ดอลลาร์ออสเตรเลียเผชิญแรงกดดันจากจีนชะลอตัว การเติบโตของค่าจ้างที่ลดลง และการคงอัตราดอกเบี้ยของ RBA
ค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียกำลังเผชิญกับแรงกดดันอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสะท้อนถึงความกังวลที่กว้างขึ้นเกี่ยวกับเศรษฐกิจจีนที่ชะลอตัวและผลกระทบต่อออสเตรเลียเนื่องจากการค้าขายที่ใกล้ชิดระหว่างสองประเทศ ท่ามกลางการเติบโตของค่าแรงในออสเตรเลียที่ชะลอตัวในไตรมาสที่สามเนื่องจากแรงงานใหม่เข้าสู่ตลาดและเงินเฟ้อที่ลดลง ซึ่งอาจชี้ถึงความเป็นไปได้ในการผ่อนคลายนโยบายการเงินมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ธนาคารกลางออสเตรเลีย (RBA) คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 4.35% ในเดือนพฤศจิกายน บ่งชี้ว่าการปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่ยังไม่แน่นอนเนื่องจากแรงกดดันด้านเงินเฟ้อยังคงอยู่แม้จะลดลงในช่วงหลัง
โดยแม้ว่าดัชนีเงินเฟ้อทั่วไปจะกลับมาอยู่ในกรอบเป้าหมายของ RBA ที่ 2-3% อยู่ที่ 2.8% ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลจากมาตรการช่วยเหลือชั่วคราวของรัฐบาล แต่เงินเฟ้อพื้นฐานยังคงสูงที่ 3.5% ซึ่งแสดงให้เห็นว่าแรงกดดันด้านเงินเฟ้อยังคงฝังลึก โดย RBA คาดการณ์ว่าอาจต้องใช้เวลาจนถึงปี 2026 กว่าที่ระดับเงินเฟ้อเป้าหมายจะคงที่ ซึ่งบ่งบอกถึงความท้าทายในการควบคุมเงินเฟ้อในระยะยาว
แม้ว่าการเติบโตของ GDP ในออสเตรเลียจะอ่อนตัวลงและการใช้จ่ายของผู้บริโภคลดลง แต่ตลาดแรงงานยังคงแข็งแกร่งอย่างมาก โดยมีการจ้างงานที่เพิ่มขึ้นมากกว่าประเทศพัฒนาอื่นๆ ส่งผลให้ธนาคารกลางใช้ความระมัดระวังในการผ่อนคลายนโยบายก่อนเวลา เพราะอาจกระตุ้นเงินเฟ้อพื้นฐานให้กลับมาสูงขึ้นจากแรงกดดันด้านการจ้างงานและต้นทุนที่อยู่อาศัย
ทั้งนี้ นโยบายที่ระมัดระวังของออสเตรเลียแตกต่างอย่างชัดเจนกับแนวทางการลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางอื่นๆ โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกาและยุโรป ซึ่งเงินเฟ้อกำลังลดลง โดยการรักษาอัตราดอกเบี้ยในระดับสูงของ RBA จนกว่าเงินเฟ้อจะเสถียรสะท้อนถึงความสำคัญที่ RBA ให้กับเสถียรภาพด้านราคาในระยะยาว แม้ว่าจะต้องยอมสละการเติบโตในระยะสั้นก็ตาม
ในส่วนของผู้บริโภคและภาคธุรกิจ ความเชื่อมั่นเริ่มแสดงสัญญาณของความยืดหยุ่น โดยความเชื่อมั่นทางธุรกิจสูงขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบเกือบสองปีในเดือนตุลาคม ซึ่งได้รับแรงหนุนจากยอดขายที่คงที่และแรงกดดันด้านต้นทุนที่ลดลง ส่วนความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับเพิ่มขึ้นในเดือนพฤศจิกายนจากความเชื่อที่ว่าอัตราดอกเบี้ยอาจถึงจุดสูงสุดแล้ว อย่างไรก็ตาม ความเชื่อมั่นยังคงเปราะบางต่อปัจจัยภายนอก เช่น ผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ล่าสุด ซึ่งเพิ่มความไม่แน่นอนเกี่ยวกับนโยบายการค้าทั่วโลกที่อาจส่งผลกระทบต่อตลาดส่งออกหลักของออสเตรเลีย โดยเฉพาะจีน ท่ามกลางแนวโน้มการค้าของออสเตรเลียที่ยังคงหลากหลาย โดยในเดือนกันยายน พบเกินดุลการค้าของออสเตรเลียลดลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบสี่ปี เนื่องจากการส่งออกสินค้าโภคภัณฑ์หลัก เช่น โลหะและแร่ธาตุลดลงจากความต้องการที่อ่อนแอของจีน
ทางด้านค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ยังคงแข็งค่าใกล้ระดับสูงสุดล่าสุด โดยได้แรงหนุนจากความเชื่อมั่นของนักลงทุนในนโยบายเศรษฐกิจที่คาดว่าจะเกิดขึ้นภายใต้การบริหารของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ โดยตลาดกำลังคาดการณ์ถึงการลดภาษีและการเรียกเก็บภาษีศุลกากร ซึ่งคาดว่าจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจและก่อให้เกิดเงินเฟ้อ
ทั้งนี้ แนวโน้มดังกล่าวส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลปรับสูงขึ้น ท่ามกลางการคาดการณ์ของนักลงทุนที่คาดว่าเฟดอาจจะลดความรุนแรงในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติม ขณะที่พรรครีพับลิกันที่คาดว่าจะควบคุมสภาคองเกรสได้ ทรัมป์อาจดำเนินนโยบายกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจและลดภาษีได้ง่ายขึ้น ส่งผลให้คาดการณ์ถึงเงินเฟ้อที่สูงขึ้นเพิ่มขึ้น ส่งผลให้รายงาน CPI ในวันนี้มีความสำคัญ ซึ่งหากเงินเฟ้อพุ่งสูงขึ้น อาจส่งผลให้เฟดใช้แนวทางที่ระมัดระวังมากขึ้นในการลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนธันวาคม
ขณะเดียวกัน ผู้บริโภคชาวอเมริกันแสดงความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้น ตามการสำรวจของเฟดสาขานิวยอร์ก โดยคาดว่าเงินเฟ้อในระยะใกล้จะลดลง โดยคาดการณ์เงินเฟ้อในหนึ่งปีลดลงเหลือ 2.9% ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบสี่ปี ขณะที่การคาดการณ์เงินเฟ้อในระยะสามและห้าปีพบว่าลดลงเช่นกัน แสดงถึงความเชื่อมั่นในเสถียรภาพของราคาระยะยาว
นอกจากนี้ การสำรวจยังแสดงให้เห็นถึงความเชื่อมั่นที่เพิ่มขึ้นในตลาดแรงงาน โดยผู้บริโภคคาดว่าอัตราการว่างงานจะลดน้อยลง และความเสี่ยงต่อการสูญเสียงานอยู่ในระดับต่ำสุดตั้งแต่ต้นปี 2022 ซึ่งความมั่นคงในงานที่ปรับตัวดีขึ้นยังสะท้อนให้เห็นถึงความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้ที่ลดลงเล็กน้อย เนื่องจากครัวเรือนมีความมั่นใจมากขึ้นในการจัดการหนี้สินและการเข้าถึงเครดิต
อย่างไรก็ดี แนวโน้มดังกล่าวสะท้อนถึงภาพเศรษฐกิจที่หลากหลาย ท่ามกลางเงินเฟ้อที่ค่อยๆ ลดลง การจ้างงานที่ยังคงแข็งแกร่ง และเงื่อนไขสินเชื่อที่เริ่มมีเสถียรภาพ อย่างไรก็ตาม การใช้จ่ายทางการคลังที่อาจกระตุ้นเงินเฟ้อภายใต้การบริหารของทรัมป์ยังคงเป็นความไม่แน่นอนใหม่ ซึ่งอาจทำให้เฟดต้องพิจารณาถึงแนวทางการปรับอัตราดอกเบี้ยอย่างรอบคอบ จึงอาจส่งผลให้คู่สกุล AUD/USD มีแนวโน้มซื้อขายขึ้นลงในกรอบปัจจุบันไปจนถึงกรอบล่างได้อีกเล็กน้อยในช่วงนี้
ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (1H) CFD AUD/USD
แนวต้านสำคัญ : 0.6540, 0.6542, 0.6545
แนวรับสำคัญ : 0.6534, 0.6532, 0.6529
1H Outlook
ที่มา: TradingView
Buy/Long 1 หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 0.6526 - 0.6534 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 0.6534 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.6542 และ SL ที่ประมาณ 0.6522 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Buy/Long 2 หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 0.6540 - 0.6548 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.6557 และ SL ที่ประมาณ 0.6530 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 1 หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 0.6540 - 0.6548 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 0.6540 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.6534 และ SL ที่ประมาณ 0.6552 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 2 หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 0.6526 - 0.6534 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.6515 และ SL ที่ประมาณ 0.6544 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Pivot Points Nov 13, 2024 10:08AM GMT+7
Name
|
S3
|
S2
|
S1
|
Pivot Points
|
R1
|
R2
|
R3
|
---|---|---|---|---|---|---|---|
Classic | 0.6526 | 0.6529 | 0.6534 | 0.6537 | 0.6542 | 0.6545 | 0.6551 |
Fibonacci | 0.6529 | 0.6532 | 0.6534 | 0.6537 | 0.654 | 0.6542 | 0.6545 |
Camarilla | 0.6536 | 0.6537 | 0.6538 | 0.6537 | 0.6539 | 0.654 | 0.6541 |
Woodie's | 0.6526 | 0.6529 | 0.6534 | 0.6537 | 0.6542 | 0.6545 | 0.6551 |
DeMark's | - | - | 0.6535 | 0.6538 | 0.6543 | - | - |
ที่มา: Investing 1, Investing 2