ญี่ปุ่นพร้อมที่จะหยุดนโยบายทางการเงินที่ผ่อนคลาย
ค่าเงินเยนของญี่ปุ่นแข็งค่าขึ้นอีกครั้ง เนื่องจากนักลงทุนต้องการกระจายความเสี่ยงและต้องการสินทรัพย์ที่ปลอดภัยเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเกิดขึ้นจากสงครามการค้าโลกที่ทวีความรุนแรงขึ้น และนโยบายภาษีศุลกากรที่ยังไม่แน่นอน เหตุการณ์เหล่านี้ทำให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ ส่งผลให้นักลงทุนบางส่วนได้แปลค่าเงินจากดอลลาร์สหรัฐมาเป็นเยนมากขึ้น ด้านเศรษฐกิจของญี่ปุ่น ธนาคารเก่าญี่ปุ่นมีแนวโน้มปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติม หลังจากที่มีการประกาศอย่างเป็นทางการว่าจะออกจากนโยบายทางการเงินที่ผ่อนคลายหลังจากที่ใช้นโยบายมานานหลายทศวรรษ อย่างไรก็ตาม การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวจะต้องไม่ส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวมมากจนเกินไป
รัฐมนตรีกระทรวงเศรษฐกิจญี่ปุ่น เรียวเซอิ อากาซาวะ กล่าวว่า ญี่ปุ่นเตรียมที่จะประกาศยุติภาวะเงินฝืดอย่างเป็นทางการ และหยุดใช้นโยบายทางการเงินที่ผ่อนคลายพิเศษ นับว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่และครั้งสำคัญ ซึ่งอาจช่วยกำหนดได้ว่าธนาคารกลางญี่ปุ่นจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยในครั้งต่อไปเมื่อใด โดยมีการเน้นย้ำว่าตัวชี้วัดหลักทั้ง 4 ตัวที่จะใช้ประเมินภาวะเงินฝืด ได้แก่ ดัชนีราคาผู้บริโภค, GDP, ต้นทุนแรงงาน และผลผลิตที่สามารถทำได้จะต้องไปในทิศทางที่เป็นบวกทั้งหมด เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายใหม่ที่กำลังจะประกาศใช้ นอกจากนี้ธนาคารกลางจำเป็นต้องรักษาอัตราเงินเฟ้อให้สูงกว่าระดับ 2% อย่างยั่งยืน เพื่อรักษาความสามารถในการเติบโตของระบบเศรษฐกิจต่อไปได้ โดยนักวิเคราะห์บางคนกล่าวว่า การรักษาตราเงินเฟ้อให้สูงกว่า 2% นั้นอาจช่วยให้ประเทศญี่ปุ่นมีความสามารถในการแข่งขันเพิ่มมากขึ้นได้
ทางด้านธนาคารกลางญี่ปุ่นกำลังพิจารณาขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติม แต่อาจยังไม่จำเป็นที่จะต้องเร่งการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนี้ เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานยังไม่ถึงเป้าหมายที่ธนาคารได้กำหนดไว้ที่ 2% นายชินอิจิ อูชิดะ รองผู้ว่าการธนาคารกลาง กล่าวว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วเกินไปจะส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจภายในประเทศซบเซา และขัดขวางการเติบโตของค่าจ้างซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะเงินฝืดได้ในที่สุด นายอูชิดะ ยังคงย้ำว่าธนาคารกลางจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยจะต้องให้ระบบเศรษฐกิจสามารถปรับตัวได้ดีควบคู่ไปกับอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มสูงขึ้น เพื่อเป็นการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจในระยะยาว นอกจากนี้ยังมีการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานว่าจะไปถึงที่ประมาณ 2% ในระหว่างเดือนตุลาคม 2025 ถึงมีนาคม 2027 ซึ่งขับเคลื่อนโดยการเติบโตของค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานสำหรับโตเกียวเพิ่มขึ้น 2.2% เมื่อเทียบเป็นรายปีรายเดือนกุมภาพันธ์ ชะลอตัวลงเล็กน้อยจาก 2.5% ในเดือนมกราคม แม้จะมีการชะลอตัวลง แต่อัตราเงินเฟ้อในเดือนกุมภาพันธ์ยังคงสูงกว่าเป้าหมาย 2% ของธนาคารกลางญี่ปุ่นเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกัน ซึ่งตอกย้ำมุมมองของนักลงทุนว่าธนาคารกลางมีแนวโน้มที่จะใช้นโยบายทางการเงินที่เข้มงวดมากยิ่งขึ้น เพื่อตอบสนองต่อแรงกดดันได้เงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยธนาคารกลางญี่ปุ่นได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็น 0.5% จาก 0.25% ในการประชุมเดือนมกราคม และปรับประมาณการเงินเฟ้อให้สูงขึ้น ซึ่งส่งสัญญาณถึงการขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติมด้วยเช่นกัน
PMI ภาคบริการของญี่ปุ่นปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็น 53.7 ในเดือนกุมภาพันธ์ ถือว่าเป็นการทำจุดสูงสุดใหม่ครั้งตั้งแต่ปีที่ผ่านมาและเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกันที่ภาคบริการขยายตัว โดยแรงสนับสนุนส่วนใหญ่ยังคงเกิดจากยอดขายทางธุรกิจส่งออกที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้บริษัทต่างๆ มีระดับการจ้างงานเพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่ 17 ติดต่อกัน แม้ว่าจะมีอัตราการเติบโตที่ชะลอตัวลงเล็กน้อยก็ตาม ด้านปัจจัยต้นทุนการผลิตพบว่าต้นทุนการผลิตเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากต้นทุนด้านแรงงาน, เชื้อเพลิงมันและวัตถุดิบเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้ราคาสินค้าและบริการยังคงอยู่ในระดับสูง
ด้าน PMI ภาคการผลิตยังคงทรงตัวอยู่ที่ 49 ในเดือนกุมภาพันธ์ โดยผลผลิตที่สามารถทำได้ลดลงเป็นเดือนที่ 6 ติดต่อกัน แม้ว่าอัตราการลดลงนี้จะจะช้าลงบ้างก็ตาม นอกจากนี้คำสั่งซื้อใหม่หดตัวลงต่อเนื่องตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2023 โดยคำสั่งซื้อที่ลดลงส่วนใหญ่เกิดจากการชะลอตัวของธุรกิจต่างประเทศ โดยเฉพาะอุปสงค์ที่ซบเซาจากสหรัฐและจีน ส่งผลให้การส่งออกโดยรวมลดลงและมีแนวโน้มลดลงอีกในอนาคต ในขณะเดียวกัน ต้นทุนในการผลิตพบว่าเร่งตัวขึ้นและสูงกว่าค่าเฉลี่ยในระยะยาว ส่งผลให้ผู้ผลิตจำเป็นต้องปรับขึ้นราคาสินค้าเล็กน้อย
ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (5H)
แนวต้านสำคัญ: 148.35, 148.73, 149.43
แนวรับสำคัญ: 147.27, 146.57, 146.19
ที่มา: Investing.com
Buy/Long 1: หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 146.57 - 147.27 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 147.27 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 148.73 และ SL ที่ประมาณ 146.19 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Buy/Long 2: หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 148.35 - 148.73 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 149.43 และ SL ที่ประมาณ 146.57 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 1: หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 148.35 - 148.73 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 148.35 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 146.57 และ SL ที่ประมาณ 149.43 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 2: หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 146.57 - 147.27 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 146.19 และ SL ที่ประมาณ 148.73 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
ชื่อ
|
S3
|
S2
|
S1
|
จุดกลับตัว
|
R1
|
R2
|
R3
|
---|---|---|---|---|---|---|---|
Classic | 146.19 | 146.57 | 147.27 | 147.65 | 148.35 | 148.73 | 149.43 |
Fibonacci | 146.57 | 146.98 | 147.24 | 147.65 | 148.06 | 148.32 | 148.73 |
Camarilla | 147.68 | 147.78 | 147.88 | 147.65 | 148.08 | 148.18 | 148.28 |
Woodie's | 146.35 | 146.65 | 147.43 | 147.73 | 148.51 | 146.19 | 149.59 |
DeMark's | - | - | 147.47 | 147.75 | 148.55 | - | - |