ยูโรโซนถูกกดดันจากภาษีศุลกากรของสหรัฐ
ค่าเงินยูโรแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยแข็งค่าเพิ่มขึ้นมากกว่า 3.5% เมื่อเทียบกับสัปดาห์ก่อนหน้า โดยได้รับแรงหนุนจากความวุ่นวายที่เกิดขึ้นจากความตึงเครียดด้านการค้าโลกที่ทวีความรุนแรงขึ้น ส่งผลให้นักลงทุนความกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่อาจเกิดขึ้นในหลายประเทศทั่วโลก นอกจากนี้ยังทำให้นักลงทุนเริ่มไม่มั่นใจในสินทรัพย์ของสหรัฐ แม้ว่าตัวเลขเศรษฐกิจบางส่วนแต่ยังคงอยู่ในเกณฑ์ที่ดีก็ตาม นอกจากนี้ ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ประกาศระงับการขึ้นภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ เป็นเวลา 90 วัน เพื่อให้มีพื้นที่สำหรับการเจรจาการค้า แม้ว่าจะมีการปรับขึ้นภาษีศุลกากรของจีนกว่า 145% ในช่วงเวลาเดียวกันก็ตาม ถือเป็นการออกนโยบายตอบโต้ประเทศจีนหลังเพิ่มการเรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าสหรัฐเป็น 125% ในขณะที่สหภาพยุโรปได้ระงับภาษีนำเข้าสินค้าสหรัฐฯ ประธานาธิบดี เอ็มมานูเอล มาครง ของฝรั่งเศส เตือนว่าการตัดสินใจของทรัมป์เป็นเพียงช่วงพักชั่วคราว โดยเน้นย้ำว่าความเชื่อมั่นทางธุรกิจจะยังคงอยู่ภายใต้ความตึงเครียด
นางเออร์ซูลา ฟอน เดอร์ เลเยน ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป ได้ออกมาประณามการขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าทั่วโลกครั้งใหม่ของประธานาธิบดีทรัมป์ ว่าเป็นการโจมตีเศรษฐกิจโลกครั้งใหญ่ โดยเตือนว่าการขึ้นภาษีจะก่อให้เกิดความไม่แน่นอนทางการค้า และผลกระทบอย่างร้ายแรงทั่วโลก โดยยูโรโซนพร้อมที่จะเข้าเจรจาเพื่อหาข้อตกลงทางการค้า โดยนโยบายของทรัมป์ประกอบด้วยภาษีนำเข้าทั่วไป 10% ภาษีเพิ่มเติมสำหรับประเทศเป้าหมาย 60 ประเทศ และภาษีนำเข้ารถยนต์ 25% ซึ่งสร้างความตึงเครียดให้กับอุตสาหกรรมของยุโรปโซน ในขณะที่ ทรัมป์ อ้างว่ามาตรการดังกล่าวช่วยแก้ปัญหาการค้าที่ไม่เป็นธรรม
ยอดค้าปลีกของยูโรโซนเพิ่มขึ้น 0.3% เมื่อเทียบเป็นรายเดือนในเดือนกุมภาพันธ์ หลังจากชะลอตัวลงติดต่อกัน 3 เดือน ดูยอดขายสินค้าที่ไม่ใช่อาหารฟื้นตัวขึ้นเล็กน้อยที่ 0.3% หลังจากลดลง 0.2% ในเดือนมกราคม ขนาดที่ยอดขายอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้น 0.3% เช่นเดียวกัน โดยยอดขายส่วนใหญ่เพิ่มขึ้นในสเปน, เยอรมนี และฝรั่งเศส
PMI ภาคบริการในยูโรโซนเพิ่มขึ้นแต่ระดับ 51 ในเดือนมีนาคม เพิ่มสูงขึ้นจาก 50.6 ในเดือนกุมภาพันธ์ ถือเป็นสัญญาณของการขยายตัวขึ้นเล็กน้อยของกิจกรรมภาคบริการ แม้ว่าปริมาณธุรกิจเกิดใหม่จะมีแนวโน้มชะลอตัวลงเล็กน้อยก็ตาม อย่างไรก็ตามระดับการจ้างงานยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีจำนวนตำแหน่งงานแต่ระดับสูงสุดตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2024 ด้านต้นทุนการผลิตพบว่าค่าใช้จ่ายด้านวัตถุดิบเพิ่มขึ้นช้าที่สุดในรอบ 4 เดือน มีอะไรก็ตามระดับความเชื่อมั่นทางธุรกิจยังคงมีแนวโน้มลดลงต่อเนื่อง เนื่องจากความไม่แน่นอนเกี่ยวกับภาษีศุลกากรของสหรัฐ
ดัชนีราคาผู้ผลิตภาคอุตสาหกรรมในยูโรโซนเพิ่มขึ้นกว่า 3% เมื่อเทียบเป็นรายปีในเดือนกุมภาพันธ์ รับเป็นอัตราเงินเฟ้อสูงสุดตั้งแต่เดือนมีนาคม 2023 โดยส่วนใหญ่ถูกขับเคลื่อนโดยต้นทุนพลังงานที่สูงเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วกว่า 7.4% เทียบกับ 3.4% ในเดือนมกราคม นอกจากนี้ในหมวดสินค้าอื่นๆยังพบว่าต้นทุนในการผลิตเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน หากไม่รวมพลังงาน อัตราเงินเฟ้อราคาผู้ผลิตเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเป็น 1.4% จาก 1.3% ในเดือนก่อนหน้า
ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (5H)
แนวต้านสำคัญ: 0.8839, 0.8873, 0.8914
แนวรับสำคัญ: 0.8763, 0.8721, 0.8688
ที่มา: Investing.com
Buy/Long 1: หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 0.8721 - 0.8763 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 0.8763 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.8873 และ SL ที่ประมาณ 0.8688 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Buy/Long 2: หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 0.8839 - 0.8873 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.8914 และ SL ที่ประมาณ 0.8721 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 1: หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 0.8839 - 0.8873 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 0.8839 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.8721 และ SL ที่ประมาณ 0.8914 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 2: หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 0.8721 - 0.8763 ได้อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.8688 และ SL ที่ประมาณ 0.8873 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
ชื่อ
|
S3
|
S2
|
S1
|
จุดกลับตัว
|
R1
|
R2
|
R3
|
---|---|---|---|---|---|---|---|
Classic | 0.8688 | 0.8721 | 0.8763 | 0.8797 | 0.8839 | 0.8873 | 0.8914 |
Fibonacci | 0.8721 | 0.875 | 0.8768 | 0.8797 | 0.8826 | 0.8844 | 0.8873 |
Camarilla | 0.8786 | 0.8793 | 0.88 | 0.8797 | 0.86883 | 0.882 | 0.8827 |
Woodie's | 0.8694 | 0.8724 | 0.8769 | 0.88 | 0.8845 | 0.8876 | 0.892 |
DeMark's | - | - | 0.8781 | 0.8806 | 0.8856 | - | - |