บทวิเคราะห์ GBP/USD วันที่ 3 มีนาคม 2568

Create at 4 weeks ago (Mar 03, 2025 11:15)

การใช้จ่ายผู้บริโภคในอังกฤษฟื้นตัวเล็กน้อยปี 2025 ท่ามกลางความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ

การใช้จ่ายผู้บริโภคในอังกฤษปี 2025 มีแนวโน้มฟื้นตัวเล็กน้อย โดยได้รับแรงหนุนจากรายได้ที่แท้จริงที่เพิ่มขึ้น 1.4% และเงื่อนไขทางการเงินที่ผ่อนคลายขึ้น ตามรายงานของ Bank of America (BofA) ขณะที่การบริโภคคาดว่าจะเติบโต 1.0% แต่การออมที่เพิ่มขึ้นยังคงจำกัดการใช้จ่าย เนื่องจากครัวเรือนยังคงให้ความสำคัญกับการลดหนี้ BofA ประเมินว่าหากอัตราการออมลดลง 1% การเติบโตของการบริโภคอาจเพิ่มขึ้นเป็น 1.7% อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงจากเงินเฟ้อและการว่างงานอาจทำให้อัตราการออมยังอยู่ในระดับสูง

แนวโน้มค้าปลีกยังคงหลากหลาย ข้อมูลจาก Barclays ชี้ว่าการใช้จ่ายเพิ่มขึ้น 1.6% YoY ในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ โดยมีผู้บริโภคสูงวัยและการซื้อสินค้าออนไลน์เป็นแรงขับเคลื่อน แต่คาดว่าการเติบโตจะชะลอตัวลงเหลือ 0.3% ในต้นเดือนมีนาคม ขณะที่การใช้จ่ายในสินค้าฟุ่มเฟือยมีแนวโน้มเติบโตดีกว่าสินค้าจำเป็น โดยภาคธุรกิจการเดินทางและคอนเทนต์ดิจิทัลแข็งแกร่ง ขณะที่ธุรกิจเสื้อผ้าและสินค้า DIY ซบเซา

ด้านภาคบริการประสบปัญหากำไรลดลงและความเชื่อมั่นอ่อนแอ โดยเฉพาะธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับผู้บริโภค ผลสำรวจของ CBI พบว่ากำไรในภาคธุรกิจบริการลดลงรุนแรงที่สุดตั้งแต่ปี 2020 ขณะที่ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในภาคบริการลดลงต่ำสุดในรอบสองปี โดยต้นทุนแรงงานที่สูงขึ้น รวมถึงการขึ้นภาษีและการปรับค่าจ้างขั้นต่ำในเดือนเมษายน สร้างความกังวลเพิ่มเติม ท่ามกลางนายจ้างที่คาดว่าจะมีการลดพนักงานมากขึ้น

ทั้งนี้ ความเชื่อมั่นภาคธุรกิจยังคงขาดทิศทางที่แน่ชัด ผลสำรวจของ Lloyds Bank ระบุว่าความเชื่อมั่นทางธุรกิจยังคงอยู่ในระดับสูงสุดตั้งแต่กลางปี 2024 แม้ว่าจะมีความกังวลเกี่ยวกับภาษีและค่าจ้าง โดยสองในสามของธุรกิจวางแผนขึ้นราคา ซึ่งอาจหนุนเงินเฟ้อและสร้างความซับซ้อนต่อการตัดสินใจของ BoE

ด้านตลาดแรงงานอังกฤษเผชิญอุปสรรค โดยพบการประกาศรับสมัครงานเดือนมกราคมลดลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบสี่ปี (-4.5% YoY) ตามข้อมูลจาก Adzuna ขณะที่แม้ว่าจำนวนตำแหน่งงานจะลดลง แต่ค่าจ้างตามประกาศเพิ่มขึ้น 7% สะท้อนถึงการแข่งขันเพื่อแย่งชิงแรงงานที่มีทักษะ โดยธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) คาดว่าการชะลอตัวของตลาดแรงงานจะช่วยบรรเทาแรงกดดันเงินเฟ้อและสนับสนุนการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติม

นอกจากนี้ ภาคการผลิตยังคงอยู่ภายใต้แรงกดดัน แม้มีสัญญาณทรงตัว โดยผลสำรวจของ CBI คาดว่าการผลิตอาจเติบโตเพียงเล็กน้อย แต่อุปสงค์ยังคงได้รับผลกระทบจากการขึ้นภาษี ต้นทุนพลังงานที่สูง และความต้องการจากต่างประเทศที่ซบเซา โดยผลผลิตภาคอุตสาหกรรมลดลง 1.7% ในปี 2024 และลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ห้า ท่ามกลางผลิตภาพที่ปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อยในช่วงปลายปี 2024 โดยผลผลิตต่อชั่วโมงทำงานในไตรมาส 4 เพิ่มขึ้น 0.7% ฟื้นตัวจากการลดลงก่อนหน้านี้

ด้านตลาดที่อยู่อาศัยในอังกฤษยังคงฟื้นตัวได้ดี โดยราคาบ้านเดือนธันวาคม 2024 เพิ่มขึ้น 4.6% YoY จากต้นทุนการกู้ยืมที่ลดลงและแรงซื้อก่อนการเปลี่ยนแปลงภาษี ขณะที่ค่าเช่าโดยเฉพาะในลอนดอนพุ่งขึ้น 11% YoY

ทั้งนี้ BoE คาดว่าจะลดดอกเบี้ยอย่างระมัดระวังท่ามกลางความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ โดยรองผู้ว่าการ Dave Ramsden เน้นย้ำถึงแนวทางที่รอบคอบเพื่อสร้างสมดุลระหว่างความเสี่ยงเงินเฟ้อและการกระตุ้นเศรษฐกิจที่อ่อนแอ

อีกด้าน ดอลลาร์ทรงตัวเมื่อวันศุกร์ หลังจากข้อมูลเงินเฟ้อสนับสนุนท่าทีระมัดระวังของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ต่อการลดดอกเบี้ย โดยดัชนีราคารายจ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) เดือนมกราคมเพิ่มขึ้น 0.3% เท่ากับเดือนธันวาคม ขณะที่ อัตราเงินเฟ้อ PCE พื้นฐานลดลงเหลือ 2.6% จาก 2.9% ท่ามกลางการใช้จ่ายผู้บริโภคที่ลดลง 0.2% สวนทางกับการเพิ่มขึ้น 0.8% ในเดือนธันวาคม

GDP สหรัฐฯ ชะลอตัวในไตรมาส 4 อยู่ที่ 2.3% ลดลงจาก 3.1% ในไตรมาส 3 โดยได้รับแรงหนุนจากการใช้จ่ายภาครัฐและการส่งออก แต่ถูกฉุดโดยการลงทุนภาคธุรกิจที่อ่อนแอ สภาพอากาศหนาวจัดและความกังวลด้านภาษียังเป็นปัจจัยกดดัน ท่ามกลางการขอรับสวัสดิการว่างงานเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 5 เดือน ขณะที่ความสามารถในการเข้าถึงตลาดที่อยู่อาศัยคาดว่าจะดีขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยจำนองที่ลดลง แม้ว่าราคาบ้านจะยังอยู่ในระดับสูง

ทั้งนี้ ขาดดุลการค้าเพิ่มขึ้นในเดือนมกราคม ขณะที่ธุรกิจเร่งนำเข้าสินค้าก่อนภาษีนำเข้ามีผลในเดือนมีนาคม โดยการขาดดุลการค้าเพิ่มขึ้น 25.6% สู่ 153.3 พันล้านดอลลาร์ ขณะที่มูลค่านำเข้าเพิ่มขึ้น 12% เป็น 325.4 พันล้านดอลลาร์ ทรัมป์ยืนยันว่าการขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจากเม็กซิโก แคนาดา และจีนที่ถูกเลื่อนออกไปก่อนหน้านี้ จะมีผลบังคับใช้ในช่วงต้นเดือนมีนาคม ซึ่งสร้างความกังวลเกี่ยวกับราคาสินค้าที่อาจปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้ธนาคารกลางสหรัฐฯ สาขาแอตแลนตาคาดว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในไตรมาสแรกจะหดตัว 1.5% ต่อปี และได้ปรับลดคาดการณ์การเติบโตลงจากเดิม

ด้าน Beth Hammack ประธาน Fed สาขาคลีฟแลนด์ ส่งสัญญาณว่า Fed อาจจะเดินหน้าลดขนาดงบดุลต่อไป ท่ามกลางความไม่แน่นอนทางการคลัง โดยตั้งแต่ปี 2022 Fed ได้ลดขนาดงบดุลลงจาก 9 ล้านล้านดอลลาร์ และคาดว่าอาจหยุดกระบวนการดังกล่าวภายในช่วงกลางปี อย่างไรก็ตาม Hammack ระบุว่ากระบวนการนี้อาจขยายออกไป โดย Fed อาจใช้มาตรการซื้อคืนพันธบัตรชั่วคราวเพื่อบริหารสภาพคล่องหากจำเป็น

อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังคงเผชิญสัญญาณที่หลากหลาย แม้อัตราเงินเฟ้อจะชะลอตัวลง แต่การใช้จ่ายผู้บริโภคที่อ่อนแออาจส่งสัญญาณเศรษฐกิจซบเซา โดยนักลงทุนยังคงคาดการณ์ว่า Fed จะลดดอกเบี้ยในเดือนมิถุนายนและกันยายน ขณะที่ความไม่แน่นอนยังคงเพิ่มสูงขึ้น ท่ามกลางนักวิเคราะห์บางรายที่เตือนถึงภาวะ stagflation ที่เศรษฐกิจโตช้าแต่เงินเฟ้ออยู่ในระดับสูง

ด้วยเหตุนี้ คู่สกุล GBP/USD อาจยังคงแนวโน้มเคลื่อนไหวที่ไม่แน่ชัดในช่วงไม่กี่เดือนข้างหน้า โดยมีโอกาสปรับตัวขึ้นในระดับปานกลางจากการฟื้นตัวของการใช้จ่ายผู้บริโภคในสหราชอาณาจักร แต่ยังถูกกดดันจากความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจที่ต่อเนื่อง หากข้อมูลค้าปลีกและตลาดแรงงานของสหราชอาณาจักรปรับตัวดีขึ้น ขณะที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ ชะลอตัว GBP/USD อาจมีแรงหนุนให้ปรับตัวขึ้น อย่างไรก็ตาม ค่าเงินดอลลาร์ที่แข็งค่าขึ้นจากเงินเฟ้อสหรัฐฯ ที่ยังคงอยู่ในระดับสูงและการชะลอการปรับลดดอกเบี้ยของ Fed อาจจำกัดการแข็งค่าของปอนด์

ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (30Min) CFD GBP/USD

แนวต้านสำคัญ : 1.2606, 1.2608, 1.2612

แนวรับสำคัญ : 1.2598, 1.2596, 1.2592              

30Min Outlook               

วิเคราะห์ GBP/USD ที่มา: TradingView                              

Buy/Long 1 หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 1.2592 - 1.2598 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 1.2598 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.2607 และ SL ที่ประมาณ 1.2589 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Buy/Long 2 หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 1.2606 - 1.2612 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.2617 และ SL ที่ประมาณ 1.2595 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้                 

Sell/Short 1 หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 1.2606 - 1.2612 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้าน 1.2606 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.2597 และ SL ที่ประมาณ 1.2615 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Sell/Short 2 หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 1.2592 - 1.2598 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.2585 และ SL ที่ประมาณ 1.2609 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Pivot Points Mar 3, 2025 10:48AM GMT+7

Name
S3
S2
S1
Pivot Points
R1
R2
R3
Classic 1.2587 1.2592 1.2597 1.2602 1.2607 1.2612 1.2617
Fibonacci 1.2592 1.2596 1.2598 1.2602 1.2606 1.2608 1.2612
Camarilla 1.2598 1.2599 1.26 1.2602 1.2602 1.2603 1.2604
Woodie's 1.2585 1.2591 1.2595 1.2601 1.2605 1.2611 1.2615
DeMark's - - 1.2594 1.26 1.2604 - -

ที่มา: Investing 1Investing 2

______________________________
อัพเกรดความรู้เพิ่มเติม: คลิกที่นี่
รู้เท่าทันสถานการณ์โลกและบทวิเคราะห์เทคนิคขั้นสูง: คลิกที่นี่
Tags:

TECHNICAL ANALYSIS

ARTICLES