เงินเยนแข็งค่าจาก GDP แกร่ง แต่แนวทาง BOJ ยังไม่แน่นอน
เงินเยนของญี่ปุ่นแข็งค่าขึ้น 0.13% สู่ระดับ 151.88 ต่อดอลลาร์สหรัฐฯ โดยได้รับแรงหนุนจากข้อมูล GDP ที่แข็งแกร่งในไตรมาสตุลาคม-ธันวาคม และอัตราเงินเฟ้อที่ยังคงอยู่ในระดับสูง ซึ่งเสริมความคาดหวังว่าธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) อาจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนกรกฎาคม อย่างไรก็ตาม ยังมีความไม่แน่นอนเกี่ยวกับจังหวะและขอบเขตของการคุมเข้มนโยบายการเงินในอนาคต
ขณะเดียวกัน GDP ของญี่ปุ่นขยายตัวในอัตราปีละ 2.8% ในไตรมาสที่สี่ ซึ่งสูงกว่าการคาดการณ์ของตลาดที่ 1.0% จากการลงทุนภาคธุรกิจที่เพิ่มขึ้นและการบริโภคภาคเอกชนที่ขยายตัวเล็กน้อย ซึ่งได้รับแรงหนุนจากโบนัสปลายปีที่แข็งแกร่ง ขณะที่การบริโภคภาคเอกชน ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนกว่าครึ่งหนึ่งของผลผลิตทางเศรษฐกิจ เติบโตเพียง 0.1% และต้นทุนค่าครองชีพที่สูงขึ้นอาจเป็นปัจจัยฉุดการใช้จ่ายในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า
ด้านดุลการค้าของญี่ปุ่นแย่ลงในเดือนมกราคม โดยขาดดุลมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ที่ 2.76 ล้านล้านเยน (1.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) และสูงกว่าที่ตลาดคาดไว้ที่ 2.10 ล้านล้านเยน โดยการขาดดุลที่เพิ่มขึ้นเกิดจากการนำเข้าที่พุ่งขึ้น 16.7% เมื่อเทียบกับปีก่อน ซึ่งสูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ที่ 9.7% อย่างมาก ขณะที่ปัจจัยหนุนมาจากอุปสงค์ภายในประเทศที่ปรับตัวดีขึ้นและเงินเยนที่แข็งค่าขึ้น โดยแม้ว่าส่งออกจะขยายตัว 7.2% แต่ยังต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ที่ 7.9% ขณะที่อุปสงค์ที่แข็งแกร่งจากสหรัฐฯ และจีนช่วยหนุนการส่งออกของญี่ปุ่น โดยบริษัทญี่ปุ่นเร่งส่งออกเพื่อเตรียมรับภาษีนำเข้าที่อาจถูกกำหนดภายใต้รัฐบาลของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ทั้งนี้ นโยบายปกป้องการค้าของสหรัฐฯ ที่เพิ่มขึ้น รวมถึงภาษีนำเข้า 25% ที่อาจถูกนำมาใช้กับรถยนต์นำเข้า ได้สร้างความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยการส่งออกของญี่ปุ่น เนื่องจากสหรัฐฯ คิดเป็น 20% ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมดของญี่ปุ่น
สำหรับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่น (JGB) พุ่งสูงขึ้นท่ามกลางแรงกดดันจากเงินเฟ้อ โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 2 ปี และ 10 ปี แตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2008 ซึ่งเพิ่มขึ้นเกือบสองเท่าตั้งแต่เดือนกันยายนที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม BOJ ยังคงระมัดระวังเกี่ยวกับการคุมเข้มนโยบายการเงินที่มากเกินไป หลังจากที่ญี่ปุ่นเผชิญภาวะเงินฝืดมาเป็นเวลานาน ขณะที่ผลสำรวจของรอยเตอร์ระบุว่า อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานของผู้บริโภคน่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 3.1% ในเดือนมกราคม ซึ่งเป็นอัตราที่สูงที่สุดในรอบ 17 เดือน โดยมีปัจจัยหลักจากต้นทุนอาหารที่เพิ่มขึ้นและการลดเงินอุดหนุนด้านพลังงาน ท่ามกลางอัตราเงินเฟ้อในภาคค้าส่งที่เร่งตัวขึ้น โดยดัชนีราคาสินค้าโภคภัณฑ์ของภาคธุรกิจ (CGPI) ปรับขึ้น 4.2% ในเดือนมกราคม ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 7 เดือน โดยมีปัจจัยหนุนจากราคาสินค้าเกษตรที่พุ่งสูงขึ้น และการยกเลิกเงินอุดหนุนพลังงานของรัฐบาล ที่ยิ่งเพิ่มความกังวลเกี่ยวกับภาวะเงินเฟ้อ
ทั้งนี้ ความคาดหวังของตลาดต่อการเปลี่ยนแปลงนโยบายของ BOJ ทวีความรุนแรงขึ้น โดยนักวิเคราะห์ประเมินว่ามีโอกาส 80% ที่จะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยภายในเดือนกรกฎาคม ธนาคารกลางได้เริ่มปรับทิศทางจากนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายเป็นพิเศษ โดยได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นเป็น 0.5% ในเดือนมกราคม ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานของญี่ปุ่นแตะ 3.0% ในเดือนธันวาคม และยังคงอยู่เหนือเป้าหมาย 2% ของ BOJ มาเกือบสามปี อย่างไรก็ตาม ยังคงมีความกังวลว่าความกดดันด้านเงินเฟ้ออาจแซงหน้าการเติบโตของค่าจ้าง ซึ่งอาจจำกัดการใช้จ่ายของครัวเรือน โดยกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ประเมินว่าอัตราดอกเบี้ยที่เป็นกลางของญี่ปุ่น หรือระดับที่ไม่กระตุ้นหรือชะลอเศรษฐกิจ จะอยู่ในช่วง 1% ถึง 2.5%
นอกจากนี้ ญี่ปุ่นได้เริ่มหารือทางการทูตกับสหรัฐฯ เกี่ยวกับนโยบายการค้าของทรัมป์ โดยนายโยชิมาสะ ฮายาชิ หัวหน้าเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเน้นย้ำว่าญี่ปุ่นจะประเมินผลกระทบของมาตรการภาษีใหม่อย่างรอบคอบและตอบสนองอย่างเหมาะสม นายฮิโรชิ วาตานาเบะ อดีตเจ้าหน้าที่ BOJ ระบุว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติมอาจช่วยรักษาเสถียรภาพของเงินเยน ซึ่งเผชิญแรงกดดันจากส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยที่กว้างขึ้นระหว่างญี่ปุ่นและสหรัฐฯ
ขณะเดียวกัน ในวันพุธ ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ยังคงทรงตัวท่ามกลางความตึงเครียดทางการค้าที่ดำเนินต่อไป โดยรัฐบาลของทรัมป์ประกาศว่าจะหารือเพิ่มเติมกับรัสเซียเกี่ยวกับสงครามในยูเครน ขณะที่ทรัมป์ย้ำแผนเรียกเก็บภาษีนำเข้าใหม่ รวมถึงภาษี 25% สำหรับรถยนต์นำเข้า และมาตรการภาษีเพิ่มเติมสำหรับเซมิคอนดักเตอร์และเวชภัณฑ์ นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าหากทรัมป์ยังคงขู่ใช้มาตรการภาษีโดยไม่มีการบังคับใช้จริง นักลงุทนอาจเริ่มลดสถานะซื้อดอลลาร์ลง
ทั้งนี้ ประเด็นด้านการค้ายังส่งผลต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคในสหรัฐฯ รายงานจาก CreditCards.com เปิดเผยว่า ชาวอเมริกัน 1 ใน 5 คนมีการจับจ่ายเพิ่มขึ้น เนื่องจากกังวลว่าภาษีของทรัมป์จะทำให้ราคาสินค้าสูงขึ้น ซึ่งโดยปกติแล้ว ภาษีศุลกากรจะกระตุ้นให้เกิดเงินเฟ้อผ่านต้นทุนการนำเข้าที่เพิ่มขึ้น ทำให้ธุรกิจต้องรับภาระต้นทุนที่สูงขึ้นหรือส่งต่อให้กับผู้บริโภค ส่งผลให้มีการกักตุนสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็น เช่น อาหารแห้ง กระดาษชำระ และอุปกรณ์ทางการแพทย์ ส่งผลให้ตลาดกังวลว่าภาษีอาจเร่งให้เงินเฟ้อสูงขึ้น ลดความสามารถของ Fed ในการปรับลดอัตราดอกเบี้ย และชะลอการเติบโตทางเศรษฐกิจ ท่ามกลางบริษัทบางรายที่เริ่มพิจารณาย้ายฐานการผลิตกลับมายังสหรัฐฯ เพื่อลดความเสี่ยงจากภาษีนำเข้า ซึ่งยิ่งเพิ่มความไม่แน่นอนในพลวัตของการค้าโลก
ด้วยเหตุนี้ คู่สกุลเงิน USD/JPY จึงอาจเผชิญกับความผันผวนที่มากขึ้นในระยะใกล้ เนื่องจากตลาดกำลังชั่งน้ำหนักระหว่างการเติบโตของ GDP ที่แข็งแกร่งของญี่ปุ่นและอัตราเงินเฟ้อที่สูงกับความไม่แน่นอนของนโยบายการเงินปัจจุบัน การแข็งค่าของเงินเยนเมื่อเร็วๆ นี้สะท้อนถึงการคาดการณ์ว่า BOJ อาจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนกรกฎาคม แต่เนื่องจากอัตราการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในอนาคตยังคงไม่แน่นอน การแข็งค่าของเงินเยนในอนาคตจึงอาจยังคงถูกจำกัด ขณะที่การขาดดุลการค้าของญี่ปุ่นที่เพิ่มขึ้น จากการนำเข้าที่เพิ่มขึ้นและการส่งออกที่อ่อนแอกว่าที่คาดไว้ อาจกดดันให้เงินเยนลดลง ในขณะเดียวกัน ความตึงเครียดทางการค้าของสหรัฐฯ ที่เพิ่มขึ้นและภาษีศุลกากรที่อาจเกิดขึ้นภายใต้การบริหารของทรัมป์ อาจสร้างภาวะหลีกเลี่ยงความเสี่ยง ส่งผลให้ความต้องการเงินดอลลาร์ในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัยเพิ่มขึ้น
ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (1D) CFD USD/JPY
แนวต้านสำคัญ : 152.19, 152.43, 152.82
แนวรับสำคัญ : 151.41, 151.17, 150.78
1D Outlook
ที่มา: TradingView
Buy/Long 1 หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 150.61 – 151.41 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 151.41 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 152.37 และ SL ที่ประมาณ 150.21 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Buy/Long 2 หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 152.19 – 152.99 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 153.89 และ SL ที่ประมาณ 151.01 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 1 หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 152.19 – 152.99 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 152.19 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 151.35 และ SL ที่ประมาณ 153.39 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 2 หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 150.61 – 151.41 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 149.70 และ SL ที่ประมาณ 152.59 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Pivot Points Feb 19, 2025 10:57AM GMT+7
Name
|
S3
|
S2
|
S1
|
Pivot Points
|
R1
|
R2
|
R3
|
---|---|---|---|---|---|---|---|
Classic | 150.33 | 150.78 | 151.35 | 151.8 | 152.37 | 152.82 | 153.39 |
Fibonacci | 150.78 | 151.17 | 151.41 | 151.8 | 152.19 | 152.43 | 152.82 |
Camarilla | 151.64 | 151.73 | 151.83 | 151.8 | 152.01 | 152.11 | 152.2 |
Woodie's | 150.39 | 150.81 | 151.41 | 151.83 | 152.43 | 152.85 | 153.45 |
DeMark's | - | - | 151.57 | 151.91 | 152.6 | - | - |
ที่มา: Investing 1, Investing 2
อัพเกรดความรู้เพิ่มเติม: คลิ