เศรษฐกิจญี่ปุ่นฟื้นตัวเปราะบาง ท่ามกลางแรงกดดันภายในและภาษีจากสหรัฐฯ
การฟื้นตัวของเศรษฐกิจญี่ปุ่นยังคงเปราะบาง ท่ามกลางอัตราค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นและเงินเฟ้อที่ยังสูง ขณะที่การใช้จ่ายของผู้บริโภคและกิจกรรมทางธุรกิจยังคงอ่อนแอ โดยการใช้จ่ายของครัวเรือนในเดือนกุมภาพันธ์ลดลง 0.5% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ซึ่งเป็นการลดลงครั้งแรกในรอบสามเดือน สะท้อนถึงความระมัดระวังของผู้บริโภคท่ามกลางราคาที่สูง แม้ยอดใช้จ่ายต่อเดือนที่ปรับตามฤดูกาลจะเพิ่มขึ้น 3.5% โดยได้แรงหนุนจากการท่องเที่ยว แต่การใช้จ่ายด้านอาหารที่ลดลงถึง 4.5% บ่งชี้ว่าค่าครองชีพยังคงกดดันครัวเรือนอย่างต่อเนื่อง นักวิเคราะห์คาดว่าการฟื้นตัวที่ชัดเจนของการบริโภคอาจต้องรอถึงช่วงครึ่งหลังของปี 2025 เนื่องจากการเติบโตของค่าจ้างที่แท้จริงยังถูกจำกัด
ทั้งนี้ เพื่อรับมือกับปัญหาขาดแคลนแรงงานและต้นทุนที่สูงขึ้น บริษัทจำนวนมากได้ขึ้นค่าจ้างเฉลี่ย 5.42% ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 34 ปี ขณะที่อัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ 3.7% ในเดือนกุมภาพันธ์ สูงกว่าระดับเป้าหมาย 2% ของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เห็นแนวโน้มที่ญี่ปุ่นจะสามารถรักษาเงินเฟ้อให้อยู่ในระดับ 2% ได้อย่างยั่งยืน และคาดว่าเงินเฟ้อจะชะลอลงเหลือ 2.4% ในปี 2025 BOJ ซึ่งยุตินโยบายการเงินแบบผ่อนคลายพิเศษในเดือนมกราคมด้วยการขึ้นดอกเบี้ยเป็น 0.5% ส่งสัญญาณว่าอาจขึ้นดอกเบี้ยเพิ่มเติมหากค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นสนับสนุนเงินเฟ้อ ท่ามกลางดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของโตเกียวที่เพิ่มขึ้น 2.4% ในเดือนมีนาคม ขณะที่ราคาข้าวพุ่งขึ้น 92.4% ซึ่งสูงที่สุดตั้งแต่ปี 1976 สะท้อนถึงภาระค่าใช้จ่ายที่ยังกดดันครัวเรือน โดย BOJ ยังได้เริ่มลดการซื้อพันธบัตรรัฐบาลระยะยาวสำหรับการคุมเข้มนโยบายการเงิน
ด้านตลาดแรงงานญี่ปุ่นยังคงตึงตัว โดยอัตราว่างงานอยู่ที่ 2.4% ในเดือนกุมภาพันธ์ อย่างไรก็ตาม กิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยรวมเริ่มชะลอตัว ภาคการผลิตหดตัวเร็วที่สุดในรอบปี โดยดัชนี PMI ต่ำกว่า 50 ต่อเนื่องเป็นเวลา 9 เดือน ขณะที่ภาคบริการหดตัวครั้งแรกในรอบ 5 เดือน จากต้นทุนที่เพิ่มขึ้นซึ่งส่งผลต่อความเชื่อมั่น โดยธุรกิจต่างแสดงความกังวลเกี่ยวกับเงินเฟ้อ ปัญหาแรงงาน และความตึงเครียดทางการค้าระหว่างประเทศ
การประกาศขึ้นภาษีใหม่ของสหรัฐฯ ซึ่งรวมถึงการเก็บภาษีนำเข้ารถยนต์จากญี่ปุ่น 25% ได้ส่งผลกระทบอย่างรุนแรง นายกรัฐมนตรีชิเกรุ อิชิบะ แสดงความผิดหวังที่ญี่ปุ่นไม่ได้รับการยกเว้นจากมาตรการดังกล่าว ส่งผลให้ดัชนี Nikkei ร่วงแตะระดับต่ำสุดในรอบแปดเดือน สูญเสียมูลค่าตลาดไปกว่า 127 พันล้านดอลลาร์ สถาบันวิจัยไดวะคาดว่าภาษีดังกล่าวอาจทำให้ GDP ที่แท้จริงของญี่ปุ่นลดลง 0.6% ในปีนี้
อย่างไรก็ดี รัฐบาลญี่ปุ่นประกาศมาตรการช่วยเหลืออุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบ รวมถึงการเข้าถึงเงินกู้จากรัฐได้ง่ายขึ้น มีการจัดตั้งคณะทำงานเพื่อติดตามผลกระทบ และรัฐมนตรีคลัง คะโตะ เน้นการเจรจากับสหรัฐฯ เพื่อรักษาเสถียรภาพของตลาด
แม้เผชิญแรงต้านหลายด้าน แต่เศรษฐกิจญี่ปุ่นยังคงความแข็งแกร่ง จากข้อมูลล่าสุดที่แสดงถึงการฟื้นตัวเล็กน้อยในภาคอุตสาหกรรม ยอดค้าปลีก และการจ้างงาน นักวิเคราะห์จาก ING คาดว่า BOJ อาจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 0.25% ในเดือนพฤษภาคม โดยได้แรงหนุนจากการเติบโตของค่าจ้างและเงินเฟ้อที่ยังสูงกว่า 2% ขณะที่รองผู้ว่าการ BOJ ชินอิจิ อุจิดะ เตือนว่าภาษีของสหรัฐฯ อาจซ้ำเติมเศรษฐกิจทั้งการลดการเติบโตและเพิ่มเงินเฟ้อผ่านการหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทาน
ทั้งนี้ มาตรการภาษีของทรัมป์ได้เขย่าตลาดโลก ทำให้เงินดอลลาร์สหรัฐฯ ร่วงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 6 เดือนเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก มาตรการดังกล่าว ซึ่งรวมถึงภาษี 10% สำหรับสินค้านำเข้าทั้งหมด และสูงสุดถึง 54% สำหรับบางประเทศ ถือเป็นท่าทีปกป้องการค้าที่เข้มงวดที่สุดของสหรัฐฯ ในรอบศตวรรษ ส่งผลให้นักลงทุนแห่เข้าถือสินทรัพย์ปลอดภัย เช่น พันธบัตร และทองคำ ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลก
ขณะเดียวกัน ดัชนี ISM ภาคบริการแตะระดับต่ำสุดในรอบ 9 เดือน และความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและภาคธุรกิจยังอ่อนแอ เจ้าหน้าที่ของธนาคารกลางสหรัฐฯ รวมถึงผู้ว่าการลิซ่า คุก ชี้ว่าความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจกำลังเพิ่มขึ้น ขณะที่บางธนาคาร เช่น มอร์แกน สแตนลีย์ และดอยช์แบงก์ ได้ละทิ้งการคาดการณ์ถึงการปรับลดดอกเบี้ยในปีนี้เนื่องด้วยเงินเฟ้อจากภาษี ขณะที่บางฝ่ายยังมองว่าเฟดอาจจำเป็นต้องผ่อนคลายนโยบายหากความเสี่ยงเศรษฐกิจถดถอยเพิ่มขึ้น นักวิจารณ์เตือนว่าสหรัฐฯ อาจเผชิญภาวะ "stagflation" หรือเงินเฟ้อสูงควบคู่กับการเติบโตที่ชะลอตัว
ผลที่ตามมา คู่เงิน USD/JPY อาจยังคงความผันผวนท่ามกลางเส้นทางนโยบายที่แตกต่างกันระหว่างสหรัฐฯ และญี่ปุ่น เงินเยนอาจเผชิญกับการอ่อนค่าลงอีกหากภาษีของสหรัฐฯ ส่งผลให้ความเสี่ยงทั่วโลกเพิ่มขึ้น ซึ่งจะทำให้นักลงทุนหันไปหาสินทรัพย์ที่ปลอดภัยที่อ้างอิงดอลลาร์สหรัฐฯ อย่างไรก็ตาม หาก BOJ ปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นอีกครั้งในเดือนพฤษภาคมตามที่คาดการณ์ และความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ย่ำแย่ลง คู่สกุล USD/JPY อาจเคลื่อนตัวลงไปที่ช่วง 143-144 ในสัปดาห์ต่อ ๆ ไป โดยมีแนวโน้มที่การปรับตัวลงจะเร่งตัวในช่วงครึ่งหลังของปี 2025 เมื่อค่าจ้างที่แท้จริงและการบริโภคของญี่ปุ่นเริ่มฟื้นตัว
ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (1H) CFD USD/JPY
แนวต้านสำคัญ : 146.31, 146.44, 146.63
แนวรับสำคัญ : 145.93, 145.80, 145.61
1H Outlook
ที่มา: TradingView
Buy/Long 1 หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 145.63 – 145.93 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 145.93 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 146.35 และ SL ที่ประมาณ 145.48 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Buy/Long 2 หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 146.31 – 146.61 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 146.86 และ SL ที่ประมาณ 145.78 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 1 หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 146.31 – 146.61 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 146.31 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 145.84 และ SL ที่ประมาณ 146.76 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 2 หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 145.63 – 145.93 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 145.33 และ SL ที่ประมาณ 146.46 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Pivot Points Apr 4, 2025 09:27AM GMT+7
Name
|
S3
|
S2
|
S1
|
Pivot Points
|
R1
|
R2
|
R3
|
---|---|---|---|---|---|---|---|
Classic | 145.33 | 145.61 | 145.84 | 146.12 | 146.35 | 146.63 | 146.86 |
Fibonacci | 145.61 | 145.8 | 145.93 | 146.12 | 146.31 | 146.44 | 146.63 |
Camarilla | 145.93 | 145.98 | 146.02 | 146.12 | 146.12 | 146.16 | 146.21 |
Woodie's | 145.31 | 145.6 | 145.82 | 146.11 | 146.33 | 146.62 | 146.84 |
DeMark's | - | - | 145.98 | 146.19 | 146.49 | - | - |
ที่มา: Investing 1, Investing 2
อัพเกรดความรู้เพิ่มเติม: คลิ