จีนยังจำเป็นต้องได้รับการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง
เงินหยวนกลับมาแข็งค่าขึ้นแตะระดับ 7.24 หยวนต่อดอลลาร์ โดยได้รับแรงหนุนจากเงินดอลลาร์สหรัฐที่อ่อนค่าลงท่ามกลางความกังวลที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับมาตรการภาษีศุลกากรครั้งใหญ่ของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ซึ่งอาจผลักดันให้เศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะในสหรัฐฯ เข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย โดยวันพุธที่ผ่านมา ทรัมป์ประกาศเรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าพื้นฐาน 10% ในขณะที่สินค้าหลักอื่นๆ อาจถูกเรียกเก็บภาษีที่สูงกว่านั้น โดยจีนเผชิญกับภาษี 54% และสหภาพยุโรป 20% เพื่อเป็นการตอบโต้ด้านภาษีหลังจากที่จีนขู่ว่าจะขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจากสหรัฐฯ เช่นเดียวกัน
อย่างไรก็ตาม จีนประกาศว่าจะเริ่มการเจรจากับสหภาพยุโรปอีกครั้ง โดยเฉพาะในภาคส่วนยานยนต์ไฟฟ้า ซึ่งเป็นสินค้าหลักของจีน โดยกระทรวงพาณิชย์ของจีนกล่าวว่าการเจรจาจะเริ่มขึ้นในเร็วๆ นี้เพื่อปรับปรุงความร่วมมือระหว่างบริษัทจีนและยุโรป หลังจากที่ทรัมป์กำหนดภาษีนำเข้ารถยนต์จากทั่วโลก 25% ส่งผลให้ความตึงเครียดด้านการค้ายังคงดำเนินต่อไป โดยเมื่อปีที่ผ่านมา สหภาพยุโรปได้ขึ้นภาษีนำเข้ารถยนต์ไฟฟ้าที่ผลิตในจีน 17% สำหรับ BYD 18.8% สำหรับ Geely และ 35.3% สำหรับ SAIC
ฟิทช์ เรทติ้งส์ ได้ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือทางการเงินระยะยาวของจีนจาก A+ เป็น A เมื่อวันที่ 3 เมษายน ที่ผ่านมา ซึ่งถือเป็นการปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือทางการเงินของจีนครั้งแรกในรอบ 18 ปี โดยฟิทช์ระบุว่าการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวสะท้อนถึงการคาดการณ์ว่าสถานการณ์ทางการเงินของจีนจะอ่อนแอลงอย่างต่อเนื่อง และแนวโน้มหนี้สาธารณะจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงเปลี่ยนผ่านทางเศรษฐกิจของประเทศ นอกจากนี้ มีการคาดการณ์ว่าหนี้สาธารณะต่อ GDP จะยังคงเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ซึ่งเกิดจากภาวะขาดดุลจำนวนมาก ซึ่งส่งผลต่อการเติบโตของ GDP ที่ลดลง จากการที่จีนต้องเผชิญอุปสงค์ภายในประเทศที่อ่อนแอและแรงกดดันด้านภาวะเงินฝืด
PMI ภาคการผลิตของจีนเพิ่มขึ้นแตะระดับ 51.2 ในเดือนมีนาคม จาก 50.8 ในเดือนกุมภาพันธ์ โดยการเติบโตของผลผลิตเร่งตัวขึ้น เนื่องจากคำสั่งซื้อใหม่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องท่ามกลางสภาพความต้องการที่ปรับตัวดีขึ้น นอกจากนี้ ยอดขายต่างประเทศยังเติบโตสูงสุดในรอบ 11 เดือน ส่งผลให้บริษัทต่างๆ เพิ่มระดับการซื้อเพื่อตอบสนองต่อความต้องการในผลผลิตที่เพิ่มสูงขึ้น ในขณะเดียวกัน การจ้างงานเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2023 แม้ว่าจะเพียงเล็กน้อยก็ตาม ในด้านต้นทุนการผลิตพบว่าต้นทุนการผลิตลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 6 เดือน เนื่องจากต้นทุนวัตถุดิบที่ลดลง
ด้าน PMI ภาคบริการเพิ่มขึ้นเป็น 51.9 ในเดือนมีนาคม จาก 51.4 ในเดือนก่อนหน้า ถือเป็นการเติบโตที่แข็งแกร่งที่สุดในภาคบริการเมื่อเทียบกับหลายเดือนที่ผ่านมา โดยคำสั่งซื้อใหม่เพิ่มขึ้นมากที่สุดในรอบ 3 เดือน ซึ่งขับเคลื่อนโดยความต้องการในประเทศที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากการสนับสนุนจากรัฐบาล ในขณะที่การจ้างงานลดลงเล็กน้อย โดยการเลิกจ้างลดลงที่เร็วที่สุดในรอบเกือบ 1 ปี ด้านต้นทุนการผลิตพบว่าเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (5H)
แนวต้านสำคัญ: 7.2829, 7.2881, 7.2919
แนวรับสำคัญ: 7.2739, 7.2701, 7.2649
ที่มา: Investing.com
Buy/Long 1: หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 7.2701 - 7.2739 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 7.2739 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 7.2881 และ SL ที่ประมาณ 7.2649 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Buy/Long 2: หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 7.2829 - 7.2881 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 7.2919 และ SL ที่ประมาณ 7.2701 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 1: หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 7.2829 - 7.2881 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 7.2829 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 7.2701 และ SL ที่ประมาณ 7.2919 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 2: หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 7.2701 - 7.2739 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 7.2649 และ SL ที่ประมาณ 7.2881 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
ชื่อ
|
S3
|
S2
|
S1
|
จุดกลับตัว
|
R1
|
R2
|
R3
|
---|---|---|---|---|---|---|---|
Classic | 7.2649 | 7.2701 | 7.2739 | 7.2791 | 7.2829 | 7.2881 | 7.2919 |
Fibonacci | 7.2701 | 7.2735 | 7.2757 | 7.2791 | 7.2825 | 7.2847 | 7.2881 |
Camarilla | 7.2753 | 7.2762 | 7.277 | 7.2791 | 7.2786 | 7.2795 | 7.2803 |
Woodie's | 7.2643 | 7.2698 | 7.2733 | 7.2788 | 7.2823 | 7.2878 | 7.2913 |
DeMark's | - | - | 7.2766 | 7.2804 | 7.2855 | - | - |