บทวิเคราะห์ EUR/USD วันที่ 16 มกราคม 2568

Create at 6 days ago (Jan 16, 2025 10:13)

ECB เผชิญความท้าทายเศรษฐกิจซบเซา คาดลดดอกเบี้ยต่อในปี 2025

ธนาคารกลางยุโรป (ECB) กำลังเผชิญกับความท้าทายที่ยากลำบากในการบริหารเศรษฐกิจของยูโรโซนที่เปราะบาง ท่ามกลางความไม่มั่นคงทางการเมืองภายในและภัยคุกคามจากภายนอก เช่น การเก็บภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ ภายใต้การบริหารของประธานาธิบดีทรัมป์ที่กำลังจะเข้ารับตำแหน่งในเร็วๆ นี้ นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ว่า ECB จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีกในปี 2025 โดยคาดว่าอัตราดอกเบี้ยจะลดลงเหลือ 2.00% ภายในกลางปี และอาจลดลงเหลือ 1.5% ภายในสิ้นปี แม้ว่าจะมีการเพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้อในเดือนธันวาคม 2024 ที่ระดับ 2.4% แต่อัตราเงินเฟ้อคาดว่าจะกลับมามีเสถียรภาพใกล้เป้าหมายที่ 2% ของ ECB ได้

ทั้งนี้ ยูโรโซนปิดท้ายปี 2024 ด้วยการเติบโตที่อ่อนแอและการหดตัวในภาคส่วนสำคัญ เช่น การผลิต เศรษฐกิจของเยอรมนีหดตัวเป็นปีที่สองติดต่อกัน ขณะที่ฝรั่งเศสรายงานการเติบโตที่ชะลอตัว ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและคำสั่งซื้อในภาคอุตสาหกรรมยังคงอยู่ในระดับต่ำ สะท้อนถึงภาวะเศรษฐกิจซบเซา แม้อัตราการออมของครัวเรือนจะสูงขึ้นจากผลกระทบของเงินเฟ้อในอดีต โดย ECB คาดว่าการบริโภคจะฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป ด้วยการสนับสนุนจากการเติบโตของรายได้ที่แท้จริงและอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำลง

อย่างไรก็ตาม อัตราเงินเฟ้อในภาคบริการยังคงอยู่ในระดับสูง ซึ่งสร้างความซับซ้อนต่อความพยายามของ ECB ในการรักษาเสถียรภาพด้านราคา ฟิลิป เลน หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของ ECB เน้นย้ำถึงความจำเป็นในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยอย่างสมดุลเพื่อหลีกเลี่ยงภาวะถดถอยหรือการล่าช้าในการลดเงินเฟ้อ

ด้านความเชื่อมั่นของนักลงทุนลดลง โดยตัวชี้วัดอย่าง Sentix แสดงถึงมุมมองในเชิงลบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับภาวะถดถอยของเยอรมนี โดยมีการคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจยูโรโซนจะเติบโตเพียง 1.0% ในปี 2025 ซึ่งถูกจำกัดจากอุปสงค์ภายในประเทศที่อ่อนแอและความท้าทายในการส่งออก ท่ามกลางการส่งออกที่อาจเพิ่มขึ้นในระยะสั้นก่อนที่สหรัฐฯ จะเก็บภาษีนำเข้า แต่การฟื้นตัวในระยะยาวยังคงซบเซา

ทั้งนี้ นโยบายการผ่อนคลายทางการเงินของ ECB มีเป้าหมายเพื่อสร้างสมดุลระหว่างการเติบโตและการควบคุมเงินเฟ้อ แต่ความเสี่ยง เช่น ความคาดหวังของผู้บริโภคที่สูงขึ้นเกี่ยวกับเงินเฟ้อ และค่าเงินดอลลาร์ที่แข็งค่าขึ้นจนทำให้ต้นทุนการนำเข้าสูงขึ้น ยังคงเป็นอุปสรรค ขณะที่ตลาดแรงงานแสดงให้เห็นถึงความยืดหยุ่นด้วยอัตราการว่างงานที่ 6.3% แต่การเติบโตของการจ้างงานที่ช้าลงและอุปสงค์ที่อ่อนแอชี้ให้เห็นถึงความท้าทายที่จะเกิดขึ้น

ด้านการผลิตภาคอุตสาหกรรมในยูโรโซนเพิ่มขึ้น 0.2% ในเดือนพฤศจิกายน แต่ยังคงต่ำกว่าปีที่แล้ว 1.9% ซึ่งสะท้อนถึงความอ่อนแอที่ยืดเยื้อ ขณะที่การเติบโตของยอดค้าปลีกเพียง 0.1% สะท้อนถึงอุปสงค์ของผู้บริโภคที่ซบเซาเนื่องจากครัวเรือนให้ความสำคัญกับการออมมากขึ้น โดยอัตราการออมที่สูงถึง 15.3% ในไตรมาสที่ 3 ปี 2024 ได้ขัดขวางการใช้จ่าย ในขณะที่สหรัฐฯ ได้รับประโยชน์จากการเติบโตที่ขับเคลื่อนด้วยผู้บริโภคที่แข็งแกร่งกว่า

สำหรับการฟื้นตัวของเยอรมนียังคงไม่แน่นอนท่ามกลางความอ่อนแอของอุตสาหกรรม ความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ และภาวะเงินเฟ้อ ต้นทุนพลังงานที่สูงและอุปสงค์ที่อ่อนแอทำให้ภาคอุตสาหกรรมตกอยู่ในภาวะถดถอย ขณะที่ยอดค้าปลีกลดลงอย่างไม่คาดคิดในเดือนพฤศจิกายน ท่ามกลางอัตราการออมของครัวเรือนที่สูงและความกังวลในตลาดแรงงานที่ส่งผลต่อการใช้จ่าย

นอกจากนี้ เยอรมนียังเผชิญกับจำนวนบริษัทล้มละลายที่เพิ่มขึ้น โดยพบการปิดกิจการมากที่สุดนับตั้งแต่ปี 2009 เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นและเงินอุดหนุนที่ลดลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการล้มละลายในภาคบริการสะท้อนถึงความท้าทายทางเศรษฐกิจในวงกว้าง

ด้านข้อมูลเงินเฟ้อของสหรัฐฯ ที่เผยแพร่เมื่อเร็วๆ นี้ แสดงภาพเศรษฐกิจที่หลากหลาย ซึ่งส่งผลต่อการคาดการณ์นโยบายอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ในเดือนธันวาคมเพิ่มขึ้น 2.9% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ซึ่งสูงกว่าเดือนพฤศจิกายนที่ 2.7% เล็กน้อย อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน ซึ่งไม่รวมราคาที่ผันผวนของอาหารและพลังงาน เพิ่มขึ้น 3.2% ต่อปี ซึ่งต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้

ราคาผู้ผลิตยังเพิ่มขึ้นน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ในเดือนธันวาคม โดยดัชนี PPI ปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.2% เมื่อเทียบรายเดือน และ 3.3% เมื่อเทียบรายปี สะท้อนถึงแรงกดดันจากเงินเฟ้อที่ลดลง นักวิเคราะห์มองว่าข้อมูล PPI เป็นเพียงการลดลงชั่วคราว โดยบางส่วนเตือนว่าเงินเฟ้ออาจยังคงอยู่ในระดับสูงในระยะสั้น เนื่องจากความไม่แน่นอนทางภูมิรัฐศาสตร์และเศรษฐกิจ

อย่างไรก็ดี การชะลอตัวของเงินเฟ้อพื้นฐาน เมื่อรวมกับข้อมูลดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ที่อ่อนตัวลง ได้เพิ่มการคาดการณ์เกี่ยวกับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ ซึ่งอาจเกิดขึ้นเร็วที่สุดในช่วงกลางปี ซึ่งความเชื่อมั่นของตลาดสะท้อนถึงแนวโน้มดังกล่าว โดยฟิวเจอร์สหุ้นสหรัฐฯ ปรับตัวสูงขึ้น และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลลดลงหลังจากการรายงาน

ท่ามกลางแนวโน้มเงินเฟ้อ เศรษฐกิจยังคงแสดงถึงความยืดหยุ่นในบางภาคส่วน โดยความเชื่อมั่นของธุรกิจขนาดเล็กพุ่งขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบกว่า 6 ปี จากความเชื่อมั่นหลังการเลือกตั้งและแนวนโยบายที่นำโดยพรรครีพับลิกัน อย่างไรก็ตาม ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเริ่มแสดงถึงความระมัดระวัง โดยมีความกังวลเกี่ยวกับราคาที่เพิ่มสูงขึ้นจากภาษีนำเข้าและการเปลี่ยนแปลงนโยบาย ขณะที่ตลาดแรงงานยังคงแข็งแกร่ง โดยอัตราการว่างงานอยู่ในระดับต่ำที่สุดในประวัติศาสตร์ แม้ว่าแรงกดดันจากค่าจ้างและต้นทุนพลังงานยังคงส่งผลต่อความคาดหวังทางเศรษฐกิจ จึงคาดว่าจะส่งผลให้เงินยูโรอาจยังคงแนวโน้มปรับตัวขึ้นลงในกรอบปัจจุบันไปจนถึงกรอบล่างได้มากขึ้น และยังคงอ่อนค่ากว่าเงินดอลลาร์ได้อย่างต่อเนื่องในระยะกลางจากความแตกต่างของความร้อนแรงระหว่างสองเขตเศรษฐกิจ

ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (30Min) CFD EUR/USD

แนวต้านสำคัญ : 1.0291, 1.0294, 1.0297

แนวรับสำคัญ : 1.0285, 1.0282, 1.0279        

30Min Outlook   

วิเคราะห์ EUR/USD ที่มา: TradingView      

Buy/Long 1 หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 1.0279 - 1.0285 แต่ไม่สามารถทะลุแนวรับที่ 1.0285 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.0292 และ SL ที่ประมาณ 1.0276 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Buy/Long 2 หากสามารถทะลุแนวต้านที่ช่วงราคา 1.0291 - 1.0297 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.0307 และ SL ที่ประมาณ 1.0282 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้                 

Sell/Short 1 หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 1.0291 - 1.0297 แต่ไม่สามารถทะลุแนวต้านที่ 1.0291 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.0283 และ SL ที่ประมาณ 1.0300 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Sell/Short 2 หากสามารถทะลุแนวรับที่ช่วงราคา 1.0279 - 1.0285 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.0269 และ SL ที่ประมาณ 1.0294 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Pivot Points Jan 16, 2025 09:56AM GMT+7

Name
S3
S2
S1
Pivot Points
R1
R2
R3
Classic 1.0274 1.0279 1.0283 1.0288 1.0292 1.0297 1.0301
Fibonacci 1.0279 1.0282 1.0285 1.0288 1.0291 1.0294 1.0297
Camarilla 1.0286 1.0286 1.0287 1.0288 1.0289 1.029 1.029
Woodie's 1.0274 1.0279 1.0283 1.0288 1.0292 1.0297 1.0301
DeMark's - - 1.0282 1.0287 1.0291 - -

ที่มา: Investing 1Investing 2

______________________________
อัพเกรดความรู้เพิ่มเติม: คลิกที่นี่
รู้เท่าทันสถานการณ์โลกและบทวิเคราะห์เทคนิคขั้นสูง: คลิกที่นี่
Tags:

TECHNICAL ANALYSIS

ARTICLES