บทวิเคราะห์ USD/JPY 21 กุมภาพันธ์ 2568

Create at 18 hours ago (Feb 21, 2025 20:30)

อัตราเงินเฟ้อของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ค่าเงินเยนของญี่ปุ่นแข็งค่าลงมาอยู่ที่ประมาณ 150 เยนต่อดอลลาร์ แม้ว่าจะมีการประกาศข้อมูล GDP ของญี่ปุ่นที่เติบโตมากกว่าที่คาด ซึ่งส่วนใหญ่มาจากการส่งออกที่แข็งแกร่งและการเติบโตของการลงทุนภายในประเทศ อย่างไรก็ตามอัตราเงินเฟ้อที่สูงมากกว่าที่คาดยิ่งส่งผลให้ธนาคารกลางญี่ปุ่นมีมุมมองต่อนโยบายทางการเงินที่เข้มงวดมากขึ้น ส่งผลให้นักลงทุนคาดการณ์ว่าธนาคารกลางญี่ปุ่นมีแนวโน้มที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติม โดยคาดการณ์ว่าจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งในเดือนมีนาคมหรือไม่ แต่คาดว่าจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในช่วงปลายปีอย่างแน่นอน นอกจากนี้ เงินเยนยังแข็งค่าขึ้นจากค่าเงินดอลลาร์สหรัฐที่อ่อนค่าลง ซึ่งได้รับแรงหนุนจากข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่อ่อนตัวลงและความกังวลเกี่ยวกับสงครามการค้าโลกที่ลดลงด้วย

ข้อมูลเบื้องต้นระบุว่า GDP ของญี่ปุ่นเติบโต 0.7% เมื่อเทียบเป็นไลน์ไปเมื่อในไตรมาสที่ 4 ของปี 2024 นับเป็นการขยายตัวขึ้นหลังจากที่เติบโต 0.4% ในไตรมาสก่อนหน้า และถือเป็นการเติบโต 3 ไตรมาสติดต่อกัน โดยได้รับแรงหนุนจากการฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งของการลงทุนทางธุรกิจมี่มีการขยายตัว 0.5% ในขณะที่การค้าภายในประเทศยังคงสนับสนุนให้ GDP เติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยได้รับแรงหนุนจากการส่งออกที่เพิ่มขึ้นเป็นไตรมาสที่ 3 ติดต่อกัน แม้จะได้รับความเสี่ยงจากภาษีศุลกากรของสหรัฐ ในขณะเดียวกัน การนำเข้าหดตัวเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2024 ส่งผลให้ดุลการค้าเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ การใช้จ่ายของรัฐบาลยังมีแนวโน้มขยายตัว โดยอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วที่ 0.3% อย่างไรก็ตาม การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางญี่ปุ่นอาจส่งผลให้ต้นทุนการกู้ยืมเพิ่มมากขึ้นและอาจเกิดภาวะเงินฝืดได้อีกครั้ง

ดัชนีราคาผู้ผลิตในญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น 4.2% เมื่อเทียบเป็นรายปีในเดือนมกราคม หลังจากปรับตัวเพิ่มขึ้นในเดือนก่อนหน้า ที่ 3.9% และถือเป็นเดือนที่ 47 ติดต่อกันที่อัตราเงินเฟ้อผู้ผลิตสูงขึ้น โดยแรงกดดันด้านราคาที่สูงขึ้นบางส่วนเกิดขึ้นในหลายอุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม, ปิโตรเลียมและถ่านหิน นอกจากนี้ ค่าไฟที่เพิ่มสูงขึ้นและราคาวัตถุดิบที่เพิ่มมากขึ้น ยังคงเป็นปัจจัยพื้นฐานที่ทำให้ต้นทุนในการผลิตเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย

นายคาซูโอะ อุเอดะ ผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) กล่าวว่าธนาคารกลางพร้อมที่จะเพิ่มการซื้อพันธบัตรรัฐบาลเพิ่มเติม โดยเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา นายคาซูโอะ อุเอดะ ได้ยอมรับว่าตามผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลมีความผันผวน แต่ยังคงเน้นย้ำว่าธนาคารกลางญี่ปุ่นจะดำเนินการอย่างรวดเร็วเพื่อให้แน่ใจว่าตามผลตอบแทนพันธบัตรจะกลับมาคงที่อีกครั้ง นอกจากนี้ ยังมีการกล่าวเพิ่มเติมว่าการเพิ่มขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรเมื่อเร็วๆนี้แสดงให้เห็นถึงความคาดหวังของนักลงทุนต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน ซึ่งการเพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานนี้ ยังคงเป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลให้ธนาคารกลางญี่ปุ่นอาจจำเป็นต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม ธนาคารกลางญี่ปุ่นคาดการณ์ว่าตายเงินเฟ้อจะกลับมาอยู่ที่เป้าหมายที่ 2% อีกครั้ง นอกจากนี้ ธนาคารกลางยังได้ลดการซื้อพันธบัตรตามแผนที่ประกาศเมื่อเดือนกรกฎาคม

อัตราเงินเฟ้อในญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นเป็น 4.0% เมื่อเทียบเป็นรายปีในเดือนมกราคม จาก 3.6% ในเดือนก่อนหน้า ซึ่งถือเป็นตัวเลขสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2023 เนื่องจากราคาอาหารเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 15 เดือนที่ 7.8%  จาก 6.4% ในเดือนธันวาคม โดยราคาผักสดและอาหารสดยังคงเป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลให้ราคาอาหารปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ การเพิ่มขึ้นของค่าไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นมากกว่า 18% และการเพิ่มขึ้นของค่าแก๊สที่ใช้ในการประกอบอาหารเพิ่มขึ้นกว่า 6.8% ซึ่งเกิดจากการที่รัฐบาลได้หยุดการอุดหนุนด้านพลังงานตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2024 ยังนับว่าเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ช่วยกระตุ้นให้อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น ด้านอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานไม่รวมราคาอาหารและพลังงานที่ผันผวน เพิ่มขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบ 19 เดือนที่ 3.2% จาก 3% ในเดือนธันวาคม แสดงให้เห็นถึงการเร่งตัวขึ้นอีกครั้งของอัตราเงินเฟ้อ หลังต้นทุนต่างๆ เพิ่มขึ้นอีกครั้ง 

ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (5H)

แนวต้านสำคัญ: 150.66, 150.85, 151.05

แนวรับสำคัญ: 150.27, 150.07, 149.88

บทวิเคราะห์ USD/JPY วันนี้ที่มา: Investing.com

Buy/Long 1: หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 150.07 - 150.27 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 150.27 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 150.85 และ SL ที่ประมาณ 149.88 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Buy/Long 2: หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 150.66 - 150.85 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 151.05 และ SL ที่ประมาณ 150.07 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Sell/Short 1: หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 150.66 - 150.85 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 150.66 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 150.07 และ SL ที่ประมาณ 151.05 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Sell/Short 2: หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 150.07 - 150.27 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 149.88 และ SL ที่ประมาณ 150.85 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

จุดกลับตัว 21 กุมภาพันธ์ 2568 20:27 น. GMT+7
 
ชื่อ
S3
S2
S1
จุดกลับตัว
R1
R2
R3
Classic 149.88 150.07 150.27 150.46 150.66 150.85 151.05
Fibonacci 150.07 150.22 150.31 150.46 150.61 150.7 150.85
Camarilla 150.36 150.4 150.43 150.46 150.51 150.54 150.58
Woodie's 149.88 150.07 150.27 150.46 150.66 150.85 151.05
DeMark's - - 150.37 150.51 150.76 - -
______________________________
อัพเกรดความรู้เพิ่มเติม: คลิกที่นี่
รู้เท่าทันสถานการณ์โลกและบทวิเคราะห์เทคนิคขั้นสูงคลิกที่นี่

 

Tags:

TECHNICAL ANALYSIS

ARTICLES