ปริมาณ Bitcoin และ Ethereum บนกระดานเทรดทั่วโลกลดลงถึงจุดต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ นี่หมายถึงอะไร

ปริมาณ Bitcoin และ Ethereum บนกระดานเทรดทั่วโลกลดลงถึงจุดต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ นี่หมายถึงอะไร
Create at 3 years ago (Feb 03, 2021 11:29)

ตลอดปี 2020 จนถึงวันนี้ดัชนีชี้วัดหลายตัวได้บ่งบอกว่าตลาดคริปโตกำลังได้รับความสนใจจากนักลงทุนน้อยใหญ่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดย Bitcoin (BTC) ก็ได้ทำราคาสูงสุดเมื่อช่วงต้นเดือนมกราคมที่ผ่านมาเหนือระดับราคา $42,000 ก่อนร่วงลงมาปรับฐานราคา และล่าสุด Ethereum (ETH) ก็ยังคงทำ All-Time High (ATH) อย่างต่อเนื่องตั้งแต่เมื่อวานนี้ โดยในช่วงค่ำคืนที่ผ่านมาได้ทะลุระดับ $1,500 ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

อย่างไรก็ตามหนึ่งในดัชนีเหล่านั้นยังแสดงปัญหาที่น่ากังวลใจเกี่ยวกับตลาดคริปโตด้วย นั่นคือสภาพคล่องของเหรียญที่กำลังลดลงอย่างต่อเนื่อง แม้สาเหตุจะมาจากความสนใจของนักลงทุนที่เพิ่มมากขึ้นก็ตาม แต่แท้จริงแล้วอะไรคือสิ่งที่กำลังทำให้ปริมาณเหรียญดิจิทัลในตลาดซื้อขายลดลงอย่างต่อเนื่องกันแน่ สำนักข่าว Cointelegraph ได้รวบรวมสาเหตุที่ทำให้ปริมาณเหรียญดิจิทัลในระบบซื้อขายแลกเปลี่ยนลดลงไว้ดังนี้ DeFi และ Yield Farming จำนวนผู้ใช้งานระบบ DeFi และ Yield Farming นั้นได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และจากข้อมูลในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมาได้พบว่ามูลค่าเหรียญที่ถูกล็อค (TVL) อยู่ในแพลตฟอร์ม DeFi นั้นมีมูลค่าสูงถึง 2.867 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 8.6 แสนล้านบาท นอกจากนี้ข้อมูลจาก Defi Pulse ยังแสดงให้เห็นว่ามูลค่าของเหรียญส่วนใหญ่ที่ถูกนำไปล็อคไว้ในระบบนั้นเป็นเหรียญชื่อดังอย่าง ETH เนื่องจากแพลตฟอร์ม DeFi ส่วนใหญ่นั้นเปิดให้ใช้บริการอยู่บนพื้นฐานของ Ethereum Blockchain และต้องใช้ Ether เป็นตัวกลางในการทำธุรกรรมบนระบบดังกล่าว ซึ่งปรากฏการณ์ที่คล้ายกันนี้ก็เกิดขึ้นกับ Bitcoin เช่นกันเพราะถึงแม้ผู้ใช้งานจะไม่ต้องการขาย Bitcoin เพื่อซื้อ Ethereum และนำไปลงใน DeFi ก็ยังสามารถนำเหรียญ Bitcoin ไปฝากเพื่อแลกเป็นเหรียญสำหรับลงทุนใน DeFi ชั่วคราวได้อีกด้วย การ Staking เพื่อ ETH2.0 ตั้งแต่การเปิดตัว Beacon Chain

เมื่อต้นเดือนธันวาคมที่ผ่านมา ทำให้ผู้ใช้งานสามารถนำเหรียญ ETH ไปล็อคเพื่อรอรับเหรียญ ETH2.0 ได้ ซึ่งจากข้อมูลพบว่าล่าสุดนั้นมีจำนวน Ethereum กว่า 2.9 ล้านเหรียญ ETH ถูกล็อคอยู่โดยมีมูลค่ารวมกว่า 4.39 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 1.30 แสนล้านบาท

Tags:

TECHNICAL ANALYSIS

ARTICLES