ธนาคารกลางญี่ปุ่นเตรียมขึ้นดอกเบี้ย หนุนโดยเงินเฟ้อและการเติบโตของค่าจ้าง
ธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่น (BOJ) กำลังเตรียมปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย โดยตลาดคาดการณ์ว่าจะมีการปรับขึ้น 25 จุดพื้นฐาน หลังจากการประชุมกำหนดนโยบายเป็นเวลา 2 วัน ด้วยแรงสนับสนุนจากข้อมูลเงินเฟ้อและค่าจ้าง นักวิเคราะห์คาดว่าอัตราดอกเบี้ยอาจปรับขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไปจนถึงอัตราเกินกว่า 1% ภายในสิ้นปีนี้ โดยมีปัจจัยหนุนจากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งและค่าจ้างที่เพิ่มขึ้น โดยข้อมูลล่าสุดชี้ว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน (CPI) ของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น 3% เมื่อเทียบรายปีในเดือนธันวาคม ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 16 เดือน และเกินเป้าหมาย 2% ของ BOJ ต่อเนื่องเป็นเดือนที่สี่ ขณที่เงินเฟ้อได้รับแรงหนุนจากการบริโภคภาคเอกชน การเติบโตของค่าจ้าง และค่าเงินเยนที่อ่อนตัวลง ส่งผลให้เกิดวัฏจักรเชิงบวกที่ช่วยส่งเสริมการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ท่ามกลางการเจรจาค่าจ้างที่กำลังจะเกิดขึ้นในปี 2025 ที่คาดว่าจะช่วยรักษาโมเมนตัมนี้ไว้ และส่งเสริมการปรับนโยบายแบบปกติของ BOJ ต่อไป
สำหรับตลาดแรงงานของญี่ปุ่นเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก โดยค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นมีสาเหตุมาจากการขาดแคลนแรงงานและเงินเฟ้อ โดยเฉพาะในภาคค้าปลีกและบริการ สหภาพแรงงานเรียกร้องให้มีการเพิ่มค่าจ้างสูงถึง 7% สำหรับพนักงานพาร์ทไทม์ โดยมีบริษัทใหญ่เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงนี้ แม้ว่าธุรกิจขนาดเล็กจะเผชิญกับความท้าทายในการรับภาระต้นทุนที่สูงขึ้น ผู้กำหนดนโยบายมองว่าการเติบโตของค่าจ้างที่ยั่งยืนเป็นปัจจัยสำคัญในการรักษาเงินเฟ้อในระดับสูงและเปิดทางให้การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในอนาคต ขณะเดียวกัน ภาคบริการยังคงเป็นเสาหลักที่แข็งแกร่ง โดยดัชนี PMI รวมอยู่ที่ 51.1 ในเดือนมกราคม ซึ่งช่วยชดเชยการหดตัวของภาคการผลิตที่ดัชนี PMI ลดลงเหลือ 48.8 แม้จะมีความท้าทายด้านการค้าโลก แต่ความต้องการภายในประเทศที่แข็งแกร่งและการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรเป็นสัญญาณที่ดีสำหรับแนวโน้มเศรษฐกิจของญี่ปุ่น ซึ่งได้รับแรงหนุนจากการปฏิรูปค่าจ้างและแรงงานที่ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง
อีกด้าน การส่งออกเติบโตต่อเนื่องเป็นเดือนที่สามในเดือนธันวาคม โดยได้รับแรงหนุนจากค่าเงินเยนที่อ่อนตัว แม้ว่าปริมาณการส่งออกจะลดลงท่ามกลางความไม่แน่นอนในระดับโลก โดยการส่งออกในเดือนธันวาคมเพิ่มขึ้น 2.8% เมื่อเทียบรายปี จากการส่งออกอุปกรณ์ผลิตชิปไปยังไต้หวันที่เป็นตัวช่วยสำคัญ ในขณะที่การนำเข้าเพิ่มขึ้น 1.8% ส่งผลให้เกินดุลการค้า 130.9 พันล้านเยน อย่างไรก็ตาม การส่งออกไปยังคู่ค้าหลักอย่างจีนและสหรัฐฯ ลดลง และญี่ปุ่นประสบปัญหาการขาดดุลการค้ารายปีต่อเนื่องเป็นปีที่สี่ เนื่องจากการนำเข้าพลังงานที่เพิ่มขึ้นและความต้องการภายในประเทศที่ซบเซา ความกังวลเกี่ยวกับภาษีศุลกากรที่อาจเกิดขึ้นจากนโยบายของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐฯ ยิ่งเพิ่มความไม่แน่นอนในด้านการค้า โดยบริษัทญี่ปุ่นบางแห่งปรับกลยุทธ์ เช่น การย้ายฐานการผลิตไปยังสหรัฐฯ
ทั้งนี้ การคาดการณ์การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ BOJ ซึ่งตั้งเป้าจะถึง 0.5% สะท้อนให้เห็นถึงแรงกดดันจากเงินเฟ้อที่ยังคงอยู่ในระดับสูง อย่างไรก็ตาม ปัจจัยเสี่ยงจากนโยบายการค้าของทรัมป์หรือความท้าทายทางการเมืองภายในประเทศ อาจส่งผลกระทบต่อเส้นทางนี้ รัฐบาลญี่ปุ่นยังต้องสร้างสมดุลระหว่างการฟื้นฟูการคลังและการจัดการหนี้สาธารณะที่มีขนาดเกินกว่าสองเท่าของเศรษฐกิจ แม้ว่าจะพยายามบรรลุเป้าหมายเกินดุลงบประมาณหลักภายในปี 2025 แต่การคาดการณ์ที่ปรับใหม่ระบุว่าญี่ปุ่นจะยังคงขาดดุลเนื่องจากการใช้จ่ายเพิ่มเติม ท่ามกลางผู้กำหนดนโยบายที่มุ่งปรับกลยุทธ์เพื่อลดผลกระทบจากต้นทุนการกู้ยืมที่สูงขึ้นและประชากรสูงอายุที่ส่งผลต่อเสถียรภาพทางการคลัง
ด้านค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ เผชิญความผันผวน โดยดัชนีค่าเงินลดลง 0.19% สู่ระดับ 108.06 ก่อนหน้านี้ในเดือนมกราคม ค่าเงินดอลลาร์พุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบสองปี เนื่องจากความคาดหวังเกี่ยวกับภาษีศุลกากรของสหรัฐฯ และเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง อย่างไรก็ตาม ความไม่แน่นอนเกี่ยวกับนโยบายภาษีของทรัมป์และการเรียกร้องให้ลดอัตราดอกเบี้ยได้กดดันค่าเงิน ขณะเดียวกัน สภาพคล่องในสหรัฐฯ ยังคงขยายตัว โดย JPMorgan รายงานว่าปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น 2.2 ล้านล้านดอลลาร์นับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2023 ซึ่งส่งผลดีต่อหุ้นสหรัฐฯ แต่ก็สร้างความเปราะบางเนื่องจากการจัดสรรเงินสดของนักลงทุนที่ไม่เพียงพอ และแม้จะมีการไหลเข้าของเงินทุนในหุ้น แต่สัญญาณของการป้องกันความเสี่ยงจากความผันผวนยังคงมีน้อย ส่งผลให้นักลงทุนบางรายหันมาใช้ตัวเลือกเกี่ยวกับดอลลาร์และทองคำเป็นเครื่องมือป้องกันความเสี่ยงแทน
ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (1H) CFD USD/JPY
แนวต้านสำคัญ : 155.45, 155.53, 155.67
แนวรับสำคัญ : 155.17, 155.09, 154.95
1H Outlook
ที่มา: TradingView
Buy/Long 1 หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 154.97 – 155.17 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 155.17 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 155.51 และ SL ที่ประมาณ 154.87 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Buy/Long 2 หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 155.45 – 155.65 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 156.35 และ SL ที่ประมาณ 155.07 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 1 หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 155.45 – 155.65 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 155.45 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 155.15 และ SL ที่ประมาณ 155.75 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 2 หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 154.97 – 155.17 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 154.76 และ SL ที่ประมาณ 155.55 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Pivot Points Jan 24, 2025 01:23PM GMT+7
Name
|
S3
|
S2
|
S1
|
Pivot Points
|
R1
|
R2
|
R3
|
---|---|---|---|---|---|---|---|
Classic | 154.79 | 154.95 | 155.15 | 155.31 | 155.51 | 155.67 | 155.87 |
Fibonacci | 154.95 | 155.09 | 155.17 | 155.31 | 155.45 | 155.53 | 155.67 |
Camarilla | 155.26 | 155.29 | 155.33 | 155.31 | 155.39 | 155.43 | 155.46 |
Woodie's | 154.83 | 154.97 | 155.19 | 155.33 | 155.55 | 155.69 | 155.91 |
DeMark's | - | - | 155.23 | 155.35 | 155.59 | - | - |
ที่มา: Investing 1, Investing 2
อัพเกรดความรู้เพิ่มเติม: คลิ