แคนาดากลับมาขาดดุลการค้าอีกครั้ง
ดอลลาร์แคนาดาแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่องในเดือนเมษายน แต่ระดับสูงสุดในรอบ 5 เดือน โดยได้รับแรงหนุนจากค่าเงินดอลลาร์สหรัฐที่อ่อนค่าลงอย่างรวดเร็ว หลังจากที่นักลงทุนเทขายสินทรัพย์ของสหรัฐ ท่ามกลางความกังวลที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยและเงินเฟ้อที่สูงขึ้น นอกจากนี้ ความตึงเครียดด้านการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนที่ทวีความรุนแรงขึ้นได้ส่งผลกระทบถึงความเชื่อมั่นต่อแนวโน้มเศรษฐกิจในอนาคตของสหรัฐอย่างมีนัยสำคัญ หลังจากที่สหรัฐปรับขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนส่งถึง 145% ในขณะที่สหรัฐฯ ยังคงใช้ภาษีพื้นฐาน 10% และภาษีเหล็ก, อลูมิเนียม และรถยนต์ 25% โดยการพักขึ้นภาษี 90 วัน ได้ช่วยให้แคนาดามีความหวังในการเจรจามากยิ่งขึ้น แต่ความกังวลที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับแนวโน้มของสหรัฐฯ ในภาพรวมได้ผลักดันให้กระแสเงินทุนไหลกลับเข้าสู่แคนาดาอีกครั้ง
แคนาดารายงานการขาดดุลการค้า 1.5 พันล้านดอลลาร์แคนาดา นับเป็นการขาดดุลการค้าที่หนักที่สุดในรอบ 32 เดือน โดยการส่งออกลดลงอย่างรวดเร็ว ในขณะที่การนำเข้าเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น โดยการนำเข้าทั้งหมดของแคนาดาเพิ่มขึ้น 0.8% สู่ระดับ 71,600 ล้านดอลลาร์แคนาดา ถือเป็นการเพิ่มขึ้นของการนำเข้า5 เดือนติดต่อกัน หลังจากเพิ่มขึ้น 2.4% ในเดือนก่อนหน้า โดยการนำเข้าส่วนใหญ่ยังคงเป็นการนำเข้ายานยนต์และส่วนประกอบที่เพิ่มขึ้น 5.8% ในขณะที่การนำเข้าเครื่องจักร และอุปกรณ์ที่ใช้ในอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น 3.1% โดยการนำเข้าสินค้าจากสหรัฐเพิ่มขึ้นกว่า 2.5%
ด้านการส่งออกทั้งหมดของแคนาดาพบว่าลดลงมากถึง 5.5% เหลือ 70,100 ล้านดอลลาร์แคนาดา โดย 10 จาก 11 กลุ่มผลิตภัณฑ์มีการส่งออกลดลง โดยเฉพาะการส่งออกหน้าพลังงานที่หดโตกว่า 6.3% ในขณะที่การส่งออกยานยนต์ลดลงกว่า 8.8% โดยการส่งออกไปยังสหรัฐลดลง 3.6% โดยลดลงมากถึง 2,100 ล้านดอลลาร์ หลังจากที่เพิ่มขึ้น 3 เดือนติดต่อกัน และทำจุดสูงสุดในเดือนมกราคม โดยได้รับแรงหนุนจากความกังวลเรื่องภาษีนำเข้าสินค้าที่ประธานาธิบดีทรัมป์ได้ประกาศใช้ ส่งผลให้การส่งออกไปยังประเทศอื่นนอกจากสหรัฐลดลงกว่า 12.4%
ยอดขายส่งในแคนาดาเพิ่มขึ้น 0.3% เมื่อเทียบเป็นรายเดือนเป็น 85.7 พันล้านดอลลาร์ โดยการเพิ่มขึ้นนี้ได้รับแรงหนุนจากยอดขายกลุ่มเครื่องจักรและวัสดุสิ้นเปลืองที่เพิ่มขึ้น 7.1% ในขณะที่ยอดขายสำหรับกลุ่มยานยนต์และชิ้นส่วนลดลงเล็กน้อยที่ 3.1% เมื่อพิจารณาในแง่ปริมาณ ยอดขายขายส่งเพิ่มขึ้น 0.2% ในเดือนกุมภาพันธ์ ในขณะที่ อัตราส่วนสินค้าคงคลังต่อยอดขายเพิ่มขึ้นเป็น 1.53 จาก 1.50 ไปเดือนมกราคม แสดงให้เห็นถึงความต้องการภายในประเทศที่เพิ่มสูงขึ้นหลังจากได้รับแรงกดดันด้านภาษี
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลแคนาดาอายุ 10 ปี ลดลงต่ำกว่า 3.19% เนื่องจากนักลงทุนได้โยกย้ายสินทรัพย์ท่ามกลางนโยบายการค้าที่เปลี่ยนแปลงไปและความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก โดยยกเลิกภาษีนำเข้าสินค้าจากจีน 145% ได้บรรเทาความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่อาจเกิดขึ้น ดูนักลงทุนคาดการณ์ว่าการผ่อนปรนมาตรการภาษีศุลกากรของสหรัฐอาจช่วยสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจโลก และยังส่งผลถึงแคนาดาที่เน้นการส่งออกเป็นหลัก อย่างไรก็ตาม แนวโน้มการปรับขึ้นภาษีของสหรัฐฯ ในอนาคตยังคงส่งผลต่อแนวโน้มของตลาด แม้ว่าแรงกดดันที่เกิดขึ้นทันทีจะผ่อนคลายลงลงบ้างก็ตาม
ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (5H)
แนวต้านสำคัญ: 1.3928, 1.3955, 1.3994
แนวรับสำคัญ: 1.3862, 1.3823, 1.3796
ที่มา: Investing.com
Buy/Long 1: หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 1.3823 - 1.3862 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 1.3862 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.3955 และ SL ที่ประมาณ 1.3796 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Buy/Long 2: หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 1.3928 - 1.3955 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.3994 และ SL ที่ประมาณ 1.3823 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 1: หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 1.3928 - 1.3955 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 1.3928 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.3823 และ SL ที่ประมาณ 1.3994 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 2: หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 1.3823 - 1.3862 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.3796 และ SL ที่ประมาณ 1.3955 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
ชื่อ
|
S3
|
S2
|
S1
|
จุดกลับตัว
|
R1
|
R2
|
R3
|
---|---|---|---|---|---|---|---|
Classic | 1.3796 | 1.3823 | 1.3862 | 1.3889 | 1.3928 | 1.3955 | 1.3994 |
Fibonacci | 1.3823 | 1.3848 | 1.3864 | 1.3889 | 1.3914 | 1.393 | 1.3955 |
Camarilla | 1.3883 | 1.3889 | 1.3895 | 1.3889 | 1.3907 | 1.3913 | 1.3919 |
Woodie's | 1.3802 | 1.3826 | 1.3868 | 1.3892 | 1.3934 | 1.3958 | 1.4 |
DeMark's | - | - | 1.3875 | 1.3896 | 1.3942 | - | - |