RBA คงอัตราดอกเบี้ยท่ามกลางความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ
สำนักงานกำกับดูแลด้านการเงินของออสเตรเลีย (APRA) ตัดสินใจคงอัตราเผื่อความสามารถในการชำระหนี้ที่ 3% สำหรับการปล่อยสินเชื่อบ้าน เพื่อรับมือกับความเปราะบางทางเศรษฐกิจ เช่น หนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง ตลาดแรงงานที่ชะลอตัว และความท้าทายด้านค่าครองชีพ แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อจะเริ่มชะลอตัวและโอกาสการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจะลดลง แต่ความเสี่ยงจากหนี้เสียและการลดลงของรายได้ยังคงมีนัยสำคัญ ธนาคารยังคงต้องประเมินความสามารถของผู้กู้ในการชำระหนี้ที่อัตราดอกเบี้ยสูงกว่าปัจจุบัน 3% เพื่อรักษาเสถียรภาพทางการเงิน
ขณะเดียวกัน ธนาคารกลางออสเตรเลีย (RBA) คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 4.35% ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบกว่าทศวรรษ เพื่อควบคุมให้อัตราเงินเฟ้อลดลงอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าระดับเงินเฟ้อทั่วไปจะลดลงมาอยู่ในเป้าหมายที่ 2-3% ในไตรมาสที่ผ่านมา แต่เงินเฟ้อพื้นฐานยังคงสูงเกินระดับเป้าหมาย โดย RBA คาดว่าเงินเฟ้อจะยังสูงกว่ากรอบเป้าหมายจนถึงปี 2026 และยังไม่เห็นความจำเป็นเร่งด่วนที่จะปรับอัตราดอกเบี้ยในขณะนี้ ทั้งนี้ RBA ยังคงเน้นนโยบายที่มองไปข้างหน้า โดยพิจารณาข้อมูลด้านเงินเฟ้อ การเติบโตของสินเชื่อ และตลาดแรงงานเพื่อหลีกเลี่ยงการตัดสินใจที่เร็วหรือช้าเกินไป
ทางด้านค่าเงินดอลลาร์อ่อนตัวลงเล็กน้อยในวันจันทร์ หลังจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลลดลง โดยนักลงทุนมีมุมมองเชิงบวกเกี่ยวกับการเสนอชื่อ สก็อตต์ เบสแซนต์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของโดนัลด์ ทรัมป์ ท่ามกลางความเชื่อมั่นในแนวคิดอนุรักษ์นิยมทางการคลัง โดยค่าเงินดอลลาร์เริ่มเข้าสู่ช่วงทรงตัว หลังจากที่แข็งค่าต่อเนื่องเป็นเวลาแปดสัปดาห์
ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่สี่ในเดือนพฤศจิกายน โดยได้รับแรงหนุนจากความเชื่อมั่นหลังการเลือกตั้งของทรัมป์ นอกจากนี้ ดัชนี Composite PMI Output เพิ่มขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบ 31 เดือน สะท้อนถึงความเชื่อมั่นต่อนโยบายสนับสนุนภาคธุรกิจ อย่างไรก็ตาม การเติบโตทางเศรษฐกิจยังคงอยู่ในระดับปานกลาง โดย GDP ในไตรมาสที่สามขยายตัวในอัตรา 2.8% ต่อปี และคาดว่าในไตรมาสที่สี่จะเติบโตที่ 2.6%
อย่างไรก็ตาม รายงานดัชนี PCE ซึ่งเป็นตัวชี้วัดเงินเฟ้อที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ ให้ความสำคัญ จะเป็นปัจจัยสำคัญต่อการคาดการณ์นโยบายการเงิน โดยข้อมูลเงินเฟ้อที่ยังคงสูงอย่างต่อเนื่องทำให้เฟดยังคงระมัดระวังต่อการปรับลดอัตราดอกเบี้ย โดยตลาดมีความเห็นต่างกันถึงความเป็นไปได้ที่เฟดจะลดดอกเบี้ยในเดือนธันวาคม ท่ามกลางความไม่แน่นอนเกี่ยวกับแนวโน้มเงินเฟ้อภายใต้การบริหารของทรัมป์ จึงอาจส่งผลให้คู่สกุล AUD/USD มีแนวโน้มซื้อขายขึ้นลงในกรอบปัจจุบันไปจนถึงกรอบล่างได้อีกเล็กน้อยในช่วงนี้
ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (1D) CFD AUD/USD
แนวต้านสำคัญ : 0.6547, 0.6552, 0.6561
แนวรับสำคัญ : 0.6529, 0.6524, 0.6515
1D Outlook
ที่มา: TradingView
Buy/Long 1 หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 0.6499 - 0.6529 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 0.6529 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.6550 และ SL ที่ประมาณ 0.6484 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Buy/Long 2 หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 0.6547 - 0.6577 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.6597 และ SL ที่ประมาณ 0.6514 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 1 หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 0.6547 - 0.6577 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 0.6547 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.6527 และ SL ที่ประมาณ 0.6592 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 2 หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 0.6499 - 0.6529 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.6480 และ SL ที่ประมาณ 0.6562 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Pivot Points Nov 25, 2024 09:53AM GMT+7
Name
|
S3
|
S2
|
S1
|
Pivot Points
|
R1
|
R2
|
R3
|
---|---|---|---|---|---|---|---|
Classic | 0.6504 | 0.6515 | 0.6527 | 0.6538 | 0.655 | 0.6561 | 0.6573 |
Fibonacci | 0.6515 | 0.6524 | 0.6529 | 0.6538 | 0.6547 | 0.6552 | 0.6561 |
Camarilla | 0.6533 | 0.6535 | 0.6537 | 0.6538 | 0.6542 | 0.6544 | 0.6546 |
Woodie's | 0.6504 | 0.6515 | 0.6527 | 0.6538 | 0.655 | 0.6561 | 0.6573 |
DeMark's | - | - | 0.6532 | 0.6541 | 0.6556 | - | - |
ที่มา: Investing 1, Investing 2
อัพเกรดความรู้เพิ่มเติม: คลิ