บทวิเคราะห์ USD/EUR 25 มีนาคม 2568

Create at 6 days ago (Mar 25, 2025 20:55)

ความสามารถในการเติบโตของยูโรโซนอาจถูกกดดันจากภาษีศุลกากรที่เพิ่มสูงขึ้น 

ค่าเงินยูโรยังคงมีแนวโน้มทรงตัวต่อเนื่อง ขณะที่นักลงทุนประเมินข้อมูล PMI ล่าสุด ที่แสดงให้เห็นถึงการขยายตัวในอัตราที่รวดเร็วของกิจกรรมของภาคเอกชน แม้ว่าจะเติบโตต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ก็ตาม ในขณะเดียวกัน เจ้าหน้าที่ธนาคารกลางยุโรป Cipollone ได้กล่าวถึงเหตุผลในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอย่างรวดเร็ว เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อที่อาจชะลอตัวลงเร็วกว่าที่คาดไว้ ทำให้นักลงทุนคาดการณ์ว่าธนาคารกลางยุโรปจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งในเดือนเมษายนอย่างแน่นอน

ทั้งนี้ ประธานธนาคารกลางยุโรป Lagarde ได้ออกมาเตือนถึงการเติบโตทางเศรษฐกิจของยูโรโซนพี่อ่านอ่อนแอลง ถึงอย่างนั้นความเสี่ยงด้านอัตราเงินเฟ้ออาจลดลงตามไปด้วย แม้ว่าภาษีศุลกากรของสหรัฐจะเพิ่มขึ้น แต่ธนาคารกลางส่งสัญญาณว่าจะไม่ตอบโต้ภาษีที่เพิ่มขึ้นนี้ด้วยการเพิ่มอัตราดอกเบี้ย แต่ยังให้มุมมองเพิ่มเติมว่ายังมีโอกาสที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยอีกหลายครั้งในปีนี้

ความตึงเครียดด้านการค้าโลกที่มีแนวโน้มทวีความรุนแรงขึ้นได้ส่งผลต่อค่าเงินยูโรโดยตรง โดยล่าสุดประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐ ขู่ว่าจะจัดเก็บภาษีผลิตภัณฑ์แอลกอฮอล์ทั้งหมดจากสหภาพยุโรป 200% เพื่อตอบโต้ที่สหภาพยุโรปเรียกเก็บภาษีวิสกี้ของสหรัฐฯ และสินค้าอื่นๆ ของสหรัฐฯ ในอัตรา 50% นอกจากนี้ ทรัมป์ยังยืนยันที่จะเก็บภาษีศุลกากรกับคู่ค้าทั่วโลกโดยมีผลบังคับใช้ในวันที่ 2 เมษายนนี้ โดยนักลงทุนจับตามองอัตราเงินเฟ้อของฝรั่งเศสและสเปนเพื่อดูข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับเศรษฐกิจเพิ่มเติมต่อไป

Composite PMI ของยูโรโซนขยับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเป็น 50.4 ในเดือนมีนาคม เพิ่มขึ้นจาก 50.2 ในเดือนกุมภาพันธ์ ถือเป็นการเพิ่มขึ้นของกิจกรรมทางเศรษฐกิจเดือนที่ 3 ติดต่อกัน โดยการเติบโตแตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนสิงหาคมปีที่ผ่านมา ผลผลิตภาคการผลิตกลับมาขยายตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 2 ปี ในขณะที่การเติบโตของภาคบริการลดลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 4 เดือน ในขณะเดียวกัน คำสั่งซื้อใหม่ยังคงมีแนวโน้มลดลงต่อเนื่อง ด้านการจ้างงานพบว่ายังคงทรงตัวทั้งภาคการผลิตและภาคบริการหลังจากที่ลดลงเป็นเวลา 7 เดือน ด้านต้นทุนปัจจัยการผลิตผมว่ายังคงมีแนวโน้มลดลงต่อเนื่อง 

ต้นทุนแรงงานรายชั่วโมงในยูโรโซนเพิ่มขึ้น 3.7% จากปีก่อนหน้าในไตรมาสที่ 4 ของปี 2024 แสดงให้เห็นถึงผลกระทบที่เกิดจากธนาคารกลางยุโรปที่ใช้มาตรการการเงินที่เข้มงวดในปีที่ผ่านมาได้ส่งผลกระทบต่อตลาดแรงงานมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้ต้นทุนแรงงานสำหรับบริษัทต่างๆในยูโรโซนเพิ่มขึ้นกว่า 4.1% โดยต้นทุนแรงงานที่เติบโตน้อยที่สุดยังคงเป็นภาคบริการที่เติบโตเพียงแค่ 3.7%

ยูโรโซนเกินดุลการค้ากว่า 1 พันล้านยูโรในเดือนมกราคม ลดลงจาก 10.6 พันล้านในช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า นับเป็นการเกินทุนการค้าที่ต่ำที่สุดตั้งแต่ปี 2023 โดยการนำเข้าเพิ่มขึ้นกว่า 7.6% คิดเป็น 231.5 พันล้านยูโร ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าสินค้าที่ใช้ในการผลิต โดยการเพิ่มขึ้นนี้ยังสะท้อนให้เห็นถึงความกังวลเกี่ยวกับภาษีศุลกากรที่อาจเพิ่มขึ้น ในขณะที่การส่งออกเพิ่มขึ้นเพียง 3% คิดเป็น 232.6 พันล้านยูโร โดยสินค้าประเภทเครื่องจักร และสารเคมีกลับมาขาดดุลการค้าอย่างรุนแรงที่ 7.8 พันล้านยูโร หลังจากที่เกินดุล 0.2 พันล้านยูโรในปีก่อนหน้า เนื่องจากบริษัทต่างๆ เร่งขายสินค้าท่ามกลางความเสี่ยงจากภาษีศุลกากรของรัฐบาลทรัมป์

ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (5H)

แนวต้านสำคัญ: 0.927, 0.9294, 0.9311

แนวรับสำคัญ: 0.9165, 0.9212, 0.9187

บทวิเคราะห์ USD/EUR วันนี้ที่มา: Investing.com

Buy/Long 1: หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 0.9212 - 0.9165 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 0.9165 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.9294 และ SL ที่ประมาณ 0.9187 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Buy/Long 2: หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 0.927 - 0.9294 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.9311 และ SL ที่ประมาณ 0.9212 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Sell/Short 1: หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 0.927 - 0.9294 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 0.927 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.9212 และ SL ที่ประมาณ 0.9311 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Sell/Short 2: หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 0.9212 - 0.9165 ได้อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.9187 และ SL ที่ประมาณ 0.9294 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

จุดกลับตัว 25 มีนาคม 2568 20:55 น. GMT+7
 
ชื่อ
S3
S2
S1
จุดกลับตัว
R1
R2
R3
Classic 0.9187 0.9212 0.9228 0.9253 0.927 0.9294 0.9311
Fibonacci 0.9212 0.9227 0.9237 0.9253 0.9269 0.9279 0.9294
Camarilla 0.9233 0.9237 0.9241 0.9253 0.9248 0.9252 0.9256
Woodie's 0.9183 0.921 0.9224 0.9251 0.9266 0.9292 0.9307
DeMark's - - 0.922 0.9249 0.9261 - -
______________________________
อัพเกรดความรู้เพิ่มเติม: คลิกที่นี่
รู้เท่าทันสถานการณ์โลกและบทวิเคราะห์เทคนิคขั้นสูงคลิกที่นี่

 

Tags:

TECHNICAL ANALYSIS

ARTICLES