ธนาคารกลางอังกฤษคงดอกเบี้ย 4.75% ท่ามกลางเงินเฟ้อและเศรษฐกิจชะลอตัว
ธนาคารแห่งประเทศอังกฤษ (BoE) คงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 4.75% ในวันพฤหัสบดี โดยเน้นย้ำถึงความระมัดระวังและความรอบคอบในการผ่อนคลายนโยบายการเงิน ท่ามกลางสภาพเศรษฐกิจที่ซับซ้อนซึ่งเผชิญทั้งแรงกดดันด้านเงินเฟ้อและการชะลอตัวของการเติบโต การตัดสินใจครั้งนี้ไม่ได้เป็นเอกฉันท์ โดยคณะกรรมการนโยบายการเงิน (MPC) มีมติแตกเป็น 6 ต่อ 3 เสียง ซึ่งแสดงถึงความกังวลที่เพิ่มขึ้นในหมู่ผู้กำหนดนโยบาย โดยรองผู้ว่าการ Dave Ramsden และสมาชิกอีกสองคนสนับสนุนการปรับลดดอกเบี้ย 0.25% ซึ่งสะท้อนถึงความท้าทายในการสร้างสมดุลระหว่างการควบคุมเงินเฟ้อและการสนับสนุนเศรษฐกิจที่ซบเซา
อัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นเป็น 2.6% ในเดือนพฤศจิกายน ยังคงเป็นปัญหาสำคัญ โดยได้รับแรงหนุนจากการเติบโตของค่าจ้างที่แข็งแกร่งเกินคาดและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากงบประมาณฤดูใบไม้ร่วง ทำให้อัตราเงินเฟ้อสูงกว่าที่ BoE ตั้งเป้าหมายไว้ที่ 2% และมีการคาดการณ์ว่าเงินเฟ้อจะกลับสู่เป้าหมายได้ในช่วงต้นปี 2027 ซึ่งช้ากว่าที่คาดไว้ก่อนหน้าอย่างมาก แม้อัตราเงินเฟ้อในภาคบริการ ซึ่งเป็นตัวชี้วัดสำคัญของเงินเฟ้อพื้นฐาน จะคงที่ที่ 5% แต่การเพิ่มขึ้นของราคาโดยรวม โดยเฉพาะในภาคขนส่งและการผลิต บ่งชี้ถึงความท้าทายด้านต้นทุนที่ยังคงอยู่ ซึ่งสถานการณ์นี้ทำให้ BoE ต้องเผชิญกับทางเลือกที่ยากลำบากในการควบคุมเงินเฟ้อโดยไม่ทำให้เศรษฐกิจที่อ่อนแออยู่แล้วแย่ลง ขณะที่ GDP ได้หดตัวติดต่อกันสองเดือน และคาดว่าในปี 2024 การเติบโตจะอยู่ในระดับต่ำเพียง 1.1%
ทั้งนี้ เศรษฐกิจโลกมีความซับซ้อนเพิ่มขึ้นจากความแตกต่างในนโยบายการเงินทั่วโลก หลังจากที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ เพิ่งปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.25% พร้อมส่งสัญญาณถึงความระมัดระวังในการผ่อนคลายในปี 2025 ซึ่งแตกต่างจากจุดยืนของ BoE อย่างสิ้นเชิง โดยความแตกต่างนี้สร้างความไม่แน่นอนในตลาด ท่ามกลางผลตอบแทนพันธบัตรของสหราชอาณาจักรที่พุ่งสูงขึ้นหลังการประกาศของเฟด ก่อนจะทรงตัวเมื่อนักลงทุนปรับเปลี่ยนความคาดหวังต่อนโยบายของ BoE ปัจจุบัน โดยตลาดคาดว่า BoE จะปรับลดดอกเบี้ยเพียงเล็กน้อยในปี 2025 และมีความเป็นไปได้ต่ำที่จะมีการลดดอกเบี้ยในเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งโดยรวมอาจมีการลดอัตราเพียงสองครั้งภายในสิ้นปี
อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจสหราชอาณาจักรเผชิญความท้าทายเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อธุรกิจรายงานการลดจำนวนพนักงานและความเชื่อมั่นที่ลดลงอย่างรุนแรงที่สุดนับตั้งแต่ช่วงการระบาดใหญ่ ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการขึ้นภาษีในงบประมาณของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง Rachel Reeves เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม โดยผลสำรวจ เช่น S&P Global Flash Composite PMI และรายงานรายไตรมาสของ MakeUK ชี้ให้เห็นถึงการปรับโครงสร้างองค์กร การลดชั่วโมงทำงาน และการไม่จ้างพนักงานทดแทน โดยการจ้างงานที่ลดลงครั้งนี้อยู่ในระดับเดียวกับช่วงวิกฤตการเงินปี 2009 สะท้อนให้เห็นถึงเศรษฐกิจที่ต้องรับมือกับต้นทุนที่สูงขึ้นและการเติบโตที่ถูกจำกัด
ในขณะเดียวกัน ด้านภาคการผลิตยังคงถดถอย โดยผลผลิตลดลงสู่ระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2020 ตามรายงานของ Confederation of British Industry (CBI) ขณะที่ความเชื่อมั่นภายในประเทศลดลงอย่างมากเนื่องจากต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจากงบประมาณ ส่งผลให้เกิดการยกเลิกโครงการและคำสั่งซื้อในวงกว้าง บริษัทยังคาดการณ์ผลผลิตในอนาคตที่อ่อนแอลง ซึ่งเพิ่มความกังวลเกี่ยวกับความยืดหยุ่นของเศรษฐกิจอังกฤษ
ด้านดอลลาร์สหรัฐฯ ยังคงแข็งค่าใกล้ระดับสูงสุดในรอบสองปี หลังจากธนาคารกลางสหรัฐฯ ปรับลดอัตราดอกเบี้ยล่าสุด พร้อมส่งสัญญาณถึงแนวทางการผ่อนคลายนโยบายการเงินที่ระมัดระวังในปี 2025 สะท้อนถึงความกังวลเกี่ยวกับเงินเฟ้อ ท่ามกลางการคาดการณ์ถึงการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเหลือเพียงสองครั้งในปีหน้า ลดลงจากการคาดการณ์ก่อนหน้าที่สี่ครั้ง
ทั้งนี้ การปรับลดอัตราดอกเบี้ยของเฟดอยู่ที่ช่วง 4.25%-4.50% สอดคล้องกับรอบการคุมเข้มทางการเงินเพื่อลดแรงกดดันจากเงินเฟ้อ โดยเฟดคาดการณ์ว่าปี 2025 จะมีการลดอัตราดอกเบี้ยเพียง 50 จุดฐาน และมีการปรับเป้าหมายนโยบายระยะยาวให้สูงขึ้น นักวิเคราะห์จาก Macquarie คาดว่ารอบการลดอัตราดอกเบี้ยอาจสิ้นสุดในช่วงเดือนมีนาคมหรือพฤษภาคม และจะทรงตัวที่ช่วง 4.0%-4.25%
เศรษฐกิจสหรัฐแสดงความยืดหยุ่นอย่างชัดเจน โดย GDP ในไตรมาส 3 ถูกปรับเพิ่มเป็น 3.3% แบบปีต่อปี ซึ่งได้รับแรงหนุนจากการใช้จ่ายของผู้บริโภคที่แข็งแกร่งและการเติบโตของการส่งออกที่เพิ่มขึ้น โดยการใช้จ่ายของผู้บริโภคซึ่งเป็นแรงขับเคลื่อนหลักของเศรษฐกิจ เติบโตในอัตราที่น่าประหลาดใจถึง 3.7% สะท้อนถึงความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจแม้จะมีความไม่แน่นอนในระดับโลก ท่ามกลางตลาดแรงงานที่แสดงความยืดหยุ่นเ โดยพบการยื่นขอรับสวัสดิการว่างงานลดลงเกินความคาดหมาย บ่งชี้ถึงการชะลอตัวที่เกิดขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป ขณะที่ Jerome Powell ประธานเฟดแสดงความมั่นใจ โดยเน้นว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังคงแข็งแกร่งและสามารถหลีกเลี่ยงภาวะถดถอยได้สำเร็จ
ด้านตลาดที่อยู่อาศัยและยานยนต์ส่งสัญญาณที่หลากหลาย โดยอัตราดอกเบี้ยจำนองปรับตัวสูงขึ้นหลังจากลดลงต่อเนื่องสามสัปดาห์ สะท้อนถึงท่าทีระมัดระวังของเฟด อย่างไรก็ตาม ยอดขายบ้านพุ่งขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบแปดเดือนในเดือนพฤศจิกายน ขณะที่ยอดขายรถยนต์ในเดือนธันวาคมคาดว่าจะเพิ่มขึ้นจากส่วนลดที่มากขึ้น จึงอาจส่งผลให้คู่สกุล GBP/USD คาดว่าจะมีแนวโน้มซื้อขายขึ้นลงในกรอบปัจจุบันไปจนถึงกรอบบนได้มากขึ้นอีกเล็กน้อยในช่วงนี้
ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (15Min) CFD GBP/USD
แนวต้านสำคัญ : 1.2484, 1.2485, 1.2488
แนวรับสำคัญ : 1.2480, 1.2479, 1.2476
15Min Outlook
ที่มา: TradingView
Buy/Long 1 หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 1.2474 - 1.2480 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 1.2480 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.2484 และ SL ที่ประมาณ 1.2471 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Buy/Long 2 หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 1.2484 - 1.2490 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.2497 และ SL ที่ประมาณ 1.2477 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 1 หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 1.2484 - 1.2490 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้าน 1.2484 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.2478 และ SL ที่ประมาณ 1.2493 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 2 หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 1.2474 - 1.2480 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.2470 และ SL ที่ประมาณ 1.2487 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Pivot Points Dec 20, 2024 10:57AM GMT+7
Name
|
S3
|
S2
|
S1
|
Pivot Points
|
R1
|
R2
|
R3
|
---|---|---|---|---|---|---|---|
Classic | 1.2473 | 1.2476 | 1.2478 | 1.2482 | 1.2484 | 1.2488 | 1.249 |
Fibonacci | 1.2476 | 1.2479 | 1.248 | 1.2482 | 1.2484 | 1.2485 | 1.2488 |
Camarilla | 1.2479 | 1.2479 | 1.248 | 1.2482 | 1.2481 | 1.2482 | 1.2482 |
Woodie's | 1.2473 | 1.2476 | 1.2478 | 1.2482 | 1.2484 | 1.2488 | 1.249 |
DeMark's | - | - | 1.2477 | 1.2482 | 1.2483 | - | - |
ที่มา: Investing 1, Investing 2
อัพเกรดความรู้เพิ่มเติม: คลิ