ธนาคารกลางญี่ปุ่นอาจขึ้นดอกเบี้ยมกราคมนี้ ท่ามกลางความไม่แน่นอนทางการเมืองและเศรษฐกิจ
อดีตสมาชิกคณะกรรมการบริหาร BOJ มาโกโตะ ซากุไร คาดการณ์ว่าธนาคารกลางญี่ปุ่นอาจเริ่มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเร็วที่สุดในเดือนมกราคม โดยช่วงเวลาดังกล่าวอาจได้รับอิทธิพลจากปัจจัยทางการเมืองและตลาด ซากุไรคาดว่า BOJ จะค่อยๆ ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นจาก 0.25% ในปัจจุบัน และตั้งเป้าไว้ที่ 1.5% ถึง 2% จนถึงกำหนดครบวาระของผู้ว่าการ คาซูโอะ อุเอดะ ในเดือนเมษายน 2028 แม้ว่าค่าเงินเยนที่อ่อนค่าลงอย่างรวดเร็วอาจกระตุ้นให้มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วขึ้นในเดือนธันวาคม แต่ BOJ ยังคงแนวโน้มที่จะประเมินข้อมูลค่าจ้างและการบริโภคก่อนดำเนินการ
ขณะเดียวกัน การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในญี่ปุ่น รวมถึงการที่พรรคร่วมรัฐบาลที่เพิ่งสูญเสียเสียงข้างมากในรัฐสภา ทำให้แนวทางของ BOJ มีความไม่แน่นอนมากขึ้น ทาคาฮิเดะ คิอุจิ อดีตสมาชิกคณะกรรมการ BOJ แนะนำว่า BOJ อาจคงอัตราดอกเบี้ยไว้จนถึงต้นปีหน้า เว้นแต่จะมีแรงกดดันด้านสกุลเงินที่รุนแรง
ทางด้านนายยูอิจิโร ทามากิ หัวหน้าพรรคประชาธิปไตยเพื่อประชาชน (DPP) เรียกร้องให้ BOJ ชะลอการขึ้นอัตราดอกเบี้ยจนกว่าการเติบโตของค่าจ้างที่ยั่งยืนจะแซงหน้าอัตราเงินเฟ้อ โดยเน้นย้ำให้ติดตามการเจรจาค่าจ้างในปีหน้าและสนับสนุนนโยบายการเงินที่มั่นคงเพื่อป้องกันการสั่นคลอนของเงินเยน ซึ่งสอดคล้องกับคำแนะนำของ IMF ที่ให้ญี่ปุ่นจำกัดหนี้ใหม่และจัดสรรงบประมาณการใช้จ่ายภายในงบประมาณ ท่ามกลาง BOJ ที่กำลังเคลื่อนตัวไปสู่การปรับอัตราดอกเบี้ยให้เป็นปกติ โดยในบันทึกการประชุมของ BOJ ในเดือนกันยายนบ่งชี้ถึงฉันทามติเกี่ยวกับการขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างระมัดระวัง โดยมุ่งเป้าไปที่ความเสี่ยงระดับโลก
ท่ามกลางภาวะเงินเฟ้อที่สูงและการขาดแคลนแรงงาน รัฐบาลของนายกรัฐมนตรีชิเงรุ อิชิบะได้เสนอให้ขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 42% ภายในสิ้นทศวรรษนี้ ขณะที่ธุรกิจต่างๆ โดยเฉพาะบริษัทขนาดเล็ก จะต่อต้านการผลักดันดังกล่าว โดยรัฐบาลได้เสนอมาตรการทางการเงินที่สำคัญเพื่อช่วยเหลือครัวเรือนที่เผชิญกับต้นทุนที่สูงขึ้น
ทางด้านรัฐบาลได้ปรับลดคาดการณ์ GDP สำหรับปีงบประมาณปัจจุบันลงเหลือ 0.7% จาก 0.9% เมื่อไม่นานนี้ โดยอ้างถึงการส่งออกที่อ่อนแอและการบริโภคภายในประเทศที่ซบเซา โดยคาดการณ์การเติบโตในปีงบประมาณหน้าไว้ที่ 1.2% ซึ่งปัจจัยกดดัน ได้แก่ ราคาที่สูงขึ้นที่ส่งผลกระทบต่อการใช้จ่ายของครัวเรือน และการลดรายจ่ายด้านทุน โดยเฉพาะในภาคการผลิต ขณะที่แรงกดดันภายนอก เช่น อุปสงค์ทั่วโลกที่ลดลงและภัยธรรมชาติ ได้ส่งผลต่อประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจที่อ่อนแอลงเช่นกัน
ทั้งนี้ ภาคบริการและการผลิตแสดงสัญญาณการหดตัวในเดือนตุลาคม โดยดัชนี PMI ภาคบริการลดลงเหลือ 49.7 ซึ่งถือเป็นการหดตัวครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนมิถุนายน เนื่องจากยอดขายที่อ่อนแอและการขาดแคลนแรงงานที่ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่น ในทำนองเดียวกัน PMI ด้านการผลิตยังคงอยู่ในกรอบหดตัว จากอุปสงค์ในประเทศและทั่วโลกที่ซบเซา ต้นทุนแรงงานและวัตถุดิบที่สูงขึ้นทำให้เงินเฟ้อสูงขึ้น ขณะที่การปรับการคาดการณ์การเติบโตของ GDP ที่ลดลงของรัฐบาล เน้นย้ำถึงความตึงเครียดทางเศรษฐกิจ
ทางด้านดอลลาร์สหรัฐฯ แข็งค่าขึ้นในวันพุธ เนื่องจากผลการสำรวจความคิดเห็นก่อนการเลือกตั้งประธานาธิบดีที่สูสีชี้ให้เห็นว่าโดนัลด์ ทรัมป์จากพรรครีพับลิกันมีคะแนนนำ นักวิเคราะห์เชื่อว่านโยบายเกี่ยวกับการค้าและการย้ายถิ่นฐานของทรัมป์อาจผลักดันให้เงินเฟ้อเพิ่มขึ้นและหนุนค่าเงินดอลลาร์
อย่างไรก็ดี ข้อมูลภาคบริการของสหรัฐฯ ที่เผยแพร่เมื่อวันอังคาร บ่งชี้ถึงการเร่งตัวขึ้นอย่างไม่คาดคิดในเดือนตุลาคม โดยดัชนี PMI นอกภาคการผลิตของ ISM พุ่งขึ้นแตะ 56.0 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2022 ส่งสัญญาณถึงเศรษฐกิจที่มีความแข็งแกร่งขึ้นก่อนการเลือกตั้ง
ทั้งนี้ ในวันเลือกตั้ง ค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่าลงในช่วงแรกเนื่องจากชาวอเมริกันออกไปลงคะแนนเสียง โดยผลลัพธ์ของตลาดน่าจะส่งผลต่อทิศทางระยะสั้นของค่าเงิน นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่านโยบายของทรัมป์ เช่น การลดภาษี การยกเลิกกฎระเบียบ และภาษีศุลกากร จะช่วยกระตุ้นการเติบโต เพิ่มผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาว และหนุนค่าเงินดอลลาร์ อย่างไรก็ตาม ชัยชนะของพรรคเดโมแครตอาจทำให้ค่าเงินดอลลาร์ลดลงเนื่องจากผลกระทบทางเศรษฐกิจที่อาจเกิดขึ้นจากภาษีและกฎระเบียบที่เพิ่มขึ้น
ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (1H) CFD USD/JPY
แนวต้านสำคัญ : 154.15, 154.43, 154.90
แนวรับสำคัญ : 153.21, 152.93, 152.46
1H Outlook
ที่มา: TradingView
Buy/Long 1 หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 152.71 – 153.21 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 153.21 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 154.48 และ SL ที่ประมาณ 152.46 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Buy/Long 2 หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 154.15 – 154.65 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 155.70 และ SL ที่ประมาณ 152.96 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 1 หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 154.15 – 154.65 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 154.15 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 153.21 และ SL ที่ประมาณ 154.90 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 2 หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 152.71 – 153.21 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 152.04 และ SL ที่ประมาณ 154.40 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Pivot Points Nov 6, 2024 10:34AM GMT+7
Name
|
S3
|
S2
|
S1
|
Pivot Points
|
R1
|
R2
|
R3
|
---|---|---|---|---|---|---|---|
Classic | 152.04 | 152.46 | 153.26 | 153.68 | 154.48 | 154.9 | 155.7 |
Fibonacci | 152.46 | 152.93 | 153.21 | 153.68 | 154.15 | 154.43 | 154.9 |
Camarilla | 153.73 | 153.84 | 153.95 | 153.68 | 154.18 | 154.29 | 154.4 |
Woodie's | 152.24 | 152.56 | 153.46 | 153.78 | 154.68 | 155 | 155.9 |
DeMark's | - | - | 153.47 | 153.79 | 154.69 | - | - |
ที่มา: Investing 1, Investing 2
อัพเกรดความรู้เพิ่มเติม: คลิ