เรียนรู้ปัจจัยที่ทำให้ “เงินแข็งค่า - อ่อนค่า”

เรียนรู้ปัจจัยที่ทำให้ “เงินแข็งค่า - อ่อนค่า”
Create at 2 years ago (Oct 20, 2022 12:42)

เมื่อสกุลเงินหนึ่งแข็งค่า ก็ย่อมมีอีกสกุลหนึ่งอ่อนค่า นับเป็นเรื่องสามัญที่ทุกคนรู้ แต่เงินแข็งค่า - อ่อนค่า คืออะไร? ส่งผลอย่างไรต่อเศรษฐกิจ ตลาด นักลงทุน และประชาชนทั่วไป ทำไมทุกคนถึงต้องรู้นั้น วันนี้ทีมงาน Fxtoday จะพาทุกท่านไปติดตาม และค้นหาคำตอบครับ

 

เงิน คืออะไร?

อันดับแรก เราขออธิบายก่อนว่า “เงิน” คืออะไร? โดยความหมายที่แท้จริงของเงิน คือ สื่อกลางที่ถูกยอมรับเพื่อใช้ในการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ รวมถึงใช้ชำระหนี้ในทางกฎหมาย ซึ่งค่าของเงินนั้นสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลาตามกลไกตลาด ไม่มีสกุลเงินใดหลีกเลี่ยงและฝืนธรรมชาตินั้นได้

 

ค่าเงิน คืออะไร? 

ค่าเงิน” หรืออัตราแลกเปลี่ยน คือ ค่าของสกุลเงินนั้น ๆ ที่ได้รับ เมื่อทำการแลกเปลี่ยนกับเงินอีกสกุลหนึ่ง โดยสกุลเงินที่ถูกใช้แลกเปลี่ยนมากที่สุด คือ “ดอลลาร์สหรัฐ” ดังนั้น หากเงินฝั่งหนึ่งแข็งค่า อีกฝั่งก็จะอ่อนค่า ซึ่งสภาวะของค่าเงินนี้จะส่งผลต่อจำนวนเงินที่ได้รับ ตลอดจนทิศทางเศรษฐกิจและการลงทุน

 

เรียนรู้ปัจจัยที่ทำให้ “เงินแข็งค่า - อ่อนค่า”

 

ตัวอย่างเช่น หาก USD แข็งค่า THB ก็จะอ่อนค่า ดังนั้น เมื่อ 1 USD มีค่าเท่ากับ 38 THB นั่นหมายความว่า เราต้องใช้เงิน THB มากขึ้นในการแลกเปลี่ยน ทำให้เงิน THB มีค่าน้อยลงนั่นเอง

ในทำนองเดียวกัน หาก USD อ่อนค่า THB ก็จะแข็งค่าขึ้น ดังนั้น USD ก็จะมีค่าน้อยลง เช่น 1 USD เท่ากับ 33 THB นั่นหมายความว่า เราจะใช้เงิน THB น้อยลงในการแลกเปลี่ยน ทำให้เงิน THB มีค่ามากขึ้นนั่นเอง

หากจะอธิบายง่าย ๆ “เงินอ่อนค่า” ก็คือ สกุลเงินนั้นมีค่าน้อยลง เมื่อเทียบกับเงินอีกสกุลหนึ่ง ส่วน “เงินแข็งค่า” คือ สกุลเงินนั้นมีค่ามากขึ้น เมื่อเทียบกับเงินอีกสกุลหนึ่ง

 

ปัจจัยที่ส่งผลต่อค่าเงิน

ปัจจัยที่ส่งต่อการเคลื่อนที่ของค่าเงินหลัก ๆ จะเป็น “อุปสงค์ - อุปทาน” หรือที่เราเรียกกันว่า ความต้องการซื้อ และความต้องการขาย แต่อย่างไรก็ดี อุปสงค์และอุปทานสามารถกำหนดได้จากปัจจัยเหล่านี้ คือ

 

เรียนรู้ปัจจัยที่ทำให้ “เงินแข็งค่า - อ่อนค่า”

 

1) นโยบายการเงินภายในประเทศ 

นโยบายการเงินของธนาคารกลาง ทั้งการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย และลดอัตราดอกเบี้ย ถือเป็นสิ่งที่ส่งผลต่อ “ความต้องการถือเงิน” ในประเทศนั้น ๆ ของนักลงทุน เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยที่สูงสามารถสร้างผลตอบแทนได้ดีกว่า แต่อย่างไรก็ดี อัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นก็อาจทำให้ตลาดการลงทุนปั่นป่วนเช่นกัน

 

เรียนรู้ปัจจัยที่ทำให้ “เงินแข็งค่า - อ่อนค่า”

 

2) ปริมาณเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ 

ทุนสำรองระหว่างประเทศ ถือเป็นหลักค้ำประกันสำหรับการพิมพ์เงินออกมาใช้ภายในประเทศ อันจะส่งผลต่อ “ความน่าเชื่อถือ” ของเงินสกุลนั้น ๆ และความเชื่อมั่นของนักลงทุน ซึ่งจะสามารถดึงดูดการค้าและการลงทุนจากต่างชาติได้

 

เรียนรู้ปัจจัยที่ทำให้ “เงินแข็งค่า - อ่อนค่า”

 

3) การค้าและการลงทุนจากต่างชาติ

การค้าและการลงทุนจากต่างชาติ นับเป็นการเคลื่อนย้ายเงินทุน (Fund Flow) อย่างมหาศาล ซึ่งปริมาณเงินทุนนี้ หากหายไปก็จะสามารถเปลี่ยนแปลงค่าเงินของประเทศนั้น ๆ ได้ อีกทั้ง ยังเป็นสิ่งที่ชี้ให้เห็นถึง “สภาวะการค้าระหว่างประเทศ” ของประเทศนั้น ๆ ด้วย การค้าที่ดีก็จะนำมาซึ่งความต้องการสกุลเงินที่สูงขึ้น

 

เรียนรู้ปัจจัยที่ทำให้ “เงินแข็งค่า - อ่อนค่า”

 

4) สถานการณ์ภายในประเทศ และระหว่างประเทศ

สิ่งสำคัญข้อสุดท้าย คือ สถานการณ์ภายในประเทศ และระหว่างประเทศ อันเป็น “ตัวกำหนดทิศทางของค่าเงิน” เพราะหากประเทศใดมีการบริหารจัดการแย่ การค้าและการลงทุนจากต่างชาติก็จะน้อยลงด้วยเช่นกัน ดังนั้น การบริหารภายในจึงมีบทบาทสำคัญ แต่อย่างไรก็ดี ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศก็มีส่วนเกี่ยวข้องด้วยเช่นกัน ดังจะเห็นได้จากกรณีของรัสเซีย - ยูเครน เป็นต้น

 

ผลกระทบที่เกิดขึ้น เมื่อเงินแข็งค่า - อ่อนค่า

การเปลี่ยนแปลงของค่าเงิน ไม่เพียงจะส่งผลต่อตลาด Forex เท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อตลาดหุ้น ผู้ประกอบการ นักลงทุน ตลอดจนประชาชนทั่วไป โดยผลกระทบที่เกิดขึ้น สามารถแบ่งหมวดหมู่ได้ ดังนี้

 

เรียนรู้ปัจจัยที่ทำให้ “เงินแข็งค่า - อ่อนค่า”

 

> ด้านการนำเข้า - ส่งออก 

การนำเข้าและการส่งออก ถือเป็นภาคส่วนแรกที่ได้รับผลกระทบ เมื่อค่าเงินมีการเปลี่ยนแปลงไป โดย “เงินที่แข็งค่า” จะทำให้ผู้นำเข้าได้รับประโยชน์ เพราะพวกเขาสามารถใช้เงินบาทน้อยลงในการซื้อสินค้าและบริการจากต่างประเทศ ทำให้ต้นทุนการนำเข้าต่ำลง ดังนั้น ประชาชนภายในประเทศก็จะสามารถซื้อสินค้าจากต่างประเทศ รวมถึงสินค้าที่มีวัตถุดิบ และต้นทุนอื่น ๆ จากต่างประเทศได้ถูกลงด้วยเช่นกัน

ในขณะเดียวกัน “เงินที่อ่อนค่า” ก็จะส่งผลให้ผู้ส่งออก และผู้ที่ทำงานในต่างแดนได้รับผลประโยชน์เพิ่มขึ้น เพราะสามารถนำเงินตราต่างประเทศมาแลกเป็นเงินบาทได้มากขึ้น

 

เรียนรู้ปัจจัยที่ทำให้ “เงินแข็งค่า - อ่อนค่า”

 

> ด้านการท่องเที่ยว

ธุรกิจท่องเที่ยว ถือเป็นอีกภาคส่วนที่ได้รับผลกระทบจากค่าเงินที่เปลี่ยนแปลงไป เนื่องจาก “เงินที่แข็งค่า” จะทำให้ผู้ประกอบการเหล่านี้นำรายได้มาแลกเป็นเงินบาทได้น้อยลง อีกทั้ง ยังทำให้นักท่องเที่ยวต่างชาติใช้เงินมากขึ้นในการมาเที่ยว ส่วน “เงินที่อ่อนค่า” ก็จะสามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวได้มากขึ้น ส่งผลให้ผู้ประกอบการได้ผลตอบแทนสูงขึ้นตามไปด้วย

 

เรียนรู้ปัจจัยที่ทำให้ “เงินแข็งค่า - อ่อนค่า”

 

หน่วยงานที่ดูแลสมดุลค่าเงิน

ค่าของเงินที่เปลี่ยนแปลงไปนั้นไม่สามารถกำหนดได้ว่า สกุลเงินหนึ่ง ๆ ควรจะมีค่าคงที่เท่ากับเท่าใด เพราะมันจะเป็นการฝืนกลไกตลาดจนส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจและความน่าเชื่อถือของประเทศนั้น ๆ ดังเช่นการตรึงค่าเงินบาทไทยจนทำให้เกิดวิกฤตต้มยำกุ้งที่ผ่านมา แต่อย่างไรก็ดี หากค่าของเงินอ่อนมากจนเกินไปก็อาจส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจภายในประเทศได้เช่นกัน

ดังนั้น ทุกประเทศจึงมีหน่วยงานที่เรียกว่า “ธนาคารกลาง (Central Bank)” ในการควบคุมดูแลเสถียรภาพของค่าเงิน ตลอดจนสภาวะเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศไม่ให้ผันผวนมากเกินไป ซึ่งธนาคารกลางที่ทรงอิทธิพลที่สุดของโลก คือ “ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed)” เนื่องจากเงินดอลลาร์สหรัฐ ถือเป็นสกุลเงินที่ถูกใช้แลกเปลี่ยนมากที่สุดของโลก

 

โดยสรุปแล้ว ค่าเงินสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลาตามปัจจัยต่าง ๆ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนั้นแสดงออกมาผ่านการแข็งค่าและอ่อนค่าด้วยการเทียบคู่เงิน โดยค่าเงินที่แข็งขึ้นก็จะสื่อถึง “มูลค่าที่มากขึ้น” ขณะเดียวกัน เงินที่อ่อนลงก็หมายถึง “มูลค่าที่น้อยลง” เช่นกัน

อย่างไรก็ตาม ด้วยความเปลี่ยนแปลงนี้ จึงทำให้มันส่งผลกระทบทั้งต่อภาคเศรษฐกิจ ภาคธุรกิจ จนถึงภาคประชาชน ดังนั้น ในการซื้อขายแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ (Forex) นักลงทุนสามารถลดความผันผวนและความเสี่ยงของค่าเงินด้วยการใช้กลยุทธ์ DCA หรือ VA ประกอบกับคำสั่งซื้อขายล่วงหน้า (Pending Order) รวมถึงการตั้ง Stop Loss/Take Profit สุดท้าย คือ หากเกิดความผันผวนมากจนเกินไป โปรดเพิ่มความระมัดระวัง และวิจารณญาณในการวางแผนการลงทุนครับ

 

Source: Fxbrokerscam, รัฐสภาไทย, สถาบันวิจัยและพัฒนา - มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

____________________________________________
อัพเกรดความรู้เพิ่มเติม: Blog
รู้เท่าทันข่าว&สถานการณ์โลก: Forex News
บทวิเคราะห์เชิงเทคนิคขั้นสูง: Technical Analysis
Tags:

Forex News

TECHNICAL ANALYSIS