อัตราเงินเฟ้อของยูโรโซนลดลงอย่างต่อเนื่อง
ค่าเงินยูโรยังคงแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทำจุดสูงสุดตั้งแต่ปี 2021 โดยได้รับแรงหนุนจากการอ่อนค่าของค่าเงินดอลลาร์สหรัฐท่ามกลางความกังวลที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับความเป็นอิสระของ Fed โดยความกังวลดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากคำกล่าวของประธานาธิบดีทรัมป์และผู้อำนวยการสภาเศรษฐกิจแห่งชาติของสหรัฐ ซึ่งมีโอกาสที่ทรัมป์จะปลด เจอร์โรม พาวเวลล์ ซึ่งเป็นประธาน Fed คนปัจจุบัน จะมีการกดดันให้ Fed เร่งการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจในสหรัฐ ในขณะเดียวกัน การเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐ และประเทศอื่นๆ เกี่ยวกับภาษีศุลกากรยังคงดำเนินต่อไป
นอกจากนี้ นักลงทุนเริ่มตั้งคำถามมากขึ้นเกี่ยวกับอิทธิพลของดอลลาร์ในระบบการเงินโลก และหันมาใช้สกุลเงินทางเลือกอื่นแทน อีกทั้งค่าเงินยูโรยังได้รับแรงหนุนเพิ่มเติมจากการคาดการณ์ว่าการใช้จ่ายด้านการป้องกันประเทศจะเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในเยอรมนี ในด้านนโยบายการเงิน ธนาคารกลางยุโรปได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 25 bps นอกจากนี้ ธนาคารกลางยังออกมาเตือนอีกว่าเศรษฐกิจอาจแย่ลงเนื่องจากความตึงเครียดด้านการค้าที่ทวีความรุนแรงขึ้น ด้านนักลงทุนได้คาดการณ์ว่าธนาคารกลางยุโรปอาจปรับลดอัตราดอกเบี้ยอีก 3 ครั้งภายในปีนี้
ธนาคารกลางยุโรปปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 25 bps ตามที่ตลาดคาดการณ์ไว้ โดยการตัดสินใจดังกล่าวสะท้อนถึงความเชื่อมั่นที่เพิ่มขึ้นของธนาคารกลางว่าอัตราเงินเฟ้อกำลังกลับมาสู่เป้าหมายที่ 2% อย่างยั่งยืนทั้งอัตราเงินเฟ้อทั่วไปและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานยังคงมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยอัตราเงินเฟ้อภาคบริการก็ลดลงเช่นกัน ในขณะที่การเติบโตของค่าจ้างกำลังลดลง และบริษัทต่างๆ กำลังรับภาระต้นทุนบางส่วน อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงต่อแนวโน้มของยูโรโซนยังคงมีอยู่ โดยเฉพาะความตึงเครียดด้านการค้าโลกที่เพิ่มขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นและภาวะการเงินที่ตึงตัว
นอกจากนี้ คริสติน ลาการ์ด ประธานธนาคารกลางยุโรปได้ออกมาเตือนว่าผลกระทบจากภาษีศุลกากรที่เพิ่มมากขึ้นอาจทำให้การเติบโตของยูโรโซนในปีนี้ลดลงเกือบครึ่งหนึ่ง โดยลดลงจากที่คาดการณ์ไว้ที่ 0.9% โดยค่าเงินยูโรที่แขนค่าขึ้น, ราคาน้ำมันที่ลดลง แล้วความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและสร้างแรงกดดันต่อเงินเฟ้อ แม้ว่าจะมีการหยุดการตอบโต้ภาษีศุลกากรระหว่างสหภาพยุโรปและสหรัฐฯ เป็นเวลา 90 วันจะช่วยบรรเทาแรงกดดันได้ชั่วคราว แต่ธนาคารกลางยุโรปยังคงกังวลเกี่ยวกับผลกระทบในวงกว้างต่อการลงทุนและการค้า ส่งผลให้ธนาคารกลางยุโรปไม่ได้ให้คำมันว่าจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติม แต่เน้นย้ำว่าการตัดสินใจในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในอนาคตจะขึ้นอยู่กับแนวโน้มข้อมูลเศรษฐกิจ ณ ตอนนั้น และความแข็งแกร่งของการส่งผ่านทางการเงิน
อัตราเงินเฟ้อในยูโรโซนชะลอตัวลงเหลือ 2.2% เมื่อเทียบเป็นรายปีในเดือนมีนาคม จาก 2.3% ในเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งสอดคล้องกับการประมาณการเบื้องต้น โดยราคาพลังงานกลับมาลดลงอีกครั้ง โดยลดลง 1% หลังจากเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ในขณะเดียวกัน อัตราเงินเฟ้อสำหรับภาคบริการได้ชะลอตัวลงเล็กน้อยเหลือ 3.5% จาก 3.7% เมื่อมาดูในกลุ่มประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ของยูโรโซนพบว่าอัตราเงินเฟ้อลดลงในเยอรมนี, สเปนและเนเธอร์แลนด์ แต่อัตราเงินเฟ้อเร่งตัวขึ้นเล็กน้อยในอิตาลี ดูอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานซึ่งไม่รวมราคาอาหารและพลังงานที่ผันผวนลดลงเหลือ 2.4% ซึ่งเป็นอัตราที่ต่ำที่สุดตั้งแต่ปี 2021 และลดลงจาก 2.6% ในเดือนก่อนหน้า
ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (5H)
แนวต้านสำคัญ: 0.8718, 0.8734, 0.8763
แนวรับสำคัญ: 0.8672, 0.8644, 0.8627
ที่มา: Investing.com
Buy/Long 1: หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 0.8644 - 0.8672 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 0.8672 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.8734 และ SL ที่ประมาณ 0.8627 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Buy/Long 2: หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 0.8718 - 0.8734 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.8763 และ SL ที่ประมาณ 0.8644 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 1: หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 0.8718 - 0.8734 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 0.8718 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.8644 และ SL ที่ประมาณ 0.8763 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 2: หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 0.8644 - 0.8672 ได้อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 0.8627 และ SL ที่ประมาณ 0.8734 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
ชื่อ
|
S3
|
S2
|
S1
|
จุดกลับตัว
|
R1
|
R2
|
R3
|
---|---|---|---|---|---|---|---|
Classic | 0.8627 | 0.8644 | 0.8672 | 0.8689 | 0.8718 | 0.8734 | 0.8763 |
Fibonacci | 0.8644 | 0.8661 | 0.8672 | 0.8689 | 0.8706 | 0.8717 | 0.8734 |
Camarilla | 0.8689 | 0.8693 | 0.8698 | 0.8689 | 0.8706 | 0.871 | 0.8714 |
Woodie's | 0.8633 | 0.8647 | 0.8678 | 0.8692 | 0.8724 | 0.8737 | 0.8769 |
DeMark's | - | - | 0.8681 | 0.8693 | 0.8726 | - | - |