บทวิเคราะห์ USD/JPY วันที่ 13 มกราคม 2568

Create at 3 hours ago (Jan 13, 2025 10:11)

เศรษฐกิจญี่ปุ่นแสดงสัญญาณการฟื้นตัวท่ามกลางแรงกดดันจากเงินเฟ้อและค่าจ้าง

ภูมิทัศน์เศรษฐกิจของญี่ปุ่นยังคงแสดงสัญญาณที่ไม่ชัดเจน ซึ่งส่งผลต่อการพิจารณานโยบายการเงินของธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่น (BOJ) ค่าเงินเยนทรงตัวต่ำกว่าระดับสูงสุดในรอบ 6 เดือนเล็กน้อย โดยรายงานระบุว่า BOJ อาจปรับเพิ่มการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อและพิจารณาปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเร็วๆ นี้ จากแรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น รวมถึงการปรับขึ้นราคาดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของโตเกียวในเดือนธันวาคมเป็น 2.4% ซึ่งต่ำกว่าที่คาดไว้เล็กน้อยแต่สูงกว่า 2.2% ในเดือนพฤศจิกายน -ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานไม่รวมพลังงานและอาหารสดยังคงต่ำกว่าเป้าหมาย 2% ของ BOJ เป็นเดือนที่ 9 ติดต่อกัน ซึ่งอาจจำกัดการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างรุนแรงได้

ด้านพลวัตของค่าจ้างเพิ่มความซับซ้อนอีกระดับ อัตราค่าจ้างที่แท้จริงของญี่ปุ่นลดลง 0.3% ในเดือนพฤศจิกายน ซึ่งถือเป็นการลดลงครั้งที่สี่ติดต่อกัน แม้ว่าค่าจ้างพื้นฐานจะเติบโตในอัตราที่เร็วที่สุดในรอบสามทศวรรษ โดยการขาดแคลนแรงงานเชิงโครงสร้างและค่าครองชีพที่สูงขึ้นทำให้บริษัทต่างๆ จำต้องปรับขึ้นค่าจ้าง ซึ่งคาดว่าจะมีการปรับขึ้นอย่างกว้างขวางมากขึ้นในปี 2025 ขณะที่ BOJ เน้นย้ำถึงการเติบโตของค่าจ้างที่ยั่งยืนที่เป็นเงื่อนไขเบื้องต้นสำหรับการใช้นโยบายที่เข้มงวดยิ่งขึ้น โดยอ้างถึงการปรับขึ้นค่าจ้างในวงกว้างทั้งในบริษัทขนาดใหญ่และขนาดเล็ก ท่ามกลางความเชื่อมั่นและการใช้จ่ายของผู้บริโภคที่ยังคงอยู่ภายใต้แรงกดดัน โดยครัวเรือนลดค่าใช้จ่ายสินค้าฟุ่มเฟือยจากเงินเฟ้อที่สูงขึ้นและเงินเยนที่อ่อนค่าลง

ในด้านการผลิต กิจกรรมภาคโรงงานแสดงสัญญาณของการทรงตัวในเดือนธันวาคม โดยดัชนี PMI ภาคการผลิตขยับเข้าใกล้ค่ากลางที่ 49.6 ในขณะที่การผลิตและคำสั่งซื้อใหม่หดตัวเป็นเดือนที่สี่ติดต่อกัน แต่ในอัตราที่ชะลอตัวลง ท่ามกลางกิจกรรมภาคบริการที่ขยายตัวเป็นเดือนที่สองติดต่อกัน โดยได้รับแรงหนุนจากอุปสงค์ในประเทศและราคาบริการที่เพิ่มขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของ BOJ ในการบรรลุอัตราเงินเฟ้อที่มั่นคง ขณะที่ยอดขายปลีกเกินความคาดหมายในเดือนพฤศจิกายน โดยเติบโต 2.8% เมื่อเทียบเป็นรายปี ซึ่งเน้นย้ำถึงความต้องการของผู้บริโภคที่ยืดหยุ่นในบางกลุ่ม

ทั้งนี้ ญี่ปุ่นเตรียมพร้อมสำหรับปีงบประมาณที่สำคัญสำหรับการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ งบประมาณที่สูงเป็นประวัติการณ์ และนโยบายการเงินที่เปลี่ยนแปลง โดยรัฐบาลคาดว่าผลผลิตทางเศรษฐกิจจะเกินขีดความสามารถสูงสุดเป็นครั้งแรกในรอบ 7 ปี โดยได้รับการสนับสนุนจากตลาดแรงงานที่ตึงตัวซึ่งจำกัดอุปทาน ซึ่งช่องว่างผลผลิตที่คาดการณ์ไว้ที่ +0.4% สะท้อนถึงอุปสงค์ที่แข็งแกร่ง แม้ว่าการขาดแคลนแรงงานและจำนวนแรงงานที่ทรงตัวที่ 69 ล้านคนจะยังคงสร้างความท้าทาย

อย่างไรก็ดี ท่ามกลางการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ รัฐบาลได้อนุมัติงบประมาณสำหรับปีงบประมาณถัดไปสูงเป็นประวัติการณ์ที่ 115.5 ล้านล้านเยน (730,000 ล้านดอลลาร์) จากค่าใช้จ่ายด้านประกันสังคมและหนี้ที่พุ่งสูงขึ้น ขณะที่รายได้จากภาษีที่สูงซึ่งคาดว่าจะอยู่ที่ 78.4 ล้านล้านเยน จะส่งผลให้สามารถลดการออกพันธบัตรใหม่ลงเหลือ 28.6 ล้านล้านเยน ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 17 ปี และส่งผลให้อัตราส่วนการพึ่งพาหนี้ลดลงต่ำกว่า 30% เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 1998 ท่ามกลางดุลงบประมาณหลักที่คาดว่าจะมีการขาดดุลลดลง สร้างความหวังในการเกินดุลในปีงบประมาณหน้า

ด้านผู้ว่าการคาซูโอะ อูเอดะ ยังคงมุมมองเชิงบวกและใช้ความระมัดระวังเกี่ยวกับการบรรลุเป้าหมายเงินเฟ้อ 2% ของ BOJ อย่างยั่งยืน แม้ว่า BOJ จะคงอัตราดอกเบี้ยในเดือนธันวาคม แต่มีการคาดการณ์มากขึ้นเกี่ยวกับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมที่จะมีขึ้นในวันที่ 23-24 มกราคมนี้ โดยผลสำรวจของรอยเตอร์คาดการณ์ว่าอัตราดอกเบี้ยอาจเพิ่มขึ้นถึง 0.5% ภายในเดือนมีนาคม 2025 เนื่องจากธนาคารกลางต้องรักษาสมดุลระหว่างแรงกดดันด้านเงินเฟ้อ พลวัตของค่าจ้าง และความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ พุ่งสูงขึ้นหลังจากการเติบโตที่แข็งแกร่งของการจ้างงานในเดือนธันวาคม เน้นย้ำถึงการหยุดชะงักของวงจรการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ โดยการจ้างงานนอกภาคเกษตรเพิ่มขึ้น 256,000 ตำแหน่ง เกินการคาดการณ์ที่ 160,000 ตำแหน่ง ขณะที่อัตราการว่างงานลดลงเหลือ 4.1% ส่งสัญญาณถึงความแข็งแกร่งของตลาดแรงงาน ท่ามกลางรายได้เฉลี่ยต่อชั่วโมงที่เพิ่มขึ้น 0.3% เมื่อเทียบเป็นรายเดือน และเพิ่มขึ้น 3.9% ต่อปี

ทั้งนี้ เฟดได้แสดงท่าทีว่าอาจเลื่อนการปรับลดอัตราดอกเบี้ยออกไปอีก โดยเน้นย้ำถึงความระมัดระวังท่ามกลางความไม่แน่นอนเกี่ยวกับนโยบายการค้าและเศรษฐกิจของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีคนใหม่ โดยรายงานการประชุมล่าสุดของเฟดเผยให้เห็นถึงความกังวลเกี่ยวกับแรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่ยืดเยื้อซึ่งเกิดจากภาษีศุลกากรที่อาจเกิดขึ้นและข้อจำกัดด้านการย้ายถิ่นฐาน ขณะที่ความคาดหวังของตลาดในขณะนี้ชี้ให้เห็นถึงการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพียงครั้งเดียวในปี 2025 ในเดือนตุลาคม ท่ามกลางเฟดที่กำลังรอสัญญาณที่ชัดเจนยิ่งขึ้นเกี่ยวกับแนวโน้มเงินเฟ้อและค่าจ้าง

นักลงทุนจะจับตาดูข้อมูลเงินเฟ้อที่จะเผยแพร่ โดยเฉพาะดัชนีราคาผู้บริโภค ซึ่งคาดว่าจะเพิ่มขึ้น 2.9% เมื่อเทียบเป็นรายปี ขณะที่เฟดยังคงเป้าหมายเงินเฟ้อที่ 2% แต่ยอมรับว่านโยบายของทรัมป์อาจทำให้การบรรลุเป้าหมายดังกล่าวล่าช้าออกไป ท่ามกลางอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลที่พุ่งสูงขึ้น และตลาดหุ้นที่ปรับตัวลดลง สะท้อนถึงการปรับเปลี่ยนของตลาดต่อแนวโน้มนโยบายล่าสุด

อย่างไรก็ดี ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ แตะระดับ 109.91 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2022 บ่งชี้ว่ากระแส "Trump Trade" อาจถึงจุดสูงสุดแล้ว ซึ่งนักวิเคราะห์ชี้ว่าความแข็งแกร่งดังกล่าวอาจไม่ยั่งยืน เนื่องจากเงื่อนไขทางการเงินที่ตึงตัวในสหรัฐฯ และความเสี่ยงทางเศรษฐกิจโลกที่อาจชะลอการปรับตัวขึ้นของค่าเงินดอลลาร์

ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (1HCFD USD/JPY

แนวต้านสำคัญ : 157.76, 157.9 0, 158.13

แนวรับสำคัญ : 157.30, 157.16, 156.93      

1H Outlook

วิเคราะห์ USD/JPY ที่มา: TradingView                                                           

Buy/Long 1 หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 157.14 – 157.30 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 157.30 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 157.79 และ SL ที่ประมาณ 157.06 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Buy/Long 2 หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 157.76 – 157.92 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 158.87 และ SL ที่ประมาณ 157.22 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้                 

Sell/Short 1 หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 157.76 – 157.92 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 157.76 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 157.19 และ SL ที่ประมาณ 158.00 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Sell/Short 2 หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 157.14 – 157.30 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 156.49 และ SL ที่ประมาณ 157.84 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Pivot Points Jan 13, 2025 09:12AM GMT+7

Name
S3
S2
S1
Pivot Points
R1
R2
R3
Classic 156.59 156.93 157.19 157.53 157.79 158.13 158.39
Fibonacci 156.93 157.16 157.3 157.53 157.76 157.9 158.13
Camarilla 157.28 157.34 157.39 157.53 157.5 157.56 157.61
Woodie's 156.55 156.91 157.15 157.51 157.75 158.11 158.35
DeMark's - - 157.06 157.47 157.66 - -

ที่มา: Investing 1Investing 2

______________________________
อัพเกรดความรู้เพิ่มเติม: คลิกที่นี่
รู้เท่าทันสถานการณ์โลกและบทวิเคราะห์เทคนิคขั้นสูง: คลิกที่นี่
Tags:

TECHNICAL ANALYSIS

ARTICLES