สรุป ราคาทองคําวันศุกร์ที่ผ่านมาปิดปรับตัวลดลง 18.26 ดอลลาร์ต่อออนซ์ โดยราคาทองคําปรับตัวลดลงแม้ว่าตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐอาทิ ยอดค้าปลีก และดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) จะออกมาแย่เกินคาดก็ตาม เนื่องจากความวิตกเกี่ยวกับการชะลอตัวทางเศรษฐกิจในเดือนธ.ค. กลับส่งผลให้นักลงทุนเข้าซื้อดอลลาร์ในฐานะสกุลเงินปลอดภัยแทน จนดันให้ดัชนีดอลลาร์แข็งค่าขึ้น +0.54% ในวันศุกร์ พร้อมกับปิดรายสัปดาห์ด้วยการแข็งค่ามากสุดนับตั้งแต่เดือนต.ค. 2020 จึงเป็นปัจจัยสําคัญที่กดดันให้เกิดแรงขายในตลาดทองคํา นอกจากนี้ราคาทองคํายังได้รับแรงกดดันจากแรงขายทางเทคนิคหลังจากราคาทองคําหลุดตํ่ากว่าเส้นค่าเฉลี่ย 200 วันอีกด้วย สถานการณ์ดังกล่าวส่งผลให้ราคาทองคําร่วงลงแตะระดับตํ่าสุดบริเวณ 1,823.21 ดอลลาร์ต่อออนซ์ อย่างไรก็ดี ในวันศุกร์ราคาทองคําได้รับแรงหนุนบางส่วนจากกองทุน SPDR ทีถือครองทองเพิ่ม +16.63 ตันในวันศุกร์ ขณะที่ความต้องการทองคําด้านกายภาพในจีนฟื้นตัวขึ้นก่อนช่วงเทศกาล ตรุษจีน สะท้อนจากราคาทองคําในจีนทีเสนอขายทองคําบนราคา premium ราว 0.50 - 4 ดอลลาร์ต่อออนซ์จากราคา Gold spot เมื่อเทียบกับการซื้อขายบนราคา discount ที่ 7-10 ดอลลาร์ต่อ ออนซ์ในสัปดาห์ก่อนหน้าจึงเป็นหนึ่งในปัจจัยที่สกัดช่วงติดลบของราคาทองคําไว้
ขณะทีเช้านี้ ราคาทองคําเปิดตลาดด้วยการร่วงต่อจนแตะระดับตํ่าสุดบริเวณ 1,805.67 ดลอลาร์ต่อออนซ์จาก แรงขายทางเทคนิค รวมถึงการแข็งค่าต่อเนื่องของดัชนีดอลลาร์ก่อนทีจะฟื้นตัวขึ้นมายืนเหนือ 1,820 ดอลลาร์ต่อออนซ์อีกครั้ง สําหรับวันนี้ไม่มีการเปิดเผยตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐเนื่องจากตลาดเงิน ตลาดทุนและตลาดทองคําสหรัฐปิดทําการเนื่องในวัน Martin Luther King
หากราคาทองคําไม่สามารถยืนเหนือโซน 1,833 ดอลลาร์ต่อออนซ์ได้ ส่งผลให้การฟื้นตัวขึ้นของราคายังคงจํากัด อาจทําให้เกิดการอ่อนตัวลงของราคาอีกครั้ง ประเมินแนวรับ 1,805-1,800 ดอลลาร์ต่อออนซ์ แต่หากสามารถยืน เหนือโซนแนวรับดังกล่าวได้ก็จะเห็นการดีดตัวขึ้น แต่หากราคาผ่านแนวต้านแรกได้มีโอกาสที่จะราคาทดสอบ แนวต้านโซน 1,856 ดอลลาร์ต่อออนซ์(ระดับสูงสุดของสัปดาห์ที่ผ่านมา)
คําแนะนํา
ราคาเคลื่อนไหวผันผวน แนะนําแบ่งทองคําออกขายหากมีการปรับตัวขึ้นมาไม่ผ่านแนวต้าน 1,833- 1,856 ดอลลาร์ต่อออนซ์ หากราคาปรับตัวลงไม่หลุดแนวรับ โซน 1,805-1,800 ดอลลาร์ต่อออนซ์ให้ทยอยเข้าซื้อคืนเพื่อปิดสถานะขายทํากําไร