บทวิเคราะห์ USD/JPY 23 เมษายน 2568

Create at 1 day ago (Apr 23, 2025 21:24)

ญี่ปุ่นมีสัญญาณทางเศรษฐกิจที่ขยายตัวขึ้นเล็กน้อย

ค่าเงินเยนของญี่ปุ่นแข็งค่าขึ้นเล็กน้อย หลังจากที่อ่อนค่าลงตั้งแต่ต้นสัปดาห์ โดยได้รับแรงกดดันจากการที่ดอลลาร์ฟื้นตัวขึ้นท่ามกลางสัญญาณที่ความตึงเครียดทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนที่ผ่อนคลายลง ยาอะไรก็ตามความประมวลเกี่ยวกับความเป็นอิสระของธนาคารการสหรัฐยังคงมีอยู่ นอกจากนี้ รัฐมนตรีกระทรวงการคลังสหรัฐฯ สก็อตต์ เบสเซนต์ กล่าวว่าการต่อรองด้านภาษีศุลกากรกับจีนในปัจจุบัน ยังไม่ส่งผลดีในระยะยาวมากพอ ทำให้นักลงทุนเกิดความหวังว่าความขัดแย้งทางการค้าจะชะลอตัว

หลังจากความกังวลเกี่ยวกับการเข้ามาแทรกแซงของประธานาธิบดีทรัมป์ ต่อการตัดสินใจในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ ด้านประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ได้เสริมความเชื่อมั่นของนักลงทุนด้วยการระบุว่าเขาไม่มีเจตนาที่จะปลด เจอโรม พาวเวลล์ ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ คนปัจจุบัน ส่งผลให้นักลงทุนมีความเชื่อมั่นต่อระบบธนาคารกลางของสหรัฐมากยิ่งขึ้น ในขณะที่ข้อมูลเศรษฐกิจของญี่ปุ่นเริ่มมีแนวโน้มขยายตัวขึ้นหลังจากการกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ โดยแสดงให้เห็นว่ากิจกรรมภาคเอกชนกลับมาเติบโตอีกครั้งในเดือนเมษายน หลังจากหดตัวในเดือนมีนาคม การฟื้นตัวดังกล่าวได้รับแรงหนุนจากการขยายตัวอย่างแข็งแกร่งในภาคบริการ

PMI ภาคการผลิตของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นเล็กน้อยที่ 48.5 ในเดือนเมษายน จากจุดต่ำสุดในรอบ 1 ปีที่ 48.4 ในเดือนมีนาคม อย่างไรก็ตาม กิจกรรมภาคการผลิตยังคงหดตัวเป็นเดือนที่ 10 ติดต่อกัน โดยคำสั่งซื้อใหม่ลดลงอย่างรวดเร็วตั้งแต่ปีที่ผ่านมา เนื่องจากธุรกิจส่งออกส่วนใหญ่ชะลอการผลิตเนื่องจากความกังวลด้านภาษีศุลกากรที่เพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้บริษัทต่างๆ ลดกิจกรรมการจัดซื้อและสินค้าคงคลังลง ในขณะที่การจ้างงานเพิ่มขึ้นเล็กน้อยแม้ว่าต้นทุนการผลิตจะเพิ่มขึ้นก็ตาม

PMI ภาคบริการของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 52.2 ในเดือนเมษายน จากระดับ 50.0 ในเดือนมีนาคม ซึ่งถือเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 5 เดือน โดยคำสั่งซื้อใหม่เติบโตแข็งแกร่งที่สุดในรอบ 3 เดือน ในขณะที่อุปสงค์จากต่างประเทศยังคงเพิ่มขึ้น แม้ว่าจะในอัตราที่ช้าลงก็ตาม ส่งผลให้บริษัทต่างๆ กลับมาจ้างพนักงานใหม่อีกครั้ง จะได้ต้นทุนการผลิตพบว่าต้นทุนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและทำจุดสูงสุดในรอบ 2 ปี ส่งผลให้ความเชื่อมั่นทางธุรกิจสำหรับปีหน้าลดลง

นายชิเงรุ อิชิบะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ได้ออกมาพูดเกี่ยวกับมาตรการภาษีของสหรัฐ ว่าทำให้ระเบียบเศรษฐกิจโลกไม่มั่นคง แต่ยังคงยืนยันและให้คำมั่นว่าจะให้ความร่วมมือกับสหรัฐ และพร้อมที่จะเจรจาการค้า นอกจากนี้ ญี่ปุ่นยังมีแผนเพิ่มเติมที่จะตอบสนองผลกระทบเชิงลบจากมาตรการด้านภาษีเพิ่มเติม หากการเจรจานี้ไม่เป็นไปตามที่คิดไว้ 

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่นอายุ 10 ปีเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเป็น 1.3 4% เนื่องจากนักลงทุนได้ย้ายสินทรัพย์ไปยังสินทรัพย์เสี่ยงมากยิ่งขึ้น หลังจากมีสัญญาณของการผ่อนคลายความตึงเครียดในความขัดแย้งทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน และความมั่นใจต่อเสถียรภาพของธนาคารกลางในสหรัฐฯ ซึ่งส่งผลให้พันธบัตรของญี่ปุ่นได้รับผลกระทบตามไปด้วย นอกจากนี้แนวโน้มเศรษฐกิจภายในประเทศที่ดีขึ้น ส่งผลให้นักลงทุนคาดการณ์ว่าธนาคารกลางญี่ปุ่นมีแนวโน้มที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยตามไปด้วย

ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (5H)

แนวต้านสำคัญ: 143.02, 143.33, 143.96

แนวรับสำคัญ: 142.08, 141.45, 141.14

บทวิเคราะห์ USD/JPY วันนี้ที่มา: Investing.com

Buy/Long 1: หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 141.45 - 142.08 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 142.08 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 143.33 และ SL ที่ประมาณ 141.14 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Buy/Long 2: หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 143.02 - 143.33 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 143.96 และ SL ที่ประมาณ 141.45 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Sell/Short 1: หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 143.02 - 143.33 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 143.02 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 141.45 และ SL ที่ประมาณ 143.96 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

Sell/Short 2: หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 141.45 - 142.08 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 141.14 และ SL ที่ประมาณ 143.33 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้

จุดกลับตัว 23 เมษายน 2568 21:25 น. GMT+7
 
ชื่อ
S3
S2
S1
จุดกลับตัว
R1
R2
R3
Classic 141.14 141.45 142.08 142.39 143.02 143.33 143.96
Fibonacci 141.45 141.81 142.03 142.39 142.75 142.97 143.33
Camarilla 142.44 142.53 142.61 142.39 142.79 142.87 142.96
Woodie's 141.28 141.52 142.22 142.46 143.16 143.4 144.1
DeMark's - - 142.23 142.47 143.17 - -
______________________________
อัพเกรดความรู้เพิ่มเติม: คลิกที่นี่
รู้เท่าทันสถานการณ์โลกและบทวิเคราะห์เทคนิคขั้นสูงคลิกที่นี่

 

 

Tags:

TECHNICAL ANALYSIS

ARTICLES