ความเชื่อมั่นผู้บริโภคออสเตรเลียลดลงในเดือนธันวาคม ท่ามกลางความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ
ความเชื่อมั่นผู้บริโภคของออสเตรเลียในเดือนธันวาคมอ่อนแอลงท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจ แม้ว่าสภาพการเงินของครัวเรือนจะปรับตัวดีขึ้น โดยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของ Westpac-Melbourne Institute ลดลง 2% เหลือ 92.8 พลิกกลับจากที่พุ่งสูงขึ้นในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ซึ่งแม้ว่าอัตราดอกเบี้ยที่คงที่และการสนับสนุนทางการคลังจะเสริมสร้างความเชื่อมั่นในระบบการเงินในปัจจุบัน แต่ความคาดหวังทางเศรษฐกิจในอนาคตกลับย่ำแย่ลงอย่างรวดเร็ว ท่ามกลางดัชนีย่อยสำคัญสำหรับ 12 เดือนข้างหน้าที่ลดลง 9.6% และในระยะ 5 ปีที่ลดลง 7.9% สะท้อนถึงความกังวลเกี่ยวกับการเติบโตของ GDP ที่อ่อนแอ อุปสงค์ภาคเอกชนที่คงที่ และความไม่แน่นอนในระดับโลก
ในทางตรงกันข้าม มาตรวัดการเงินของครัวเรือนเมื่อเทียบกับปีที่แล้วปรับตัวดีขึ้น แตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่ต้นปี 2022 โดยความมั่งคั่งที่เพิ่มขึ้นและอัตราเงินเฟ้อที่ลดลงได้เริ่มบรรเทาผลกระทบจากราคาที่พุ่งสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม มุมมองเชิงลบยังคงมีอยู่ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ถือครองสินเชื่อที่อยู่อาศัย ท่ามกลางข้อกังวลเกี่ยวกับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในอนาคต โดยคาดว่าธนาคารกลางออสเตรเลีย (RBA) จะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับเดิมจนถึงเดือนพฤษภาคม
ด้านตลาดแรงงานของออสเตรเลียแสดงให้เห็นถึงความยืดหยุ่นในเดือนพฤศจิกายน โดยพบการจ้างงานเพิ่มขึ้น 35,600 ราย ทำให้อัตราการว่างงานลดลงเหลือ 3.9% อย่างไรก็ตาม ความแข็งแกร่งนี้ถือเป็นส่วนหนึ่งของแนวโน้มการกลับสู่ภาวะปกติมากกว่าการที่ตลาดแรงงานกลับมาตึงตัวขึ้นอีกครั้ง โดยอัตราการเข้าร่วมแรงงานลดลงเล็กน้อย ขณะที่มาตรวัดการใช้แรงงานที่ต่ำกว่าสัดส่วนยังคงอยู่ในระดับต่ำเป็นประวัติการณ์ ท่ามกลางการใช้ความระมัดระวังของธนาคารกลางออสเตรเลีย (RBA) ที่พยายามปรับสมดุลระหว่างความตึงตัวของตลาดแรงงานกับการเติบโตของค่าจ้างที่ซบเซา ซึ่งบ่งชี้ถึงความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อที่จำกัด
ทั้งนี้ สภาพเศรษฐกิจโดยรวมยังคงมีความหลากหลาย โดยกิจกรรมทางธุรกิจในเดือนพฤศจิกายนลดลงสู่ระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 2020 จากภาคค้าปลีกและการผลิตที่อ่อนแอ ขณะที่การใช้จ่ายของภาครัฐยังคงพยุงเศรษฐกิจ และช่วยป้องกันภาวะเศรษฐกิจถดถอยทางเทคนิคไว้ได้ ท่ามกลางรัฐบาลที่เผชิญกับการขาดดุลที่เพิ่มขึ้น จากการใช้จ่ายด้านสุขภาพและสวัสดิการที่ยังคงความจำเป็น
ด้านธนาคารกลางสหรัฐฯ ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 25 จุดเหลือ 4.25%-4.50% ซึ่งถือเป็นการปรับลดครั้งที่สามในปีนี้ อย่างไรก็ตาม ธนาคารกลางสหรัฐฯ ยังคงมีท่าทีระมัดระวัง โดยส่งสัญญาณว่าจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยช้าลงในอนาคต ปัจจุบัน ผู้กำหนดนโยบายคาดการณ์ว่าจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ย 2 ครั้งในปี 2025 เมื่อเทียบกับ 4 ครั้งที่คาดการณ์ไว้ในเดือนกันยายน โดยคาดว่าอัตราดอกเบี้ยจะลดลงเหลือ 3.9% ในปีหน้า และ 3.4% ในปี 2026 ซึ่งประมาณการอัตราดอกเบี้ยระยะยาวที่เป็นกลางถูกปรับขึ้นเล็กน้อยเป็น 3.0%
ทั้งนี้ การตัดสินใจของเฟดเกิดขึ้นท่ามกลางความท้าทายทางเศรษฐกิจในวงกว้าง รวมถึงเงินเฟ้อที่เหนียวหนืดและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายภายใต้การบริหารชุดใหม่ โดยท่าทีที่ระมัดระวังของเฟดทำให้ตลาดสั่นคลอน และทำให้ดอลลาร์สหรัฐฯ แข็งค่าขึ้น รวมถึงส่งผลให้ผลตอบแทนของพันธบัตรอายุ 10 ปีสูงขึ้น โดยนักวิเคราะห์ตีความแนวทางดังกล่าวว่าเป็นสัญญาณของการพักการปรับอัตราดอกเบี้ยในช่วงต้นปี 2025
ด้านประมาณการการเติบโตทางเศรษฐกิจได้รับการแก้ไขให้สูงขึ้น โดยสะท้อนถึงการเติบโตของ GDP ที่แข็งแกร่งขึ้นที่ 2.1% ในปี 2025 ขณะที่อัตราเงินเฟ้อยังคงเป็นปัญหาที่น่ากังวล โดยคาดว่าอัตราเงินเฟ้อของการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคลพื้นฐานจะอยู่ที่ 2.5% ในปี 2025 ทำให้ความคาดหวังในการบรรลุเสถียรภาพด้านราคาล่าช้าออกไป
ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ เจอโรม พาวเวลล์ เน้นย้ำถึงการเติบโตทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งกว่าที่คาดในช่วงปลายปี 2024 โดยความยืดหยุ่นในตลาดแรงงาน และความไม่แน่นอนของอัตราเงินเฟ้อ เป็นเหตุผลสำหรับการดำเนินนโยบายที่ระมัดระวังมากขึ้น ปัจจุบันคาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะถึงเป้าหมาย 2% ของเฟดภายในปี 2027 ซึ่งช้ากว่าที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ ขณะที่ตลาดแรงงานยังคงแข็งแกร่ง โดยอัตราการว่างงานคาดว่าจะทรงตัวอยู่ที่ประมาณ 4.3% จนถึงปี 2027 จึงอาจส่งผลให้คู่สกุล AUD/USD มีแนวโน้มซื้อขายขึ้นลงในกรอบปัจจุบันไปจนถึงกรอบบนได้มากขึ้นในช่วงนี้
ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (30Min) CFD AUD/USD
แนวต้านสำคัญ : 0.6233, 0.6235, 0.6238
แนวรับสำคัญ : 0.6225, 0.6220, 0.6223
30Min Outlook
ที่มา: TradingView
Buy/Long 1 หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 0.6217 - 0.6225 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 0.6225 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.6235 และ SL ที่ประมาณ 0.6213 รือตามความเสี่ยงที่รับได้
Buy/Long 2 หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 0.6233 - 0.6241 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.6244 และ SL ที่ประมาณ 0.6221 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 1 หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 0.6233 - 0.6241 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 0.6233 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.6225 และ SL ที่ประมาณ 0.6245 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 2 หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 0.6217 - 0.6225 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.6212 และ SL ที่ประมาณ 0.6237 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Pivot Points Dec 19, 2024 10:05AM GMT+7
Name
|
S3
|
S2
|
S1
|
Pivot Points
|
R1
|
R2
|
R3
|
---|---|---|---|---|---|---|---|
Classic | 0.6216 | 0.622 | 0.6225 | 0.6229 | 0.6235 | 0.6238 | 0.6244 |
Fibonacci | 0.622 | 0.6223 | 0.6225 | 0.6229 | 0.6233 | 0.6235 | 0.6238 |
Camarilla | 0.6229 | 0.623 | 0.6231 | 0.6229 | 0.6232 | 0.6233 | 0.6234 |
Woodie's | 0.6218 | 0.6221 | 0.6227 | 0.623 | 0.6237 | 0.6239 | 0.6246 |
DeMark's | - | - | 0.6227 | 0.623 | 0.6237 | - | - |
ที่มา: Investing 1, Investing 2
อัพเกรดความรู้เพิ่มเติม: คลิ