ยูโรโซนเผชิญเศรษฐกิจเปราะบาง ECB จับตาลดดอกเบี้ยท่ามกลางความตึงเครียดทางการเมือง
แนวโน้มเศรษฐกิจยูโรโซนยังคงเปราะบาง ส่งผลให้ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ดำเนินนโยบายผ่อนคลายทางการเงินอย่างระมัดระวัง โดย ECB ปรับลดอัตราดอกเบี้ยมาแล้ว 4 ครั้งในปีนี้ เหลือ 3% เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อเข้าใกล้เป้าหมาย 2% สำหรับปี 2025
คริสติน ลาการ์ด ประธาน ECB เน้นย้ำถึงความจำเป็นในการติดตามข้อมูลอย่างใกล้ชิด พร้อมส่งสัญญาณลดดอกเบี้ยเพิ่มเติมหากเงินเฟ้อมีเสถียรภาพ อย่างไรก็ตาม ผู้กำหนดนโยบายยังมีความเห็นต่างเกี่ยวกับความเร็วและขอบเขตของการปรับลด โดย นักเศรษฐศาสตร์สนับสนุนการปรับลดแบบค่อยเป็นค่อยไปเพื่อหลีกเลี่ยงความปั่นป่วนในตลาด ขณะที่การลดดอกเบี้ยแบบรุนแรงจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อเงินเฟ้ออยู่ต่ำกว่าเป้าหมายอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีแนวโน้มดังกล่าว โดยตลาดคาดการณ์ว่า ECB จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยรวมประมาณ 115 จุดพื้นฐานภายในกลางปี 2025 แต่ผู้กำหนดนโยบายเตือนว่าการคาดการณ์อาจเปลี่ยนแปลงหากภาวะเศรษฐกิจแย่ลง
ในขณะเดียวกัน ยุโรปกำลังเผชิญกับความไม่แน่นอนทั้งทางเศรษฐกิจและการเมือง รัฐบาลใหม่ของฝรั่งเศส นำโดยนายกรัฐมนตรีฟรองซัวส์ บาโยรู ต้องเผชิญกับความท้าทายด้านงบประมาณและการขาดดุลที่คาดว่าจะสูงกว่า 6% ของ GDP ท่ามกลางคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ที่จำต้องผลักดันงบประมาณปี 2025 ภายใต้แรงกดดันจากการลงมติไม่ไว้วางใจ ขณะที่ประธานาธิบดีเอ็มมานูเอล มาครง หวังรักษาเสถียรภาพทางการเมืองก่อนการเลือกตั้ง
ทั้งนี้ แนวโน้มเศรษฐกิจยูโรโซนโดยรวมยังคงเปราะบาง อัตราผลตอบแทนพันธบัตรในประเทศรอบนอก เช่น อิตาลี เพิ่มขึ้น สะท้อนความกังวลของนักลงทุนเกี่ยวกับแนวโน้มการเติบโตที่ไม่สม่ำเสมอ ขณะเดียวกัน ผู้กำหนดนโยบายกังวลถึงความเสี่ยงภายนอก รวมถึงภาษีนำเข้าที่อาจถูกเรียกเก็บภายใต้รัฐบาลของโดนัลด์ ทรัมป์ ซึ่งอาจสร้างแรงกดดันเงินเฟ้อและบั่นทอนการเติบโตในระยะยาว
นอกจากนี้ ECB กำลังเผชิญกับภารกิจที่ยากลำบากในการปรับลดดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจโดยไม่ทำให้เงินเฟ้อพุ่งสูงเกินไป ประเด็นเกี่ยวกับ 'อัตราดอกเบี้ยที่เป็นกลาง' ซึ่งคาดว่าจะอยู่ระหว่าง 1.5%-3% สะท้อนความไม่แน่นอนว่าดอกเบี้ยควรลดลงมากเพียงใดเพื่อรักษาเสถียรภาพตลาด โดยผู้กำหนดนโยบายเน้นย้ำถึงความจำเป็นในการมีความยืดหยุ่นและเตรียมพร้อมปรับเปลี่ยนทิศทางตามข้อมูลเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลง
ด้านเยอรมนี ซึ่งเป็นเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในยูโรโซน ยังคงประสบปัญหาเศรษฐกิจซบเซา เพิ่มความกังวลเกี่ยวกับการเติบโตโดยรวมของเขตเศรษฐกิจ โดยคาดว่าจะหดตัว 0.2% ในปี 2024 ซึ่งเป็นการหดตัวติดต่อกันเป็นปีที่สอง ต้นทุนพลังงานและอาหารที่สูง รวมถึงความไม่มั่นคงในตลาดแรงงาน กดดันความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ยังอยู่ในระดับลบ แม้จะดีขึ้นเล็กน้อยในเดือนมกราคม ท่ามกลางอัตราผลตอบแทนพันธบัตรเยอรมันที่พุ่งสูงขึ้น สะท้อนความไม่แน่นอนของตลาดเกี่ยวกับแนวโน้มการลดดอกเบี้ย สอดคล้องกับแนวโน้มโลกหลังจากธนาคารกลางสหรัฐฯ ปรับลดคาดการณ์การลดดอกเบี้ยในปี 2025
ในขณะเดียวกัน การปฏิรูปการคลังกลายเป็นศูนย์กลางในการแก้ไขผลกระทบของเงินเฟ้อ โดยเยอรมนีผ่านมาตรการลดภาษีเพื่อลดภาระครัวเรือน แม้ว่าจะส่งผลให้รายได้ต่อปีลดลงถึง 14 พันล้านยูโร ซึ่งมาตรการดังกล่าวเน้นย้ำถึงความขัดแย้งทางการเมือง หลังจากรัฐบาลผสมของนายกรัฐมนตรีโอลาฟ โชลซ์ล่มสลาย ทำให้เยอรมนีต้องเผชิญกับการเลือกตั้งใหม่ในเดือนกุมภาพันธ์
นอกจากนี้ เยอรมนียังต้องรับมือกับราคาผลิตและราคานำเข้าที่เพิ่มขึ้น ซึ่งสวนทางกับการคาดการณ์ว่าจะลดลง บ่งชี้ถึงแรงกดดันเงินเฟ้ออย่างต่อเนื่องท่ามกลางอุปสงค์ที่อ่อนแอ แม้ว่ารายได้จากภาษีจะเพิ่มขึ้น 9% เมื่อเทียบรายปีในเดือนพฤศจิกายนจากมาตรการก่อนหน้า แต่ตัวชี้วัดชี้ถึงความตึงเครียดในตลาดแรงงานและความเชื่อมั่นทางธุรกิจที่ลดลง
ในสหรัฐฯ ดอลลาร์ยังคงแข็งค่าท่ามกลางการซื้อขายช่วงวันหยุดที่เบาบาง จากการคาดการณ์ว่าเฟดจะลดดอกเบี้ยอย่างค่อยเป็นค่อยไปเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ โดยตลาดกำหนดราคาสำหรับการลดดอกเบี้ยเพียง 35 จุดพื้นฐานในปี 2025 หลังจาก เฟดส่งสัญญาณเชิงเข้มงวดในแนวทางการลดดอกเบี้ย โดยคาดการณ์ว่าจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ย 25 จุดพื้นฐานเพียง 2 ครั้ง ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น โดยพันธบัตรอายุ 10 ปีแตะระดับสูงสุดในรอบ 7 เดือน ช่วยหนุนค่าเงินดอลลาร์ให้แข็งค่าขึ้น ซึ่งนักวิเคราะห์คาดว่าความแข็งแกร่งนี้จะคงอยู่ต่อไปจนถึงปี 2025 แม้ว่าความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับภาษีศุลกากรภายใต้รัฐบาลทรัมป์ และโมเมนตัมเศรษฐกิจที่ชะลอตัวอาจส่งผลต่อการปรับนโยบาย
ทั้งนี้ เศรษฐกิจสหรัฐฯ แสดงความแข็งแกร่งจากคำสั่งซื้อภาคการผลิตที่เพิ่มขึ้นและยอดขายบ้านใหม่ที่ฟื้นตัว ท่ามกลางเงินเฟ้อที่ยังคงสูง โดยคาดว่าอัตราเงินเฟ้อ PCE พื้นฐานจะปรับตัวลดลงเหลือ 2.5% ภายในต้นปี 2025 ซึ่งอาจสอดคล้องกับหรือต่ำกว่าเป้าหมายของเฟด และอาจส่งผลให้มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ในปัจจุบัน นอกจากนี้ โมเมนตัมของตลาดแรงงานยังอ่อนตัวลง โดยอัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นเป็น 4.2% ทำให้เกิดคำถามเกี่ยวกับสมมติฐานการเติบโตของเฟด ขณะที่ BCA Research คาดการณ์ว่าอัตราดอกเบี้ยโดยรวมจะปรับตัวลดลงถึง 100 จุดพื้นฐานภายในสิ้นปีหน้า หากแนวโน้มเงินเฟ้อลดลง ซึ่งตรงกันข้ามกับท่าทีระมัดระวังของเฟด
อย่างไรก็ดี ตลาดการเงินทั่วโลกจับตาความแตกต่างด้านนโยบายการเงิน โดยท่าทีระมัดระวังของเฟดช่วยหนุนดอลลาร์ ขณะที่แนวโน้มเศรษฐกิจที่อ่อนแอของยุโรปอาจเพิ่มแรงกดดันให้ ECB ปรับลดดอกเบี้ย โดยนักลงทุนต้องเผชิญความไม่แน่นอนอย่างต่อเนื่องจากแนวโน้มเงินเฟ้อ ตลาดแรงงาน และความเสี่ยงทางภูมิรัฐศาสตร์ รวมถึงนโยบายการค้าของทรัมป์ ซึ่งจะเป็นตัวกำหนดทิศทางเศรษฐกิจในปี 2025
ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (1D) CFD EUR/USD
แนวต้านสำคัญ : 1.0408, 1.0414, 1.0425
แนวรับสำคัญ : 1.0369, 1.0380, 1.0386
1D Outlook
ที่มา: TradingView
Buy/Long 1 หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 1.0339 - 1.0369 แต่ไม่สามารถทะลุแนวรับที่ 1.0369 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.0411 และ SL ที่ประมาณ 1.0324 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Buy/Long 2 หากสามารถทะลุแนวต้านที่ช่วงราคา 1.0408 - 1.0438 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.0445 และ SL ที่ประมาณ 1.0371 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 1 หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 1.0408 - 1.0438 แต่ไม่สามารถทะลุแนวต้านที่ 1.0408 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.0383 และ SL ที่ประมาณ 1.0453 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 2 หากสามารถทะลุแนวรับที่ช่วงราคา 1.0339 - 1.0369 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.0332 และ SL ที่ประมาณ 1.0423 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Pivot Points Dec 25, 2024 10:33AM GMT+7
Name
|
S3
|
S2
|
S1
|
Pivot Points
|
R1
|
R2
|
R3
|
---|---|---|---|---|---|---|---|
Classic | 1.0355 | 1.0369 | 1.0383 | 1.0397 | 1.0411 | 1.0425 | 1.0439 |
Fibonacci | 1.0369 | 1.038 | 1.0386 | 1.0397 | 1.0408 | 1.0414 | 1.0425 |
Camarilla | 1.0389 | 1.0392 | 1.0394 | 1.0397 | 1.04 | 1.0402 | 1.0405 |
Woodie's | 1.0355 | 1.0369 | 1.0383 | 1.0397 | 1.0411 | 1.0425 | 1.0439 |
DeMark's | - | - | 1.0376 | 1.0393 | 1.0404 | - | - |
ที่มา: Investing 1, Investing 2
อัพเกรดความรู้เพิ่มเติม: คลิ