินดุลไปกว่า 4.6 พันล้านยูโรในเดือนสิงหาคม ถือเป็นดุลการค้าที่มีการเกินดุลต่ำสุดตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา เนื่องจากราคาพลังงานได้พุ่งสูงขึ้นจากผลกระทบจากการรุกรานยูเครนของรัสเซีย ส่งผลกระทบให้การนำเข้าพลังงานมีราคาเพิ่มมากขึ้น ในขณะเดียวกันการส่งออกยังคงมีแนวโน้มลดลงต่อเนื่อง โดยลดลงไปกว่า 2.4%  จากปีก่อนหน้า เหลือเพียง 212,100 ล้านยูโรในเดือนสิงหาคม ท่ามกลางการลดลงอย่างรวดเร็วของยอดขายสินค้าที่ผลิตในต่างประเทศ

ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (5H)

แนวต้านสำคัญ: 0.9266, 0.927, 0.9277

แนวรับสำคัญ: 0.9254, 0.9246, 0.9243

บทวิเคราะห์ USD/EUR วันนี้ที่มา: Investing.com

Buy/Long 1: หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 0.9246 - 0.9254 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 0.9254 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.927 และ SL ที่ประมาณ 0.9243 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Buy/Long 2: หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 0.9266 - 0.927 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.9277 และ SL ที่ประมาณ 0.9246 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Sell/Short 1: หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 0.9266 - 0.927 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 0.9266 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.9246 และ SL ที่ประมาณ 0.9277 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Sell/Short 2: หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 0.9246 - 0.9254 ได้อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.9243 และ SL ที่ประมาณ 0.927 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

จุดกลับตัว 24 ตุลาคม 2567 22:28 น. GMT+7

ชื่อ
S3
S2
S1
จุดกลับตัว
R1
R2
R3
Classic 0.9243 0.9246 0.9254 0.9258 0.9266 0.927 0.9277
Fibonacci 0.9246 0.9251 0.9254 0.9258 0.9262 0.9265 0.927
Camarilla 0.9258 0.9259 0.926 0.9258 0.9262 0.9263 0.9264
Woodie's 0.9243 0.9246 0.9254 0.9258 0.9266 0.927 0.9277
DeMark's - - 0.9256 0.9259 0.9267 - -
______________________________
อัพเกรดความรู้เพิ่มเติม: คลิกที่นี่
รู้เท่าทันสถานการณ์โลกและบทวิเคราะห์เทคนิคขั้นสูงคลิกที่นี่
Tags:

TECHNICAL ANALYSIS

ARTICLES