RBA เตรียมตรึงดอกเบี้ย 4.35% จนถึงปี 2024 ท่ามกลางเงินเฟ้อพื้นฐานสูง
ธนาคารกลางออสเตรเลีย (RBA) ตั้งเป้าตรึงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 4.35% จนถึงสิ้นปี 2023 ตามที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ไว้ในการสำรวจของรอยเตอร์ แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อราคาผู้บริโภคจะลดลงเหลือ 2.8% ในไตรมาสที่แล้ว ซึ่งส่งผลให้ยังอยู่ในกรอบเป้าหมาย 2-3% ของ RBA เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2021 ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน ซึ่งไม่รวมสินค้าที่มีความผันผวน เช่น เชื้อเพลิงและไฟฟ้า ยังคงสูงอยู่ที่ 3.5% โดยอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่คงความหนืดควบคู่ไปกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง ได้หนุนแนวทางที่ระมัดระวังของ RBA
ทางด้านตลาดงานของออสเตรเลียยังคงแข็งแกร่ง โดยอัตราการว่างงานทรงตัวระหว่าง 4.0% ถึง 4.2% ตั้งแต่เดือนเมษายน แนวโน้มการจ้างงานที่คงที่ทำให้ RBA ยังคงกลยุทธ์การขึ้นอัตราดอกเบี้ยไว้ที่จุดสูงสุดที่ต่ำกว่าธนาคารกลางอื่นๆ ทั่วโลก นักวิเคราะห์ตลาดเชื่อว่า เมื่อรวมกับความกังวลเกี่ยวกับอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่ยังคงดำเนินต่อไป ทำให้ RBA มีแนวโน้มที่จะยังไม่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยในระยะใกล้เมื่อเปรียบเทียบกับธนาคารกลางอื่นๆ โดยเฉพาะในประเทศพัฒนาแล้ว ขณะที่ธนาคารใหญ่ๆ เช่น ANZ, CBA, NAB และ Westpac ต่างคาดการณ์ว่าธนาคารกลางออสเตรเลียจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยในการประชุมครั้งแรกของปี 2025 โดยผู้ตอบแบบสำรวจ 70% คาดว่าจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 25 จุดเหลือ 4.10%
ทั้งนี้ นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ว่าอัตราดอกเบี้ยจะลดลงรวม 75 จุดในปี 2025 และจะอยู่ที่ 3.60% ขณะที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ คาดว่าจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงสูงสุด 225 จุด โดยความแตกต่างดังกล่าวบ่งชี้ว่าดอลลาร์ออสเตรเลียมีแนวโน้มที่จะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งอาจพลิกกลับจากการสูญเสีย 3.5% ในปีนี้ได้ภายในต้นปีหน้า
ในทางการเงิน RBA รายงานว่าพบการขาดดุลเป็นปีที่สี่ติดต่อกันเนื่องจากการเข้าแทรกแซงในช่วงการระบาดใหญ่ ส่งผลให้มูลค่าสินทรัพย์สุทธิติดลบสะสมอยู่ที่ 20.4 พันล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย ณ วันที่ 30 มิถุนายน ขณะที่การสูญเสีย 4.2 พันล้านดอลลาร์ออสเตรเลียในปี 2024 เกิดจากดอกเบี้ยต่ำที่ได้รับจากพอร์ตโฟลิโอพันธบัตรเมื่อเทียบกับการจ่ายเงินที่สูงขึ้นแก่ผู้ฝากเงินในธนาคารพาณิชย์ โดยแม้ว่ามูลค่าสินทรัพย์สุทธิติดลบจะไม่มีผลกระทบโดยตรงต่อนโยบายการเงินของ RBA แต่ผู้ว่าการ มิเชล บุลล็อคได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของการฟื้นฟูเงินทุนของธนาคารในช่วงเวลาหนึ่ง ท่ามกลางการสนับสนุนจากรัฐมนตรีคลังในการรักษาผลกำไรในอนาคตเพื่อสร้างเงินทุนดังกล่าวขึ้นมาใหม่
ทางด้านค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ อ่อนค่าลงเล็กน้อย ขณะที่ข้อมูลของสหรัฐฯ ชี้ถึงแรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่เริ่มผ่อนคลายลง โดยแนวโน้มดังกล่าวสนับสนุนการคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ จะลดอัตราดอกเบี้ยลง 25 จุดในการประชุมครั้งต่อไป ท่ามกลางข้อมูลเผยให้เห็นว่าการใช้จ่ายของผู้บริโภคในสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นเล็กน้อย แต่มากกว่าที่คาดไว้ในเดือนกันยายน ซึ่งสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งในไตรมาสที่ 4
ดัชนีการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ซึ่งเป็นตัวชี้วัดอัตราเงินเฟ้อที่เฟดให้ความสำคัญ แสดงให้เห็นว่ามีการเพิ่มขึ้นเล็กน้อย 0.2% เมื่อเทียบเป็นรายเดือนในเดือนกันยายน ซึ่งลดลงจากอัตรา 2.3% เมื่อเทียบเป็นรายปีในเดือนสิงหาคมเป็น 2.1% ในเดือนกันยายน ขณะที่ดัชนี PCE พื้นฐานซึ่งไม่รวมอาหารและพลังงานนั้นเพิ่มขึ้น 0.3% จากเดือนสิงหาคมถึงเดือนกันยายน และอยู่ที่ 2.7% เมื่อเทียบเป็นรายปี ซึ่งสูงกว่าเป้าหมาย 2% ของเฟดเพียงเล็กน้อย ส่งผลให้นักลงทุนมองว่ามีความเป็นไปได้สูง (94.7%) ที่จะมีการปรับลดอัตราเงินเฟ้ออีก 25 จุดในสัปดาห์หน้า
ขณะเดียวกัน จำนวนผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานลดลงเหลือ 216,000 ราย และการจ้างงานภาคเอกชนเพิ่มขึ้นอย่างน่าประหลาดใจ บ่งชี้ถึงตลาดแรงงานที่ยังคงความยืดหยุ่น ซึ่งนักวิเคราะห์มองว่าการที่ดอลลาร์แข็งค่าขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้เป็นผลมาจากข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่แข็งแกร่งและการคาดการณ์เกี่ยวกับการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ที่กำลังจะมาถึง โดยผลสำรวจชี้ให้เห็นถึงการแข่งขันที่สูสีระหว่างกมลา แฮร์ริส รองประธานาธิบดีจากพรรคเดโมแครต และโดนัลด์ ทรัมป์ ผู้สมัครจากพรรครีพับลิกัน
ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (1H) CFD AUD/USD
แนวต้านสำคัญ : 0.6582, 0.6585, 0.6589
แนวรับสำคัญ : 0.6572, 0.6569, 0.6565
1H Outlook
ที่มา: TradingView
Buy/Long 1 หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 0.6567 - 0.6572 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 0.6572 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.6583 และ SL ที่ประมาณ 0.6565 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Buy/Long 2 หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 0.6582 - 0.6587 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.6595 และ SL ที่ประมาณ 0.6570 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 1 หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 0.6582 - 0.6587 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 0.6582 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.6571 และ SL ที่ประมาณ 0.6589 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 2 หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 0.6567 - 0.6572 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.6558 และ SL ที่ประมาณ 0.6584 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Pivot Points Nov 1, 2024 09:48AM GMT+7
Name
|
S3
|
S2
|
S1
|
Pivot Points
|
R1
|
R2
|
R3
|
---|---|---|---|---|---|---|---|
Classic | 0.6558 | 0.6565 | 0.6571 | 0.6577 | 0.6583 | 0.6589 | 0.6595 |
Fibonacci | 0.6565 | 0.6569 | 0.6572 | 0.6577 | 0.6582 | 0.6585 | 0.6589 |
Camarilla | 0.6574 | 0.6575 | 0.6576 | 0.6577 | 0.6578 | 0.6579 | 0.658 |
Woodie's | 0.6558 | 0.6565 | 0.6571 | 0.6577 | 0.6583 | 0.6589 | 0.6595 |
DeMark's | - | - | 0.6574 | 0.6579 | 0.6586 | - | - |
ที่มา: Investing 1, Investing 2
อัพเกรดความรู้เพิ่มเติม: คลิ