เศรษฐกิจของแคนาดาอาจชะลอตัวลงเล็กน้อยจากผลกระทบของภาษีศุลกากร
ดอลลาร์แคนาดาอ่อนค่าลงอีกครั้งหลังจากแข็งค่าสู่ระดับสูงสุดในรอบ 6 เดือน โดยได้รับแรงกดดันจากค่าเงินดอลลาร์สหรัฐที่แข็งค่าขึ้น จากความกังลวลด้านความเป็นอิสระของธนาคารกลางที่ลดลง นอกจากนี้ แรงกดดันด้านการค้ากลับมาลดลง เนื่องจาก สหรัฐอาจมีการเข้าไปเจรจากับจีนเพื่อพูดคุยเกี่ยวกับการลดภาษีการนำเข้าสินค้าที่เพิ่มขึ้นก่อนหน้านี้ ในขณะเดียวกัน การที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ปรับลดคาดการณ์ GDP ของแคนาดาในปี 2025 ลงเหลือ 1.4% ได้จุดชนวนความกังวลต่ออุปสงค์ในประเทศอีกครั้ง นอกจากนี้ นักลงทุนคาดว่าธนาคารกลางแคนาดาอาจปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติมในครึ่งปีหลัง ส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์แคนาดาอ่อนค่าลง แม้ว่าธนาคารกลางจะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ในการประชุมครั้งล่าสุดก็ตาม
ธนาคารกลางแคนาดาคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 2.75% ในการประชุมเดือนเมษายน ตามที่ตลาดคาดการณ์ไว้ ซึ่งถือเป็นการคงอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกหลังจากปรับลดอัตราดอกเบี้ยรวมกว่า 2.25% และนับเป็นการหยุดการปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่ติดต่อกันถึง 7 ครั้ง โดยคณะกรรมการระบุว่าความไม่แน่นอนของภาษีศุลกากรทำให้การเติบโตของเศรษฐกิจภายในประเทศอาจชะลอลง ในขณะที่ความเสี่ยงด้านอัตราเงินเฟ้อกลับเพิ่มสูงขึ้น ดังนั้น การคงอัตราดอกเบี้ยในการประชุมครั้งล่าสุดจึงเหมาะสมต่อสถานการณ์ในปัจจุบัน และเหมาะสมกับความไม่แน่นอนที่สูงขึ้นจากการที่สหรัฐไม่มีแนวทางภาษีศุลกากรที่ชัดเจน อย่างไรก็ตาม ธนาคารกลางแคนาดาคาดว่าการเติบโตของเศรษฐกิจภายในประเทศจะอ่อนตัวลงชั่วคราวและอัตราเงินเฟ้อจะอยู่ระดับใกล้เป้าหมายที่ 2%
อัตราเงินเฟ้อรายปีในแคนาดาลดลงเหลือ 2.3% ในเดือนมีนาคม จากระดับสูงสุดในรอบ 8 เดือนที่ 2.6% ในเดือนก่อนหน้า ซึ่งต่ำกว่าที่ธนาคารกลางคาดการณ์ไว้ที่ 2.5% การลดลงดังกล่าวเป็นจุดเริ่มต้นของชะลอตัวลงของอัตราเงินเฟ้อที่ธนาคารกลางแคนาดาได้คาดการณ์ไว้ในปีนี้ โดยได้รับแรงหนุนจากราคาน้ำมันดิบที่ลดลงอย่างรวดเร็ว หลังจากที่กลุ่ม OPEC+ ยืนยันที่จะเพิ่มแผนการผลิต ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อด้านการขนส่งชะลอตัวลงเช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตาม ต้นทุนอาหารพุ่งสูงขึ้นกว่า 3.2%
นักลงทุนต่างชาติลดการลงทุนจากหลักทรัพย์ของแคนาดาลงสุทธิ 6.46 พันล้านดอลลาร์แคนาดาในเดือนกุมภาพันธ์ ถือเป็นการขายหุ้นครั้งแรกหลังจากที่มีเงินไหลเข้า 11 เดือนติดต่อกัน การลดลงนี้เกิดจากการขายหุ้นซึ่งทีมูลค่ากว่า 21.94 พันล้านดอลลาร์แคนาดาเป็นหลัก ซึ่งสะท้อนถึงการเทขายสินทรัพย์เสี่ยงทั่วโลก ท่ามกลางความไม่แน่นอนที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับนโยบายการค้าของสหรัฐฯ และศักยภาพในการชะลอการเติบโตของเศรษฐกิจโลก ในขณะเดียวกันมีเงินไหลเข้าสู่ตลาดตราสารหนี้สุทธิ 15.48 พันล้านดอลลาร์แคนาดา
ดัชนี CFIB Business Barometer เพิ่งใช้วัดความคาดหวังในอีก 12 เดือนข้างหน้าสำหรับผลการดำเนินงานของธุรกิจ เพิ่มขึ้นสู่ระดับ 34.8 ในเดือนเมษายน แม้จะฟื้นตัวขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ 25.5 แต่ตัวเลขล่าสุดยังแสดงให้เห็นถึงมุมมองในแง่ลบของธุรกิจต่อการเติบโตภายในประเทศ ซึ่งเน้นย้ำถึงผลกระทบที่เพิ่มขึ้นของภาษีศุลกากร, สงครามการค้า รวมไปถึงข้อจำกัดต่างๆ ที่ส่งผลให้ความเชื่อมั่นของธุรกิจลดลงอย่างรวดเร็ว ด้านการจ้างงานพบว่าบริษัทต่างๆ วางแผนที่จะเลิกจ้างพนักงานถึง 17% ในขณะที่อาจมีการจ้างงานเพิ่มขึ้นเพียง 12%
ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค (5H)
แนวต้านสำคัญ: 1.3874, 1.3882, 1.3899
แนวรับสำคัญ: 1.3849, 1.3832, 1.3824
ที่มา: Investing.com
Buy/Long 1: หากมีการแตะแนวรับที่ช่วงราคา 1.3832 - 1.3849 แต่ไม่สามารถเบรกแนวรับที่ 1.3849 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.3882 และ SL ที่ประมาณ 1.3824 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Buy/Long 2: หากสามารถเบรกแนวต้านที่ช่วงราคา 1.3874 - 1.3882 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.3899 และ SL ที่ประมาณ 1.3832 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 1: หากมีการแตะแนวต้านที่ช่วงราคา 1.3874 - 1.3882 แต่ไม่สามารถเบรกแนวต้านที่ 1.3874 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.3832 และ SL ที่ประมาณ 1.3899 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
Sell/Short 2: หากสามารถเบรกแนวรับที่ช่วงราคา 1.3832 - 1.3849 ได้ อาจตั้ง TP ที่ประมาณ 1.3824 และ SL ที่ประมาณ 1.3882 หรือตามความเสี่ยงที่รับได้
ชื่อ
|
S3
|
S2
|
S1
|
จุดกลับตัว
|
R1
|
R2
|
R3
|
---|---|---|---|---|---|---|---|
Classic | 1.3824 | 1.3832 | 1.3849 | 1.3857 | 1.3874 | 1.3882 | 1.3899 |
Fibonacci | 1.3832 | 1.3842 | 1.3847 | 1.3857 | 1.3867 | 1.3872 | 1.3882 |
Camarilla | 1.3858 | 1.386 | 1.3863 | 1.3857 | 1.3867 | 1.387 | 1.3872 |
Woodie's | 1.3828 | 1.3834 | 1.3853 | 1.3859 | 1.3878 | 1.3884 | 1.3903 |
DeMark's | - | - | 1.3852 | 1.3859 | 1.3878 | - | - |